SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยประถมศึกษาตอนต้น ในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย
ม.ค. 1st, 2019 by supaporn

บังอร ฉางทรัพย์ สุภาภรณ์ วรรณภิญโญชีพ ศิริวรรณ ตันตระวาณิชย์ เกษม พลายแก้ว ภาสินี สงวนสิทธิ์ และ ระพีพันธุ์ ศิริเดช (2561). ความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยประถมศึกษาตอนต้น ในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย (Prevalence of Enterobius vermicularis among preschool and lower primary school children in Bangbor district, Samutprakarn province, Thailand). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กชั้นประถมศึกษาตอนต้น ในเขตอำเภอบางบ่อ  จังหวัดสมุทรปราการ  และ 2) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความชุกของพยาธิเข็มหมุดกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  วิธีการศึกษาโดยการตรวจหาไข่พยาธิเข็มหมุดด้วยวิธีสกอตเทป ในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยประถมศึกษา  ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 9 แห่ง และโรงเรียนประถมศึกษา 20  แห่งในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างเดือนมกราคม 2558 ถึงเดือนธันวาคม 2559  เด็กที่รับการตรวจจำนวน  2,013  คน เป็นเพศชาย จำนวน  1,013 คน เพศหญิง จำนวน 1,000  คน ผลการสำรวจพบความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็ก ร้อยละ 5.17 (104/2,013)   พบเด็กขายมีความชุกพยาธิเข็มหมุด ร้อยละ 5.23  (53/1,013) เพศหญิง ร้อยละ 5.10 (51/1,000)  เมื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กกับปัจจัยที่ศึกษา  ประกอบด้วย 1) ปัจจัยที่เกี่ยวกับเด็ก ได้แก่  เพศ  อาการแสดงของโรค  และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด  2)  ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้ปกครองเด็ก ได้แก่  เพศ อายุ รายได้ ความเพียงพอของค่าใช้จ่าย ระดับการศึกษา อาชีพ  พื้นเพดั้งเดิม  และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคพยาธิลำไส้  และ 3) พื้นที่ศึกษา พบว่าเกือบทุกปัจจัยไม่มีความสัมพันธ์กับความชุกของยาธิเข็มหมุดในเด็ก  (p>0.05) ยกเว้น  ปัจจัยด้านการกัดเล็บเล่นของเด็ก  ความเพียงพอค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองเด็ก และระดับการศึกษาของผู้ปกครองเด็ก ที่มีความสัมพันธ์กับความชุกพยาธิเข็มหมุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กวัยประถมศึกษายังคงมีการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดค่อนข้างสูง ดังนั้นควรมีการอบรมครูและผู้ปกครองเด็กเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดีเพื่อลดการแพร่ระบาดของพยาธิเข็มหมุดในพื้นที่ศึกษาและพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป

Read the rest of this entry »

อาวุธชีวภาพ : พิชัยยุทธสงครามยุคโลกาภิวัตน์
มี.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

อาวุธชีวภาพ : พิชัยยุทธสงครามยุคโลกาภิวัตน์

บทคัดย่อ

อาวุธชีวภาพ หรือ อาวุธเชื้อโรค คือ อาวุธที่ผลิตขึ้นจากจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ จุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการผลิตอาวุธชีวภาพ คือ เชื้อบาซิลลัส แอนธาซิส (Bacillus anthracis) เชื้อพลาสเทอเรลลา เพลทิส (Pasteurella pestis) เชื้อวาริโอลา ไวรัส (Variola virus) เชื้อวิ บริโอ คลอเลอรี (Vibrio cholerae) เชื้อฟรานซิส เซลลา ทูลาเรนซีส (Francisella tularensis) เชื้อไวรัสกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคเลือดออกจากไวรัส (Virus Hemorrhagic Fever : VHF) เชื้อคลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum)

เกษม พลายแก้ว. (2546). อาวุธชีวภาพ : พิชัยยุทธสงครามยุคโลกาภิวัตน์. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (13), 30-42.

ปรอท : สารเคมีใกล้ตัวที่ควรรู้
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

ปรอท : สารเคมีใกล้ตัวที่ควรรู้

บทคัดย่อ:

สารประกอบปรอทที่ใช้ประโยชน์กันอยู่มีด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ โลหะปรอทบริสุทธ์ (metallic mercury) สารประกอบปรอทอนินทรีย์ (iorganic mercury compund) และสารประกอบอนินทรีย์ (organic mercury compound) สารประกอบเหล่านี้ นำมาใช้ทำเครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เช่น ปรอทวัดไข้ ปรอทวัดอุณหภูมิของบรรยากาศ เป็นต้น ใช้ทำสารอมัลกัม (amalgam) ซึ่งเป็นสารที่ทันตแพทย์ใช้อุดฟันให้คนไข้  นอกจากนี้ สารปรอทยังใช้ผลิตหลอดไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า ใช้ทำแบตเตอรี่ ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแก๊สคลอรีน สารประกอบปรอทบางชนิด เช่น HgO HgCl2 ถูกนำมาใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น จากกิจกรรมการผลิตในระบบอุตสาหกรรมสามารถทำให้เกิดสารปนเปื้อนสารปรอทในสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งสารปรอทเหล่านี้จะแพร่กระจายไปสะสมในสิ่งมีชีวิตในห่วงโซ่อาหาร เช่น ปลา พืชผัก ผลไม้ เมื่อคนเราบริโภคอาหารที่มีสารปรอทปนเปื้อนก็จะเกิดการถ่ายเทสารปรอทมาสะสมในร่างกายของเราได้จนก่อให้เกิดพิษภัยอันตรายจากสารปรอท ซึ่งพิษภัยอันตรายจากสารปรอทสามารถจำแนกได้ 2 แบบ คือ พิษแบบแรกเป็นพิษแบบเรื้อรัง (chronic poisoning) ซึ่งพิษภัยแบบนี้สารปรอทจะไปทำลายระบบประสาทส่วนกลางทำให้ผู้ป้วยสูญเสียการทรงตัว เกิดการกระตุกและชาตามแขนขา พิษแบบที่สองเป็นพิษเฉียบพลัน (acute poisioning) พิษแบบนี้จะเกิดขึ้นทันที่ทีเราได้รับสารปรอทปริมาณมากเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร พิษแบบนี้มีความรุนแรงมากถึงขั้นอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้  ในอดีตที่ผ่านมาเคยเกิดเหตุการณ์จากมลพิษของสารปรอทที่เรียกว่า โรคมินามาตะ (Minamate disease) ขึ้นที่หมู่บ้านชายทะเล บริเวณอ่าวมินามาตะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี ค.ศ. 1956 การเกิดโรคมินามาตะนี้เป็นผลมาจากการที่โรงงานอุตสาหกรรมทิ้งของเสียที่มีสารปรอทปนเปื้อนอยู่ลงในทะเล ความเสียหายครั้งนี้ทำให้มีประชาชนเสียชีวิตและพิการอย่างถาวรจำนวน 121 ราย

เกษม พลายแก้ว. (2548). ปรอท : สารเคมีใกล้ตัวที่ควรรู้. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (16), 81-96.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ทองคำ : โลหะทรงค่านิรันดร์กาล
มี.ค. 4th, 2016 by rungtiwa

ทองคำ : โลหะทรงค่านิรันดร์กาล

บทคัดย่อ:

ทองคำเป็นโลหะที่พบได้ในธรรมชาติซึ่งจะพบทองคำอยู่ในรูปของแร่ทองคำ โดยทั่วไปอาจจะพบปะปนอยู่กับโลหะอื่นๆ เช่น เงิน ทองแดง ปรอท ตะกั่ว เป็นต้น ทองคำที่พบในธรรมชาติจำเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ทองเม็ดทราบ ทองคำทราย และทองคำภูเขา กรรมวิธีทางเคมีที่ใช้ในการแยกทองคำให้บริสุทธิ์นั้นทำได้ โดยนำแร่ทองคำมาบดให้ละเอียดแล้วนำมาเติมสารละลายโซเดียมไซยาไนด์ (NaCN) และพ่นด้วยแก๊สออกซิเจน จากนั้น จึงเติมผงโลหะสังกะสีลงไป ด้วยกรรมวิธีนี้จะได้โลหะทองคำที่่บริสุทธิ์ ทองคำบริสุทธิ์ที่ได้มีสีเหลืองอร่าม ไม่เป็นสนิม ไม่ละลายในกรดทั่วไป แต่สามารถละลายได้ในกรดกัดทอง (aqua regia) ด้วยคุณสมบัติที่สวยงามของทองคำ จึงมีการนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น ใช้ทำเครื่องประดับและในงานศิลปกรรม ใช้ในการลงทุนและการสำรองเงินตราต่างประเทศ ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ใช้ในงานทันตกรรม และใช้ทำเหรียญกษาปณ์ เป็นต้น การใช้ทองคำทำเครื่องประดับและใช้ในงานศิลปกรรมนั้นมีส่วนแบ่งของตลาดมากที่สุดของปริมาณทองคำที่ใช้กันอยู่ และเนื่องจากทองคำที่มีความบริสุทธิ์ 100% นั้นมีความอ่อนนุ่ม จึงไม่เหมาะที่จะนำไปใช้การทำทองรูปพรรณ ดังนั้น จึงต้องทำเป็นโลหะอัลลอยด์โดยการนำทองคำมาผสมกับโลหะอื่นๆ เพื่อให้ได้ทองคำที่มีความแข็งตามต้องการ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ความบริสุทธิ์ของทองคำลดลง ดังนั้น การซื้อขายทองคำรูปพรรณจึงต้องบอกความบริสุทธิ์ของทองคำ ตามหลักสากลของวงการเครื่องประดับและอัญมณีใช้หน่วยกะรัต (karat :K) เพื่อบอกความบริสุทธิ์ของทองคำ โดยทองคำที่ขายในท้องตลาดจำแนกความบริสุทธิ์เป็นทอง 24K 23K 22K 18K 14K 9K และ 8K ทอง 24K เป็นทองที่มีความบริสุทธิ์มากที่สุด สำหรับวิธีที่ใช้ในการทดสอบความบริสุทธิ์ของทองคำสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การทดสอบโดยใช้วิธี touchstone testing ซึ่งวิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญของผู้ทดสอบเพื่อบอกปริมาณของทองคำที่มีอยู่ในทองรูปพรรณอย่างคร่าวๆ และวิธี Cupellation Method (Fire Assay) วิธีนี้เป็นการทดสอบโดยใช้เทคนิคทางเคมีซึ่งสามารถบอกปริมาณของทองคำได้อย่างแม่นยำ แต่มีความยุ่งยากของการทดสอบมากกว่าวิธีแรก

เกษม พลายแก้ว. (2547). ทองคำ : โลหะทรงค่านิรันดร์กาล. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (15), 94-105.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa