สะสมไว้ใช้เล่าเรื่อง
หนังสือประกอบนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ 60 พรรษา
ขออัญเชิญพระราชนิพนธ์คำนำ “…ของที่รวบรมมาประมาณ จะเรียกว่า 50 ปีก็ได้ มีทั้งของมีราคา … ทำให้คิดว่าผู้ที่มาพบเห็น อยากจะมีโอกาสได้ศึกษาว่าในสมัยก่อนๆ มีของประเภทใดบ้าง ของบางอย่างนี่พอ 50 ปีแล้วก็ไม่มีขายในท้องตลาด หรือเป็นของที่ถือว่าเก่าแก่เป็นของโบราณขึ้้นมาแล้ว … ในการไปเยี่ยมราษฎรในที่ต่างๆ บางทีก็มีคนที่มีของต่างๆ ที่ประดิษฐ์เองหรือของที่รวบรวมไว้เขาก็อยากจะให้ ก็เอามารวมเอาไว้ หรือมีคนที่มาหา บางทีก็ให้เป็นของ หรือไปต่างประเทศก็มีคนที่มาได้ของที่แปลกๆ ที่ไม่เคยเห็นในประเทศไทย ก็เอามารวมไว้ พอไปดูเราอาจจะศึกษาได้ว่าธรรมเนียมประเพณีของที่ต่างๆ เขาทำอย่างไร ประเพณีบ้านเราก็ไม่เหมือนกัน หรือวัฒนธรรมของไทยของต่างประเทศ มันก็ไม่เหมือนกัน …”
ของสะสม
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชอัธยาศัยใฝ่ศึกษาและสนพระราชหฤทัยศิลปวิทยาการทุกสาขา พระราชอัธยาศัยนี้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงปลูกฝังมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อเสด็จฯ ไปสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก จึงทรงสะสมสิ่งของอันเป็นตัวแทนวัฒนธรรมและวิทยาการของชนชาติต่างๆ
การทรงสะสมสิ่งของเหล่านี้มีประโยชน์เพื่อการศึกษาและเป็นเครื่องเตือนความจำ ของสะสมส่วนพระองค์ตั้งแต่ยังทรงทระเยาว์จนถึงปัจจุบันมีหลายประเภท มีทั้งของที่มีค่าและไม่มีบูลค่า แต่ทรงเก็บไว้เพราะมีความหมายทางสังคมและวัฒนธรรมแสดงถึงประวัติศาสตร์ของถิ่นต่างๆ
อีกประการหนึ่ง ทรงพระราชดำริว่าสิ่งของเหล่านี้จะเป็นประโยชน์มากขึ้นถ้าจัดเก็บและจัดแสดงตามหลักพิพิธภัณฑ์สากล จึงโปรดเกล้าฯ ให้คณะทำงานเก็บรวบรวมไว้ที่พิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์บ้านสวนปทุม จ. ปทุมธานี ทรงสนับสนุนให้คณะทำงานค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม และติดตามดูกิจการพิพิธภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่ได้ชมได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ มีความเข้าใจใฝ่รู้ในศิลปวิทยาการ เกิดความคิดสร้างสรรค์และซาบซึ้งในวัฒนธรรมแบบต่างๆ อันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่งชนชาติ (คำนำ)
รายการอ้างอิง
พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. ของสะสมไว้ใช้เล่าเรื่อง. กรุงเทพฯ : พิพิธภัณฑ์ฯ, 2558.
หนังสือ ปรารภ กวีนิพนธ์ เรื่อง พระรามชาดก จัดทำโดย กองทุนพระมหาชนก มหาวิทยาลัยขอนแก่น แปลจาก หนังสือ พระลัก พระลาม หรือ พระลามชาดก (ซึ่ง ดร. สัจจิดานันดะ สะหาย เรียบเรียงไว้เป็นภาษาลาว และจัดพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1973 โดยสถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ณ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) เพื่อจัดพิมพ์เป็นที่ระลึก งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558
ปรารภ กวีนิพนธ์ เรื่อง พระรามชาดก
วิจิตรแพรวา : มรดกภูมิปัญญาสู่ราชินีแห่งไหม (Artistic Prae-wa : Wisdom Inheritance into Queen of Silk)
วิจิตรแพรวา : มรดกภูมิปัญญาสู่ราชินีแห่งไหม (Artistic Prae-wa : Wisdom Inheritance into Queen of Silk) จัดทำโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา 2 เมษายน 2558 เนื่องด้วยผ้าทอมือโบราณของอีสาน มีความหลากหลายตามกรรมวิธีการถักทอและลักษณะใช้สอย จึงเป็นเรื่องที่ยากสำหรับคนรุ่นปัจจุบันในการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจให้แจ่มชัดถึงสรรพตำรา-สรรพวิชาอันเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ในการถักทอผ้าไทยที่ครอบคลุมไว้อย่างทั่วถึงและสมบูรณ์แบบที่สุด จึงเป็นปฐมบทที่จัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา
เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย
นิทรรศการพระสาทิสลักษณ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2558
กระทรวงวัฒนธรรม สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร่วมเฉลิมฉลองจัดงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลสมัยแห่งพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมเขียนพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 77 ภาพ โดยเชิญศิลปินทั่วประเทศร่วมแสดงความจงรักภักดีผ่านภาพเขียน และได้จัดพิมพ์หนังสือนิทรรศการพระสาทิสลักษณ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2558 เล่มนี้ ขึ้นด้วย เพื่อจะได้ชื่นชมพระบารมีอย่างเต็มที่ และเกิดความสุนทรีย์ทางศิลปะโดยทั่วกัน
รายการอ้างอิง สายไหม จบกลศึก สมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ และ เบญจมาส แพทอง, บรรณาธิการ. (2558). นิทรรศการพระสาทิสลักษณ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2558. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม.
ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ 2 เมษายน 2534 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จึงได้จัดพิมพ์หนังสือเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 โดยคัดเลือกหนังสือด้านศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าและหายากมาจัดพิมพ์
ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ ได้เลือก “ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม” พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นฉบับที่พระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี โปรดให้พิมพ์ในงานเฉลิมพระชันษา พ.ศ. 2468 มาจัดพิมพ์ เพราะเป็นหนังสือที่มีคุณค่าและให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือว่าเป็นประเทศแรกในโลกตะวันออกที่มีการสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (คำนำ)
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. (2558). ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน).
ตำราฟ้อนรำ ฉบับเรียบเรียงในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร
หนังสือเล่มแรกที่คัดเลือกมาจัดพิมพ์ คือ หนังสือ “ตำราฟ้อนรำ” ฉบับเรียบเรียงในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร ซึ่งเป็นฉบับที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ในปี พ.ศ. 2466 ว่าด้วยอธิบายตำนานการฟ้อนรำ ว่าด้วยตำรารำของไทยและว่าด้วยท่าโขน ซึ่งเป็นตำรานาฏยศาสตร์อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของไทย ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ได้รับต้นฉบับจาก ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี (คำนำ)
ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน). (2558). ตำราฟ้อนรำ. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน).
การแปรรูปวรรณกรรม เป็นหนังสือชุด ที่ระลึก เนื่องใน งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 และ วาระครบ 20 ปี ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับพระราชทาน พระเกี้ยวทองคำ ในฐานะสถาบันส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น พุทธศักราช 2537 โดยแบ่งเนื้อหาเป็น 3 เล่ม คือ
Read the rest of this entry »
หน้าปก ปิยราชกุมารี
ปิยราชกุมารี หรือ Beloved Princess อันหมายความถึง เจ้าหญิงผู้ทรงเป็นที่รัก เป็นหนังสือประมวลพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่าง พ.ศ. 2532-2558 ตั้งแต่ทรงมีพระชนมายุ 34 พรรษา โดยนิติกร กรัยวิเชียร
หนังสือเล่มนี้ จัดทำโดย บริษัทไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป จำกัด ในโอกาสมหามงคล ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา โดยรวบรวมพระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ฉายโดย นิติกร กรัยวิเชียร จำนวน 60 องค์ จัดพิมพ์พิเศษที่เน้นเรื่องการออกแบบ และเทคโนโลยีการพิมพ์ขั้นสูงเต็มศักยภาพของบริษัท เพื่อให้พระเกียรติยศทุกประการ แต่ละภาพมีคำบรรยายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
นิติกร กรัยวิเชียร ปราณี ศุภวัฒนเกียรติ ฐินิศร์ อมรธีรสรรค์ สุวารี สันธทรัพย์ ขจร พีรกิจ และตุลย์ หิรัญญลาวัลย์. (2558). ปิยราชกุมารี. กรุงเทพฯ : ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป.
เนื่องจากศูนย์บรรณสารสนสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) มีภารกิจในด้านการบริหารจัดการ และดำเนินการงานหอจดหมายเหตุ โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย อธิการบดีในสมัยนั้น เห็นความสำคัญของการมีหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัย จึงได้เริ่มโครงการจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2540 และทำพิธีเปิดหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 และดำเนินการรวบรวมเอกสารจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย จัดเก็บรักษา และให้บริการอย่างต่อเนื่อง และด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หอจดหมายเหตุ มฉก. จึงมีแผนการในการจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล และเพื่อให้สามารถจัดเก็บและเข้าถึงได้มากขึ้นและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงได้เริ่มศึกษาแนวทางในการปฏิบัติงานและระบบต่างๆ เพื่อจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัย และมีการดำเนินการที่เป็นมาตรฐานสากล โดยการศึกษาดูงานการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นยอมรับ และมีความเชี่ยวชาญ เพื่อจะได้รับความรู้ ประสบกรณ์ และบทเรียนในการปฏิบัติงานต่างๆ ได้แก่ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เพื่อขอศึกษาดูงานในเรื่องการใช้มาตรฐานการลงรายการเอกสารจดหมายเหตุ ISAD (G) รวมทั้งประสบการณ์การใช้โปรแกรม ICA-Atom ในการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ และ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขอศึกษาดูงานการใช้โปรแกรม Omeka ในการจัดการฐานข้อมูลคลังภาพ อักษรศาสตรบรมราชกุมารี คลังดิจิทัล Read the rest of this entry »
หนังสือ เรื่อง “ราชสุดาอาศิรพาทพิสิฐ : แนวคิดเรื่องขัตติยนารีและกลวิธีการใช้คำประพันธ์ในกวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ 60 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน 2558 และเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2558 โดยคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 4 บทได้แก่
เก๋ แดงสกุล. (2558). ราชสุดาอาศิรพาทพิสิฐ : แนวคิดเรื่องขัตติยนารีและกลวิธีการใช้คำประพันธ์ในกวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. กรุงเทพฯ : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.