SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การลงรายการบรรณานุกรม Free eBook เข้าระบบ WMS
พ.ค. 14th, 2021 by prapaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศมีการลงรายการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  (eBook) ที่แจกฟรีเข้าระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) โดยพิจารณาเนื้อหาที่สอดคล้องกับการเรียนการสอน การเสริมทักษะ ความรู้ทั่วไป เพื่อต้องการให้ระบบห้องสมุดของศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นแหล่งรวมบรรณานุกรมจากทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายประเภท และสามารถสืบค้นได้จากที่เดียว จึงได้มีแนวคิดในการลงรายการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการอ่านฟรี ดาวน์โหลดฟรี เข้าในระบบห้องสมุด และด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้ เป็นการผลิตของหน่วยงาน องค์กร ต่างๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นการเผยแพร่ฟรี หรือให้ดาวน์โหลดไปอ่านได้โดยเสรี  และต้องเคารพในเรื่องลิขสิทธิ์และจำนวนในการเข้าถึง จึงใส่ link เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้น ๆ

ขั้นตอนการลงรายการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่แจกฟรี เข้าระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS

การลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีวิธีการเดียวกับการลงรายการหนังสือฉบับพิมพ์ อาจจะมีบางเขตข้อมูลหรือรายละเอียดบางอย่างที่แตกต่างไปบ้างตามลักษณะของการเป็นอิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์

Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการตัดงบประมาณของ E-Product ในระบบ WMS
ก.พ. 8th, 2021 by ladda

จากการที่ได้ปฏิบัติงาน Acquisition module ในระบบ WorldShare Management Services (WMS) ได้ตัดงบประมาณ ในส่วนของ ตัวเล่มหนังสือ และให้บริการตัวเล่มหนังสือเป็นหลักตลอดมา แต่มาช่วงปี 2562 ได้มีซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มากขึ้น ดังนั้น จึงขอเขียนขั้นตอนงานตัดงบประมาณของ E-Product ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนการสร้างใบ Invoice

– คลิกที่ Acquisition module

– คลิกที่ Invoice และกดเลือกที่ New Invoice

– ใส่รายละเอียด Invoice Number, Vender, Tax Handling ตามรูป และกด Save

 

เลือก Receive and Invoice

*** ส่วนของ Processing Type ให้เลือกที่  E-Product

ส่วนของ  Action เลือก Receive and Invoice

ส่วนของ Vender ใส่ Vender

ส่วนของ Invoice Number ใส่เลขที่ใบส่งของ จากนั้นกดที่ View Items

Read the rest of this entry »

สื่อดิจิทัล/สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ
ธ.ค. 25th, 2020 by sirinun

จากการไปศึกษาดูงานที่ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ Unmanned Library ภายใต้ชื่อ “Chula Ultimate X Library” โดย สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 ทำให้รู้สึกและมีความเห็นว่า ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก็มีสื่อทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่พัฒนาเองและที่ซื้อมาให้บริการ อยู่พอสมควร น่าจะได้มีการรวบรวมและแนะนำ ให้เป็นที่รู้จัก และจะได้มีการเข้าถึงในวงกว้างมากขึ้น

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่จะขอแนะนำ ขอแบ่งเป็น

1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศพัฒนาเอง

2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศจัดซื้อมาให้บริการ

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศพัฒนาเอง หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทรือฐานข้อมูลที่เก็บสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อดิจิทัล ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือมหาวิทยาลัยพัฒนาเอง โดยครอบคลุมถึงการดิจิไทซ์เอกสาร พัฒนาระบบเพื่อให้สืบค้น และเข้าถึงได้ นำเผยแพร่ขึ้นเว็บไซต์ ได้แก่

1. ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย เป็นฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ดิจิไทซ์และให้บริการตั้งแต่ฉบับปี 2464 จนถึง ปี 2530 และยังดิจิไทซ์อย่างต่อเนื่อง สามารถอ่านรายละเอียดของประวัติความเป็นมาได้จากบทความ ความร่วมมือระหว่างศูนย์บรรณสารสนเทศกับหอสมุดแห่งชาติ ที่  https://lib-km.hcu.ac.th/library-cooperation-national-library-thailand-hcu  เป็นฐานข้อมูลระบบปิด นักวิจัยหรือผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าสามารถติดต่อมาที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อขออนุญาตการเข้าใช้

2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มูลนิธิป่อเต็กตึํง โรงพยาบาลหัวเฉียว สามารถเข้าอ่านได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/index.php/e-book-hcu

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของ มฉก. / มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง

Read the rest of this entry »

การสร้าง E-Book แบบ PDF ด้วยโปรแกรม Adobe Acrobat
ก.ค. 13th, 2020 by Latthawat Rimpirangsri

Adobe Acrobat คือ โปรแกรมสำหรับสร้างเอกสารจากไฟล์รูปภาพ เช่น .JPG .PNG .GIF ให้กลายเป็นไฟล์เอกสาร (.PDF) เพื่อใช้ในการนำเสนองานที่มีลักษณะเป็นรูปเล่ม ในที่นี้จะกล่าวถึง การสร้าง e-Book เป็น PDF ด้วยโปรแกรม Adobe Acrobat

  1. เตรียมไฟล์รูปภาพที่ต้องการรวมเป็นหนังสือ PDF ให้พร้อม

Read the rest of this entry »

นวัตกรรมจากเครื่องอ่านอีบุ๊ก
ส.ค. 15th, 2016 by supaporn

อ. ธงชัย โรจน์กังสดาล ผู้ชอบอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรืออีบุ๊กผ่านคินเดิลมาก เพราะคินเดิลใช้ อี-อิงก์ (E-ink) หรือหมึกอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้จอมีลักษณะเหมือนกระดาษ ช่วยลดการสะท้อนแสง ทำให้อ่านจากหน้าจอนานๆ ได้โดยไม่เคืองตาเหมือนจอคอมพิวเตอร์ทั่วไป

อี-อิงก์จึงถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ไม่ใช่เครื่องอ่านอีบุ๊กมากขึ้น เช่น ป้ายแสดงข้อมูลต่างๆ ป้ายบอกทางจราจร ป้ายแสดงข้อมูลสินค้า เป็นต้น แม้แต่จอคอมพิวเตอร์ ก็มีผู้ผลิตโดยอี-อิงก์ จออี-อิงก์ นี้ มีชื่อว่า Paperlike แต่ราคายังค่อนข้างสูงมาก อ่านบทความโดยละเอียด

ขอขอบคุณ อ. ธงชัย โรจน์กังสดาล ที่กรุณามอบข้อมูลนี้มาเผยแพร่ค่ะ

ห้องสมุดดิจิทัล : ประสบการณ์และข้อพึงระวัง (Digital Library : Best Practice and Pit Fall)
มิ.ย. 12th, 2016 by pailin

จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการประจำปี 2558  เรื่อง  ห้องสมุดดิจิทัล : ประสบการณ์และข้อพึงระวัง  (Digital Library : Best Practice and Pit Fall) จัดโดย ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา (ช.บ.อ.)  สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย  เมื่อวันที่ 27  พฤศจิกายน 2558  ณ  ห้องประชุมชั้น 7  สำนักงานวิทยทรัพยากร  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยประกอบด้วยหัวข้อ ต่อไปนี้

  1.  แนวโน้มของห้องสมุดในยุค Digital Library
  2.  เล่าเรื่อง Digitized Rare Book หอสมุดสาขาวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  3.  D-Library : National Digital Content
  4.  ห้องสมุดดิจิทัล  ความคุ้มค่าในการลงทุนของมหาวิทยาลัย ?

Read the rest of this entry »

ธรรมะอิเล็กทรอนิกส์
ม.ค. 12th, 2016 by supaporn

แหล่งรวมธรรมนิพนธ์ ธรรมบรรยายอิเล็กทรอนิกส์ (ของ พระพรหมคุณาภรณ์) ที่จัดทำขึ้นโดย วัดญาณเวศกวัน เพื่อเป็นธรรมทาน และเพื่อความสะดวกของผู้ศึกษาค้นคว้า ซึ่งถ้าท่านใดสนใจพิมพ์เผยแพร่ สามารถติดต่อ ได้ ระบบการสืบค้น สามารถหาหัวข้อธรรมะที่สนใจ ได้จาก ธรรมนิพนธ์ ธรรมบรรยาย และ ด้วยคำถามนำ ซึ่งจะโยงไปถึงธรรมนิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ นับว่าเป็นแหล่งหนังสือธรรมะ ที่ใช้เป็นแหล่งศึกษาธรรมะได้อีกทางหนึ่ง

ธรรมะอิเล็กทรอนิกส์

เว็บไซต์ วัดญาณเวศกวัน

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa