SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ปรอท : สารเคมีใกล้ตัวที่ควรรู้
มีนาคม 5th, 2016 by rungtiwa

ปรอท : สารเคมีใกล้ตัวที่ควรรู้

บทคัดย่อ:

สารประกอบปรอทที่ใช้ประโยชน์กันอยู่มีด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ โลหะปรอทบริสุทธ์ (metallic mercury) สารประกอบปรอทอนินทรีย์ (iorganic mercury compund) และสารประกอบอนินทรีย์ (organic mercury compound) สารประกอบเหล่านี้ นำมาใช้ทำเครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เช่น ปรอทวัดไข้ ปรอทวัดอุณหภูมิของบรรยากาศ เป็นต้น ใช้ทำสารอมัลกัม (amalgam) ซึ่งเป็นสารที่ทันตแพทย์ใช้อุดฟันให้คนไข้  นอกจากนี้ สารปรอทยังใช้ผลิตหลอดไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า ใช้ทำแบตเตอรี่ ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแก๊สคลอรีน สารประกอบปรอทบางชนิด เช่น HgO HgCl2 ถูกนำมาใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น จากกิจกรรมการผลิตในระบบอุตสาหกรรมสามารถทำให้เกิดสารปนเปื้อนสารปรอทในสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งสารปรอทเหล่านี้จะแพร่กระจายไปสะสมในสิ่งมีชีวิตในห่วงโซ่อาหาร เช่น ปลา พืชผัก ผลไม้ เมื่อคนเราบริโภคอาหารที่มีสารปรอทปนเปื้อนก็จะเกิดการถ่ายเทสารปรอทมาสะสมในร่างกายของเราได้จนก่อให้เกิดพิษภัยอันตรายจากสารปรอท ซึ่งพิษภัยอันตรายจากสารปรอทสามารถจำแนกได้ 2 แบบ คือ พิษแบบแรกเป็นพิษแบบเรื้อรัง (chronic poisoning) ซึ่งพิษภัยแบบนี้สารปรอทจะไปทำลายระบบประสาทส่วนกลางทำให้ผู้ป้วยสูญเสียการทรงตัว เกิดการกระตุกและชาตามแขนขา พิษแบบที่สองเป็นพิษเฉียบพลัน (acute poisioning) พิษแบบนี้จะเกิดขึ้นทันที่ทีเราได้รับสารปรอทปริมาณมากเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร พิษแบบนี้มีความรุนแรงมากถึงขั้นอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้  ในอดีตที่ผ่านมาเคยเกิดเหตุการณ์จากมลพิษของสารปรอทที่เรียกว่า โรคมินามาตะ (Minamate disease) ขึ้นที่หมู่บ้านชายทะเล บริเวณอ่าวมินามาตะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี ค.ศ. 1956 การเกิดโรคมินามาตะนี้เป็นผลมาจากการที่โรงงานอุตสาหกรรมทิ้งของเสียที่มีสารปรอทปนเปื้อนอยู่ลงในทะเล ความเสียหายครั้งนี้ทำให้มีประชาชนเสียชีวิตและพิการอย่างถาวรจำนวน 121 ราย

เกษม พลายแก้ว. (2548). ปรอท : สารเคมีใกล้ตัวที่ควรรู้. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (16), 81-96.

อ่านบทความฉบับเต็ม


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa