SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
我与泰华文化文艺的渊源
ก.ค. 2nd, 2018 by Kwan Swee Huat

二十多年前为了解早期南来东南亚后的华人社会,常到新加坡国家图书馆索阅缩微胶卷,从中获取有关华人的讯息。书城的书店寻找自个需要的书籍,其中今古书店的旧文史书刊,满足了我部分的好奇心。

旧报章提供着大量近百年的华人社会的各种活动报道,多注重于政治军事灾难.旧籍常见“暹罗”“泰国”的描述,其历史、民俗、传说都叫人向往。常耳闻议论泰国的华文已衰弱消亡,我怀疑这种说法。因此泰国华人的社会状况,尤其是华文的传承更有莫名的兴趣。。

1995年中偶然的来到泰国。在华人商业区即俗称唐人街处溜达,见路边的繁荣拥挤不堪的杂货档口,摆卖着中原报,星暹日报、亚洲日报、京华中原及中华日报及其他多种中文刊物,即迷惑也惊喜­——华文并没消失在泰国!“泰国已无华文”的传言,不攻自破。

石龙军路旁的南美书局为此地首屈华文书店,售卖种类繁多的中国书籍及文具,楼上有几十种泰国当地华文著作在书架上;比邻的巷口有着旧书地摊,摆卖泰文与华文旧书。当时还有3家旧书摊贩卖华文旧书,多属 港台言情软性读物。那时的泰华旧书价格低廉,吸引我的大量购买泰华文史文艺出版物,二十年来兴趣至今未曾减弱。

在南美书局因大量购买搁放已久的泰华文艺书籍,惊动了老板陈式金老先生,由他介绍认识了泰华社会与经济研究专长的张仲木先生,后引见认识了林长茂先生等人,常被邀请出席他们的聚会,聆听有关泰华社会百年来各种沧桑经历,获益不浅。 Read the rest of this entry »

การบันทึกข้อมูลทางบรรณานุกรมสำหรับหนังสือบริจาคที่จะนำเข้าห้องสมุดภาษาจีน
มิ.ย. 29th, 2018 by buaatchara

ห้องสมุดภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีกระบวนการจัดการหนังสือที่ได้รับบริจาค ดังนี้

1. การคัดแยกหนังสือ  ถ้าหนังสือไม่สอดคล้องกับนโยบายทางการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยก็จะทำการคัดออกเพื่อนำไปบริจาคแก่บุคคล และหน่วยงานอื่นๆ
2. การนำหนังสือเข้าห้องสมุดภาษาจีน เนื่องจากหนังสือบริจาคมีเป็นจำนวนมาก บรรณารักษ์วิเคราะห์การลงรายการทางบรรณานุกรมเข้าระบบไม่ทัน จึงมีการพิจารณาลงรายการทางบรรณานุกรมโดยบันทึกเฉพาะข้อมูลที่สำคัญ เพื่อให้สามารถผู้ใช้บริการสืบค้นได้ และบรรณารักษ์ สามารถค้นหาตัวเล่มได้ว่าเก็บหนังสือเล่มดังกล่าวไว้ที่ใด  โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.บันทึกข้อมูลสำคัญทางบรรณานุกรม (Basic tags) ได้แก่ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์

image1

 

2. กำหนดรหัส (เหมือนเลขหมู่) เพื่อเป็นการกำหนดว่า หนังสือนั้นๆ จัดเก็บอยู่ที่ใด โดยมีการกำหนดเป็น ตู้ ใช้ รหัส เป็น ต และ เรียงลำดับของหนังสือที่จัดเก็บในตู้ เช่น  จากภาพ ต1/1 หมายถึง หนังสืออยู่ที่ตู้ที่ 1 เล่มที่ 1

image2

3. ใส่รหัสในข้อ 2 ตรง Call number และกำหนด shelving location ของหนังสือ

 

image3

 

4. เขียนหมายเลขตู้และลำดับ ใน slip และเสียบไว้ที่ตัวเล่มหนังสือ และนำไปจัดเรียงเข้าตู้ โดยให้ตรงตามหมายเลขของตู้และตามลำดับของตัวเล่ม

image11

ย้อนรอยห้องสมุด ธนาคารศรีนคร
พ.ค. 20th, 2018 by supaporn

เคยแต่ได้ยินชื่อห้องสมุดธนาคารศรีนคร ตั้งแต่เมื่อสมัยเรียนบรรณารักษศาสตร์ เพราะห้องสมุดธนาคารศรีนคร จะถูกจัดอยู่ในห้องสมุดประชาชนของหน่วยงานเอกชน จึงเป็นการรับรู้ชื่อห้องสมุดธนาคารศรีนคร ตั้งแต่นั้นมา กาลเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานของธนาคารศรีนคร ทำให้กิจการของห้องสมุดกลายเป็นอดีต

ห้องสมุดประชาชน ธนาคารศรีนคร

ห้องสมุดประชาชน ธนาคารศรีนคร

ด้วยความซาบซึ้งในความคิด และวิสัยทัศน์ของ ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ ที่ท่านเห็นความสำคัญของการศึกษาในการที่จะช่วยให้มีการพัฒนาบุคคล ทั้งทางสมอง สติปัญญา อันจะเป็นกำลังของชาติในอนาคต และส่วนสำคัญที่จะสร้างสติปัญญา และพัฒนาบุคคลได้นั้น หนังสือเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุด ด้วยเหตุนี้ จึงพยายามรวบรวมข้อมูล เพื่อเป็นการย้อนรอยและระลึกถึงท่าน

8 มกราคม พ.ศ. 2515 ในปี 2515 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นปีหนังสือระหว่างประเทศ ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ (ประธานกรรมการธนาคารศรีนคร) เห็นว่าเป็นโอกาสเหมาะสมที่จะเป็นการเริ่มต้นให้เยาวชนได้มีแหล่งความรู้ และถือว่าเอาวันเด็กแห่งชาติ คือ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม เปิดห้องสมุดขึ้นบริการแก่เด็ก และเยาวชน ขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นห้องสมุดเยาวชน ธนาคารศรีนคร อยู่ที่ ชั้น 2 ธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาสามแยก เลขที่ 573 ถ. เยาวราช สัมพันธวงศ์ กทม. มีหนังสือเด็กและเยาวชน พร้อมกิจกรรมพิเศษ เช่น ชั่วโมงเสริมทักษะและเล่านิทาน ชั่วโมงเล่นเกม

4 เมษายน พ.ศ. 2515 ด้วยมีผู้สนใจในการใช้ห้องสมุดเป็นจำนวนมาก จึงได้เปิดเป็นห้องสมุดประชาชน นับเป็นห้องสมุดแห่งที่ 2 ของธนาคารศรีนคร ให้บริการที่ชั้น 2 ธนาคารศรีนคร จำกัด สาขา ถ. เพชรบุรีตัดใหม่ เลขที่ 1740 ถ. เพชรบุรีตัดใหม่ ใกล้กับเชิงสะพานลอยอโศก มีนายบุญถิ่น อัตถากร ปลัดกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น เป็นประธานในพิธีเปิด และที่นี่ได้เปิดห้องสมุดกอล์ฟขึ้นอีกมุมหนึ่ง เพื่อเป็นการส่งเสริมกีฬากอล์ฟ มีการจัดให้มีนักกอล์ฟมือโปรให้คำแนะนำอีกด้วย เปิดบริการเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 โดย นายบรรหาร ศิลปอาชา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด นับว่าเป็นห้องสมุดกอล์ฟแห่งแรกของไทย

15 ธันวาคม พ.ศ. 2518 เปิดห้องสมุดธนาคารศรีนคร เป็นแห่งที่ 3 โดยขยายไปยังภูมิภาค พร้อมกับการเปิดธนาคารศรีนคร สาขาเชียงใหม่ เลขที่ 119 ถ. ช้างคลาน อ. เมือง จ. เชียงใหม่ โดยมีนายชลอ ธรรมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในขณะนั้น เป็นประธานในพิธีเปิด

21 สิงหาคม พ.ศ. 2519 เปิดห้องสมุดประชาชน เป็นแห่งที่ 4 ที่ชั้น 8 ของอาคารสำนักงานใหญ่ ธนาคารศรีนคร เลขที่ 2 ถ. เฉลิมเขต 4 สวนมะลิ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. โดยได้ทำพิธีเปิดพร้อมกับอาคารสำนักงานใหญ่ 16 ชั้น ของธนาคารศรีนคร อันเป็นวันครบรอบปีที่ 26 ของธนาคารศรีนคร
เน้นทางด้านการเงินและการธนาคาร และที่ห้องสมุดสำนักงานใหญ่นี้ มีการจัดเป็นห้องสมุดภาษาจีน โดยจัดเป็นห้องแยกต่างหากไม่ปะปนกัน มีบรรณารักษ์ทางด้านภาษาจีนให้บริการห้องสมุด อาจกล่าวได้ว่าเป็นห้องสมุดภาษาจีนแห่งแรกในประเทศไทย

27 สิงหาคม พ.ศ. 2522 เปิดห้องสมุดประชาชน ที่ชั้น 2 ธนาคารศรีนคร สาขาพิจิตร เลขที่ 22/22 ถ.ศรีมาลา อ. เมือง จ. พิจิตร นับเป็นห้องสมุดแห่งที่ 5 โดยมี ดร. ชูวงศ์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตรในขณะนั้น เป็นประธานในพิธีเปิด

29 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 เปิดห้องสมุดประชาชนแห่งที่ 6 ที่ธนาคารศรีนคร สาขาวงเวียนใหญ่ เลขที่ 1491/1 ถ. ประชาธิปก หัวมุมวงเวียนใหญ่ เขตคลองสาน กทม. โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์) เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด

ทราบว่า หนังสือห้องสมุดภาษาจีน มีการกระจายไปหลายแห่ง ที่เห็นตัวเล่ม คือ ห้องสมุดภาษาจีน ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และห้องสมุดภาษาจีน สถาบันภาษา (เดิม คือ สถาบันพัฒนาครูสอนภาษาจีน) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

รายการอ้างอิง

สมชาย สินวัฒนรักษ์. (2531). ธนาคารศรีนครกับการพัฒนาห้องสมุด. วารสารการศึกษานอกโรงเรียน 25,142 (ก.พ.-มี.ค.),31-36.

อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว เยี่ยมชมห้องสมุดภาษาจีน ศูนย์บรรณสารฯ
ก.พ. 2nd, 2016 by supaporn

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 11.30 น. อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว จำนวน 5 คน เข้าเยี่ยมชมห้องสมุดภาษาจีน ห้องสมุดการแพทย์แผนจีน ห้องทรงอักษร หอเอกสาร ดร. อุเทน  เตชะไพบูลย์ ในการนี้ บรรณารักษ์ภาษาจีนให้การต้อนรับร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว ระหว่างการเยี่ยมชมห้องทรงอักษร

อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว ระหว่างการเยี่ยมชมห้องทรงอักษร

ให้ความสนใจกับโต๊ะทรงอักษร

ให้ความสนใจกับโต๊ะทรงอักษร

ระหว่างฟังการบรรยาย

ระหว่างฟังการบรรยาย

20160202-Visit4

ลงนามในสมุดเยี่ยม

华侨崇圣大学图书馆 (ห้องสมุดภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ)
ม.ค. 30th, 2016 by suwat

华侨崇圣大学的创办人是泰国著名侨领,有意创办这所有着中国文化方面特征的大学,并致力于让学校成为领导泰国汉语言文学、商务汉语、中医学以及中国文化等方面的大学和中国学数据库集聚之地。

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีน จึงมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่มีเอกลักษณ์ด้านจีนแห่งนี้ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้นำด้านภาษาจีน ธุรกิจจีน การแพทย์แผนจีน ตลอดจนเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ด้านจีนศึกษาทุกมิติ

华侨崇圣大学华文图书馆位于学校图书馆5楼。于1994年(佛历2537)建立,馆藏有众多媒体资源、期刊、当代华文报纸(共5家报社:京华日报、世界日报、新中源报、星暹日报、中华日报)和关于汉语教材、人文社会、中国文化、历史等等书籍,在教学方面,不仅为本校师生师提供借阅,还可以为各国的学生、研究者提供服务。多年以来,各种社会组织、社团集团、政府单位以及私人珍藏的珍贵书籍源源不断的捐赠至本校成为本馆藏书,使得华侨崇圣大学华文图书馆成为了泰国最大的华文图书馆。

ห้องสมุดภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการที่ชั้น 5 อาคารบรรณสารสนเทศ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) ประกอบด้วยทรัพยากรสารสนเทศในรูปของหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ (จำนวน 5 ชื่อเรื่อง ได้แก่ เกียฮั้ว จีนสากล ซิงจงเอี๋ยน ซินเสียนเยอะเป้า และตงฮั้ว) และตำราที่เกี่ยวกับศาสตร์ทางด้านภาษาจีน ตลอดจนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและวัฒนธรรมจีน ให้บริการเพื่อสนับสนุนการเรียน การสอน ไม่เฉพาะแต่นักศึกษา อาจารย์ของมหาวิทยาลัยเท่านั้น ห้องสมุดภาษาจีนแห่งนี้ ยังได้ให้บริการนักศึกษา นักวิจัย จากต่างประเทศอีกด้วย เพียงการสืบค้นจากระบบฐานข้อมูลที่สืบค้นด้านหนังสือจีนในประเทศไทย ด้วยการพยายามจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ และการได้รับบริจาคหนังสืออันทรงคุณค่าจากบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทำให้ห้องสมุดจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นห้องสมุดภาษาจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

华侨崇圣大学华文图书馆的镇馆之宝是一套由台湾商务印书馆出版发行的影印版《文渊阁四库全书》,全泰国仅此一套。《四库全书》是在乾隆皇帝的主持下,由纪昀等360多位高官、学者编撰,2800多人抄写,耗时十三年编成的丛书,分经、史、子、集四部,故名四库,被称为19世纪最伟大的文学作品。

นอกจากนี้ที่ห้องสมุดภาษาจีนมีหนังสือที่มีคุณค่าชุด “ซื่อคู่ฉวนซู” ที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย (Si Ku Quan Shu) ซึ่งเรียบเรียงโดยบัณฑิตแห่งสำนักหันหลินกว่า 2800 คน ในสมัยจักรพรรดิเฉียงหลง โดยใช้เวลาเรียบเรียง 10 ปี (ค.ศ. 1793) “ซื่อคู่ฉวนซู” เป็นตำราที่ประมวลวิชาความรู้อันล้ำลึกไว้ทุกประเภท หนังสือชุดนี้ได้มีผู้กล่าวไว้ว่าเป็นตำราที่ยิ่งใหญ่ในด้านวรรณคดี ในศตวรรษที่ 18

ห้องสมุดภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ธ.ค. 11th, 2015 by supaporn

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีน จึงมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่มีเอกลักษณ์ด้านจีนแห่งนี้ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้นำด้านภาษาจีน ธุรกิจจีน การแพทย์แผนจีน ตลอดจนเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ด้านจีนศึกษาทุกมิติ Read the rest of this entry »

泰国通史 (The History of Thailand)
ธ.ค. 5th, 2015 by supaporn

泰国通史 (The History of Thailand)

泰国通史 (The History of Thailand)

ศูนย์บรรณสารสนเทศฯ ขอแนะนำหนังสือจีน เรื่อง 泰国通史  โดย 段立生 หรือมีชื่อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษว่า The History of Thailand เป็นหนังสือในชุด World History and Culture series กล่าวถึงอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทย ก่อนที่จะมีการตั้งอาณาจักรไทย คือ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา กรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์  ติดต่อหาอ่านได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 5 ห้องสมุดภาษาจีนค่ะ เลขหมู่ DS571 D667T 2014

หนังสือ “ซื่อคู่ฉวนซู”
พ.ย. 6th, 2015 by supaporn

ซื่อคู่ฉวนซู

ซื่อคู่ฉวนซู

หนังสือ “ซื่อคู่ฉวนซู” เป็นหนังสือสำคัญยิ่งของจีนชุดหนึ่ง ซึ่งขณะนี้มีอยู่ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นหนังสือที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกล่าวถึงหนังสือ “ซื่อคู่ฉวนซู” ไว้ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง  “ไอรัก คืออะไร” [1] หน้า 14 ในหัวข้อ “ดูพิพิธภัณฑ์ของห้องสมุด” ดังนี้

หนังสือ ซื่อคู่ฉวนซู เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้สี่ประเภทของจีน ได้แก่

  1. คัมภีร์ศาสนา หน้าปกสีเขียว เปรียบกับฤดูชุนเทียน (ฤดูใบไม้ผลิ)
  2. คัมภีร์ปรัชญา หน้าปกสีเหลือง เปรียบกับฤดูชิวเทียน (ฤดูใบไม้ร่วง)
  3. คัมภีร์เบ็ดเตล็ด หน้าปกสีเทา เปรียบกับฤดูตงเทียน (ฤดูหนาว)
  4. คัมภีร์ประวัติศาสตร์ หน้าปกสีแดง เปรียบกับฤดูเซี่ยเทียน (ฤดูร้อน)

และหน้า 18 ในหัวข้อ “ดูหนังสือโบราณ”

หนังสือนี้รวมทั้งหมดเป็นพันๆ เล่ม จักรพรรดิ์เฉียนหลงมีพระราชโองการให้รวบรวมเขียนด้วยลายมือทั้งหมด (ทั้งๆ ที่ในเวลานั้นมีการพิมพ์แล้ว) สร้างไว้ 7 ชุด ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 3 ชุด เก็บรักษาไว้ที่ปักกิ่ง ไต้หวัน และหลานโจว ตอนกบฏไท้เผ็ง ถูกทำลายไป 3 ชุด เมื่อตอนที่กองทัพผสม 8 ชาติเข้าเผาวังหยวนหมิงหยวน ถูกทำลายไปอีกชุดหนึ่ง เขาบอกว่าธรรมดาไม่ให้คนอื่นดูคัมภีร์นี้ตัวจริง ผู้ที่ต้องการศึกษาต้องอ่านจากไมโครฟิล์ม คนที่จับหนังสือต้องใส่ถุงมือ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa