เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเฉลิมพระเกียรติ ก่อตั้งด้วยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ในวาระครบรอบ ๘๐ ปี คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้มีมติความคิดเห็นตรงกัน ที่มูลนิธิฯ จะจัดให้มีการเฉลิมฉลองพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ได้ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร์ทุกหมู่เหล่า ทุกเชื้อชาติ ศาสนาให้มีความร่มเย็นสมานฉันท์ มีเจตจำนงที่จะช่วยส่งเสริมบำรุงการศึกษาระดับสูงของประเทศให้รุ่งเรืองขึ้น จึงเกิด “โครงการมหาวิทยาลัยของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง” โดย ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ ประธานคณะกรรมการอำนวยการ ได้บริจาคเงิน ๑๐๐ ล้านบาท เป็นท่านแรก และได้รณรงค์ขอรับสนับสนุนเงินบริจาค ผู้มีจิตศรัทธาทั้งภาครัฐและเอกชน จากนักธุรกิจ คหบดี ธนาคาร องค์การธุรกิจและองค์กรการกุศล ตลอดจนประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ เรียกว่า “คณะผู้ก่อตั้ง” มหาวิทยาลัยฯ ตั้งแต่ ๑๐ ล้านบาทเป็นต้นไป ดร.สุขุม นวพันธ์ เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการเชิญให้ร่วมบริจาคด้วย โดย ดร.สุขุมฯ ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ในหนังสือ ๙๐ ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า ความว่า
“…วันหนึ่ง คุณอุเทนกับผมเล่นกอล์ฟด้วยกัน ท่านบอกว่ากำลังดำริจะก่อตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นแห่งหนึ่งชื่อหัวเฉียว และท่านเองก็จะบริจาคหอประชุมในนามบิดาท่าน ๑๐๐ ล้านบาท ผมก็เรียนท่านว่าเป็นความคิดและโครงการที่ดี ผมจะขอบริจาค ๒๐ ล้านบาท สร้างตึกห้องสมุดเพื่อเป็นที่ระลึกคุณพ่อผม ฉะนั้น คุณอุเทนถือว่าเป็นผู้บริจาครายแรก และผมก็เป็นผู้บริจาครายที่สอง …” Read the rest of this entry »
ตามที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำรายงานการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ของศูนย์บรรณสารนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในการอนุรักษ์พลังงาน ในตารางการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ มีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
1. ตารางสรุปการใช้ไฟฟ้า น้ำประปา อาคารบรรณสาร 2. กราฟแสดงทิศทางการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำประปา อาคารบรรณสาร 3. วิธีการคำนวณน้ำหนักกระดาษ อาคารบรรณสาร 4. ข้อมูลการใช้ทรัพยากรและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาคารบรรณสาร 5. การวิเคราะห์ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก อาคารบรรณสาร 6. ปริมาณขยะ อาคารศูนย์บรรณสารสนเทศ
มารู้จักวิธีการคำนวณรายงานการใช้ทรัพยากรสารสนเทศกันเถอะ….
ประโยชน์ที่ได้จากการทำรายงานฉบับนี้ ทำให้ทราบถึงปริมาณการใช้ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และกระดาษ ของอาคารบรรณสาร หากมีการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรดังกล่าว จะได้หาปัญหาของการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรนั้น เช่น การช่วยรณรงค์ การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟฟ้า ลดปริมาณขยะ และรวมถึงการร่วมแรงร่วมใจกันใช้กระดาษรีไซเคิลนำมาพิมพ์เอกสาร ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวมาข้างต้น ได้มีอยู่ในมาตรการการประหยัดพลังงานด้วยคุณธรรมของมหาวิทยาลัย 15 ข้อ
ดร. วิเชียร เตชะไพบูลย์ กดปุ่มเปิดแพรคลุมป้าย
สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเทียนจิน สถาบันการศึกษาชั้นนำทางด้านการแพทย์แผนจีนของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจัดตั้งสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนแห่งแรกขึ้นในประเทศไทย และนับว่าเป็นสถาบันขงจื่อแห่งที่ 15 ของประเทศ
泰国华侨崇圣大学中医孔子学院,由泰国华侨崇圣大学与中国天津中医药大学合作成立,是泰国第十五家孔子学院,同时也是泰国首家中医孔子学院。
ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหารเจิมป้ายสถาบันขงจื่อการแพย์แผนจีน
ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร ประพรมน้ำพระพุทธมนต์
สถาบันของจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจะทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรมภูมิปัญญาตะวันออก และศาสตร์การแพทย์แผนจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาการเรียนการสอนแพทย์แผนจีน ส่งเสริมการศึกษา และวิจัยทางการแพทย์แผนจีน อันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อผู้ประกอบวิชาชีพ และองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์แผนจีนของประชาชนชาวไทย และประชาชนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ด้านภาษาจีน และศิลปวัฒนธรรมจีน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์แผนจีน อีกทั้งยังมีบทบาทหน้าที่ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมภาษาจีนและการแพทย์แผนจีนในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดสัมมนาวิชาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์แผนจีน การจัดนิทรรศการและโครงการบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านภาษาจีนและการแพทย์แผนจีนให้กับประชาชนทั่วไป
泰国华侨崇圣大学中医孔子学院是以在东南亚地区传播东方智慧和传统文化、促进中医学术交流、为泰国和东南亚地区人民普及中国传统医药的专业知识以及促进中国语言文化的学习,从而为学习中医建立基础为目标。中医孔子学院在泰国的主要任务是组织各种汉语及中医学的相关活动,如举办中医研讨会,有利于提高泰国中医界人士的学术水平,并有利于向泰国民众推广和普及汉语及中医学知识。
ป้ายหน้าห้องสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ผู้บริหารถ่ายภาพร่วมกันหลังเสร็จพิธีเปิด
พิธีเปิดจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2559 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และพิธีเปิดผ้าแพรคลุมป้ายจัดขึ้น ณ สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน ชั้น 5 อาคารบรรณสาร โดย ดร.วิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ให้เกียรติเป็นประธาน และดร.โจว เกาหยู่ เลขานุการเอก ฝ่ายการศึกษา สถานเอคอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย กล่าวแสดงความยินดี ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร ประพรมน้ำพระพุทธมนต์และเจิมป้ายสถาบัน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้การต้อนรับ สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการแก่ผู้ที่สนใจ และประชาชนทั่วไป ตั้งอยู่ที่ อาคารบรรณสาร ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โทร 0-2312-6300 ต่อ 1420
สัญลักษณ์ของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ติดตามกิจกรรม ของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน ได้ที่
เว็บของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนฯ http://cihcu.hcu.ac.th/
และที่ FB
FB สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนฯ https://www.facebook.com/tcihcu/
วันที่ 19 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น. การไฟฟ้านครหลวง และมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ร่วมต้อนรับคณะอนุกรรมการ ผู้ตรวจรางวัลการดำเนินงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง ประจำปี 2559 ณ ห้องประชุม 1 อาคารอำนวยการ ชั้น 2
การไฟฟ้านครหลวงและมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติร่วมให้การต้อนรับ
ระหว่างการฟังบรรยายกิจกรรมต่างๆ
Read the rest of this entry »
คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ถ่ายรูปหน้ารูปปั้น ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์
คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เข้าศึกษาดูงานด้านการอนุรักษ์พลังงานของ มฉก. โดย อาจารย์ฉลอง แขวงอินทร์ (รองอธิการบดี) และคณะทำงานร่วมต้อนรับ ณ ห้องสื่อประสม ชั้น 2 อาคารบรรณสาร มฉก. ในวันที่ 17 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น.
ป้ายต้อนรับที่ใช้กระดานชอล์กเพื่อสิ่งแวดล้อม
ผู้บริหารทั้งสองผ่ายถ่ายภาพร่วมกันก่อนเข้าฟังการบรรยาย
ในการนี้ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และบุคลากรของศูนย์บรรณสารฯ ได้ร่วมให้ข้อมูลโครงการสำนักงานสีเขียว ซึ่งเป็นโครงการที่มีรวมกิจกรรมการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ถ่ายภาพร่วมกันหลังการบรรยาย
รองอธิการบดี ฉลอง แขวงอินทร์ บรรยายในกิจกรรมการประหยัดพลังงานของ มฉก.
ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมฉก. ถ่ายภาพร่วมกัน
บรรยากาศขณะนำชม
วันที่ 15 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น. ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำนวน 10 ท่าน ได้เข้าศึกษาดูงานการประหยัดพลังงานของ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ในการนี้ รองอธิการบดี ฉลอง แขวงอินทร์ และทีมงานกองอาคาร พร้อมผู้เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ ให้การต้อนรับ ณ อาคารบรรณสาร ซึ่งเป็น 1 ใน 3 อาคารประหยัดพลังงาน โดยมีการบรรยาย ตอบข้อซักถาม และนำชมจุดต่างๆ
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้มอบหมายศูนย์บรรณสารสนเทศ ในการเป็นผู้ดำเนินการหลักของอาคารบรรณสาร เข้าร่วมประกวดโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) ซึ่งดำเนินการโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีเกณฑ์ในการประเมิน 7 หมวด ได้แก่
1. การบริหารจัดการองค์การ (Organization Management) 2. การดำเนินงาน Green Office 3. การใช้พลังงานและทรัพยากร (Energy and Resource) 4. การจัดการของเสีย (Waste and Waste Water Management) 5. สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสำนักงาน (Indoor & Outdoor Environmental) 6. การจัดซื้อจัดจ้าง (Green Procurement) 7. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement)
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อรองรับการตรวจประเมินรอบแรก เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2559 โดยผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจประเมิน 4 ท่าน ดังนี้ Read the rest of this entry »
ปฏิมากรรมห่านฟ้า (หรือนกหงัง)
จากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของ รศ. ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ ซึ่งเขียนสื่อสารเรื่อง ปฏิมากรรมนกหงัง แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) และ จากการกล่าวของคุณสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ในพิธีส่งมอบปฏิมากรรมนกหงัง ให้แก่มหาวิทยาลัยในวันที่ 25 มีนาคม 2556 ได้กล่าวถึง ปฏิมากรรมนกหงัง สรุปความได้ว่า
“ปฏิมากรรมห่านฟ้า (หรือนกหงัง) ที่เพิ่งจะยกลงจากรถขนย้าย เมื่อเวลา 02:52 น. ของวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2556 ณ. บริเวณสนามหญ้าหน้าอาคารบรรณสาร ใกล้เสาธงตรงสวนลวดลาย ด้านขวามือของรูปเหมือนของ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์นั้น เดิมปฏิมากรรมนกหงัง ตั้งอยู่ด้านหน้าธนาคารธนชาต สาขาสวนมะลิ นับว่าเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของพนักงานมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ครั้งยังเป็นธนาคารศรีนคร ซึ่งประติมากรรมนี้ได้สะท้อนปรัชญา “การเป็นผู้นำที่ดี ความมีระเบียบวินัย ความรักใคร่สามัคคี และการให้ไม่รู้จบ” ที่ ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ ผู้ก่อตั้งธนาคารศรีนครยึดมั่น และใช้เป็นแนวคิดในการบริหารงานพร้อมปลูกฝังให้ผู้บริหารและพนักงานทุกคนนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตสืบมาจนกระทั่งเป็นธนาคารธนชาตในวันนี้ แนวคิดนี้ก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาก้าวหน้าต่อไป Read the rest of this entry »