SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
กลไกและปัจจัยทางชีววิทยาที่มีผลต่อการติดสารเสพติด
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

กลไกและปัจจัยทางชีววิทยาที่มีผลต่อการติดสารเสพติด

บทคัดย่อ:

กลไกและปัจจัยทางชีววิทยามีผลต่อการติดสารเสพติด โดยสามารถแบ่งปัจจัยทางชีววิทยาออกได้เป็น 3 กลุ่ม 1. คือปัจจัยทางด้านเภสัชวิทยาของสารเสพติดและคุณสมบัติทางเคมี-สรีรวิทยาของสารเสพติด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูดซึม ความง่ายในการติดและวิธีการใช้สารเสพติด 2. ปัจจัยทางพันธุกรรมที่แตกต่างระหว่างบุคคล มีผลต่อความง่ายในการติดและความยากต่อการเลิกสารเสพติด และ 3. ปัจจัยอันเนื่องมาจากระบบประสาทและระบบการให้รางวัล ซึ่งอธิบายการออกฤทธิ์ของสารเสพติดต่างๆ ที่มีผลต่อสารสื่อประสาทของสมองและระบบของการให้รางวับในสมองอันได้แก่ ระบบ Mesolimbic dopamine pathway ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ในการใช้ยาเสพติดของบุคคล การเข้าใจในกลไกและปัจจัยทางชีววิทยาที่มีผลต่อการติดสารเสพติดจะช่วยให้ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับยาเสพติดเข้าใจภาวะของผู้ติดยา และหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ศรัณย์ กอสนาน. (2547). กลไกและปัจจัยทางชีววิทยาที่มีผลต่อการติดสารเสพติด. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (15), 83-93.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

 

ยาไฮบริด แนวทางใหม่ในการพัฒนายาต้านมาลาเรีย
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

ยาไฮบริด แนวทางใหม่ในการพัฒนายาต้านมาลาเรีย

Hybrid Drugs, A New Approach to Develop Antimalarial Drugs

บทคัดย่อ

ยาไฮบริด คือยาที่ไดนำเอาสวนออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา 2 ชนิดมารวมไวในโมเลกุลเดียวกัน วัตถุประสงคในการพัฒนายาไฮบริดนั้น ก็เพื่อที่จะเอาชนะปญหาการดื้อยาของเชื้อ ซึ่งเปนอุปสรรค ใหญของการบำบัดรักษาโรคติดเชื้อที่รายแรงอยางมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้จะไดกลาวรวมถึง คุณลักษณะและโครงสรางทางเคมีของโมเลกุลยาไฮบริด โดยจะเนนตัวอยางการศึกษาพัฒนาตัวยาไฮบริด ใหมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum สายพันธุที่ดื้อยา ซึ่งผลจาก การศึกษาไดแสดงใหเห็นถึงความเปนไปไดในทางปฏิบัติของแนวคิดของยาไฮบริด และศักยภาพในการ พัฒนาและปรับปรุงสารตนแบบในกลุมนี้เพื่อใหเปนตัวยาสำหรับใชกับผูปวยไดในอนาคต Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa