SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การแปรรูปวรรณกรรม
กุมภาพันธ์ 16th, 2016 by supaporn

การแปรรูปวรรณกรรม เป็นหนังสือชุด ที่ระลึก เนื่องใน งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 และ วาระครบ 20 ปี ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับพระราชทาน พระเกี้ยวทองคำ ในฐานะสถาบันส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น พุทธศักราช 2537 โดยแบ่งเนื้อหาเป็น 3 เล่ม คือ

  • แปล แปลง แปรรูป บทละครและบทภาพยนตร์
  • บทละคร แปล เรื่อง มหาภารตะ
  • วรรณกรรมแปลงรูป

เล่มที่ 1 แปล แปลง แปรรูป บทละครและบทภาพยนตร์ 

แปล แปลง แปรรูป บทละครและบทภาพยนตร์

แปล แปลง แปรรูป บทละครและบทภาพยนตร์

  • คำนิยม โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. มัทนี รัตนิน
  • บทนำ จากวรรณคดีเพื่อการอ่าน เป็นวรรณคดีเพื่อการแสดง โดย คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ
  • แปล แปลงรูป แปรรูป บทละครและบทภาพยนตร์ ศาสตร์ ศิลป์ จินตนาการ พื้นฐานการแปลบทละครและบทภาพยนตร์ บทละครดัดแปลงจากต่างประเทศ : ผลงานของ “ผู้ขอมีส่วนร่วม” การแปรรูปวรรณกรรมเพื่อการอ่าน เป็นวรรณกรรมเพื่อการแสดง
  • บทส่งท้าย: คำแก้ต้ว โดย อาจารย์กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน

เล่มที่ 2 บทละคร แปล เรื่อง มหาภารตะ จาก Le Mahabharata ของ Jean-Claide CARRIERE (แปลจากสำนวนภาษาอังกฤษของ Peter Brook)

บทละคร แปล เรื่อง มหาภารตะ

บทละคร แปล เรื่อง มหาภารตะ

  • คำนิยม โดย กรุณา กุศลาสัย
  • บทนำ: มหาภารตะในโลกตะวันออกและตะวันตก โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. กุสุมา รักษมณี
  • บทละครแปล เรื่อง มหาภารตะ

เล่มที่ 3 วรรณกรรมแปลงรูป

วรรณกรรมแปลงรูป

วรรณกรรมแปลงรูป

  • คำนิยม โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. สุรพล วิรุฬห์รักษ์
  • บทนำ: การแปรรูปวรรณกรรม การสืบสานและสร้างสรรค์วรรณศิลป์ โดย ศาสตราจารย์ ดร. รื่นฤทัย สัจจพันธุ์
  • วรรณกรรมแปรรูปและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
    • โครงเรื่องขยาย (treatment) ประกอบด้วย โครงเรื่องขยายบทละครโทรทัศน์ เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ สำนวนที่ 1 จากนวนิยาย เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ ของ ยาขอบ และประวัติชีวิต ของ โชติ แพร่พันธุ์ ; โครงเรื่องขยายบทละครโทรทัศน์ เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ สำนวนที่ 2 จากนวนิยาย เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ ของ ยาขอบ ; โครงเรื่องขยายบทละครกลางแจ้งเรื่อง มหาอดุลยเดชเวสสันดร จาก ร่ายยาว เรื่อง เวสสันดรชาดก
    • บทละครสั้น ประกอบด้วย บทละครสั้น เรื่อง เทราปตี จากบทละครเรื่อง Le Mahabharata ของ Jean-Claide CARRIERE แปลจากสำนวนภาษาอังกฤษของ Peter Brook บทภาพยนตร์เรื่อง Mahabharat (1965) โดย Vishwanath Pande กับ Pandit Madhur และบทแปลภาพยนตร์ชุดโทรทัศน์ เรื่อง Mahabharat (1988) โดย Dr. Rahi Masoom ; บทละครสั้น เรื่อง ถ้าคุณพลอยยังอยู่ จากบทต่อล้อ เรื่อง ถ้าแม่พลอยยังอยู่ ของ อายุมงคล
    • บทละครทวิประสงค์ ประกอบด้วย บทละคร เรื่อง ซูสีไทเฮา จากนวนิยาย เรื่อง ซูสีไทเฮา ของ คึกฤทธิ์ ปราโมช บทละครเรื่อง สี่แผ่นดิน จาก นวนิยาย เรื่อง สี่แผ่นดิน ของ คึกฤทธิ์ ปราโมช
    • บทระบำ ประกอบด้วย บทระบำ ชุด นวาภรณ์พิไล ชุดไทยพระราชนิยม จาก หนังสือเรื่อง เครื่องแต่งกายไทย ของ ม.ล. ปีย์ มาลากุล ; บทระบำ ชุด ดอกแก้วเจ้าจอม จากบทความ เรื่อง ดอกแก้วเจ้าจอม ของ สมจิต ธนสุกาญจน์
    • บทละครรำ ประกอบด้วย บทละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง เงาะป่า จากบทละคร เรื่อง เงาะป่า พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ; บทละครนอก เรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน ตอน สร้อยฟ้าศรีมาลาหึง จาก บทเสภา เรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน ; บทละครนอก เรื่อง ไกรทอง ตอน พ้อล่าง พ้อบน จากบทละครนอก เรื่อง ไกรทอง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ บทละครเสภา เรื่อง ไกรทอง ของ ประเสริฐอักษร ; บทละครนอก เรื่อง ไกรทอง ตอน พ้อบน จาก บทละครนอก เรื่อง ไกรทอง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ; บทละครนอก เรื่อง พระอภัยมณี ตอน นางวาสีตาย จากนิทานคำกลอน เรื่อง พระอภัยมณี ของ สุนทรภู่

Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa