SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การบริหารจัดการหนังสือบริจาค
ก.ค. 5th, 2021 by supachok

ในแต่ละปีการศึกษาแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  ได้รับหนังสือบริจาคเข้ามาเป็นจำนวนมาก บางส่วนบรรณารักษ์งานจัดหาฯ ที่ดูแลรับผิดชอบได้พิจารณาคัดเลือกเข้าศูนย์บรรณสารสนเทศ ตามที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย และเนื้อหาอื่นๆ ที่พิจารณาแล้วมีประโยชน์และเสริมการเรียนรู้  กรณีที่ได้รับหนังสือบริจาคที่มีเนื้อหาไม่สอดคล้อง จะพิจารณาบริจาคต่อให้กับกรมการศึกษานอกโรงเรียน หรือ กศน. โรงเรียนต่างๆ หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่ติดต่อขอบริจาคเข้ามา รวมทั้งสนับสนุนโครงการ/กิจกรรมบริการชุมชน ของแผนกบริการสารสนเทศ  กรณีที่มีเนื้อหาที่สอดคล้อง แต่ได้รับจำนวนมากเกินไปในการนำขึ้นชั้นให้บริการ จะพิจารณาเก็บไว้เป็น Stock เพื่อประโยชน์ในการทดแทนหนังสือที่เคยมีอยู่ หากมีการสูญหาย หรือชำรุดจนไม่สามารถจะซ่อมได้ และไม่มีจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว ซึ่งจะได้ช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อเข้ามาใหม่

ในการบริหารจัดการหนังสือ Stock นี้ เมื่อตรวจสอบกับระบบห้องสมุดแล้ว และพิจารณาว่าควรจะเก็บจะบันทึกไว้ใน Google docs โดยมีรายละเอียด ประกอบด้วย ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง/ผุ้รับผิดชอบ ครั้งที่พิมพ์/ปีที่พิมพ์ จำนวนฉบับ เลขISBN, OCLC  Number, ภาษาที่ตีพิมพ์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง  ลำดับและเลขตู้หนังสือ

การที่มีข้อมูลเลขตู้หนังสือ เพื่อจะได้ทราบว่า หนังสือเล่มที่จัดเก็บนั้น อยู่ที่ตู้ไหน ลำดับที่เท่าไรของตู้ เพื่อสะดวกในการหยิบหนังสือเล่มนั้นๆ กรณีที่ต้องการนำหนังสือเล่มนั้นนำเข้าศูนย์บรรณสารสนเทศ ต่อไป โดยที่ตัวเล่มจะใส่ slip และระบุลำดับที่เอาไว้ ซึ่งตู้เก็บหนังสือเหล่านี้จะจัดเก็บไว้ในห้องเก็บหนังสือ

การที่ใช้โปรแกรม Google docs เพื่อจะได้สามารถใช้งานร่วมกันได้หลายๆ คน เช่น ผู้อำนวยการ หรือ หัวหน้าแผนกฯ ในการเข้ามาดูรายชื่อหนังสือ และเพื่อสามารถบริหารจัดการหรือวางนโยบายต่อไปได้

การจัดการหนังสือที่ได้รับบริจาค ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.ค. 13th, 2020 by supachok

เนื่องจากในแต่ละปี ทางแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้รับหนังสือบริจาคเข้ามาในปริมาณจำนวนมาก ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จึงมีแนวคิดในการบริหารจัดการหนังสือที่ได้รับบริจาคเหล่านั้น ดังนี้

  • พิจารณาคัดเลือกหนังสือที่ไม่ตรงกับการให้บริการ แยกออกเพื่อบริจาคไปยังหน่วยงานที่เหมาะสมต่อไป เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดเรือนจำ การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) และแห่งอื่น ๆ ที่ติดต่อขอรับบริจาคหนังสือ
  • พิจารณาหนังสือเก็บไว้ในห้องเก็บหนังสือ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป อาทิเช่น
    – หนังสือที่ให้บริการชำรุด หรือสูญหาย และไม่มีการจัดพิมพ์อีก ต้องทดแทน
    – หนังสือที่มีอยู่ มีความต้องการใช้มากขึ้น เป็นต้น
    – หนังสือที่มีเนื้อหาที่เป็นความรู้พื้นฐาน และมีความจำเป็นต้องใช้
    – หนังสือหายาก

งานบริจาคหนังสือ ดำเนินการโดยมีขั้นตอน ดังนี้

  1. ตรวจสอบความซ้ำซ้อนของหนังสือกับระบบห้องสมุด และจำนวนที่มี
  2. กรณีที่มีแล้ว 2 เล่ม จะพิจารณาเก็บไว้ในห้องเก็บหนังสือ ถ้ามีเล่มเดียวจะพิจารณาเนื้อหา สถิติการใช้ และส่งมอบให้บรรณารักษ์เพิ่มจำนวนในระบบ
  3. จัดพิมพ์รายชื่อหนังสือที่ต้องการเก็บไว้ในห้องเก็บหนังสือ โดยใช้โปรแกรม Excel  กำหนดข้อมูลต่างๆ เช่น ลำดับของหนังสือ (Running Number) ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ครั้งที่พิมพ์ ปีที่พิมพ์ เลข ISBN และเลข Bib Number  (กรณีที่ตรวจสอบว่ามีในระบบห้องสมุดแล้ว เพื่อสะดวกในการสืบค้นในภายหลัง)
  4. มีการนำ Running number   ตามที่บันทึกไว้ในโปรแกรม Excel มาติดไว้ที่ตัวเล่ม และจัดเรียงตามหมายเลข เพื่อให้หาได้ง่าย

ดังนั้น งานบริจาคหนังสือจะมีไฟล์รายชื่อหนังสือที่เก็บไว้ใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งจะมีการใช้ไฟล์ร่วมกับงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และไม่ต้องเปลืองงบประมาณ

การบันทึกข้อมูลทางบรรณานุกรมสำหรับหนังสือบริจาคที่จะนำเข้าห้องสมุดภาษาจีน
มิ.ย. 29th, 2018 by buaatchara

ห้องสมุดภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีกระบวนการจัดการหนังสือที่ได้รับบริจาค ดังนี้

1. การคัดแยกหนังสือ  ถ้าหนังสือไม่สอดคล้องกับนโยบายทางการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยก็จะทำการคัดออกเพื่อนำไปบริจาคแก่บุคคล และหน่วยงานอื่นๆ
2. การนำหนังสือเข้าห้องสมุดภาษาจีน เนื่องจากหนังสือบริจาคมีเป็นจำนวนมาก บรรณารักษ์วิเคราะห์การลงรายการทางบรรณานุกรมเข้าระบบไม่ทัน จึงมีการพิจารณาลงรายการทางบรรณานุกรมโดยบันทึกเฉพาะข้อมูลที่สำคัญ เพื่อให้สามารถผู้ใช้บริการสืบค้นได้ และบรรณารักษ์ สามารถค้นหาตัวเล่มได้ว่าเก็บหนังสือเล่มดังกล่าวไว้ที่ใด  โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.บันทึกข้อมูลสำคัญทางบรรณานุกรม (Basic tags) ได้แก่ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์

image1

 

2. กำหนดรหัส (เหมือนเลขหมู่) เพื่อเป็นการกำหนดว่า หนังสือนั้นๆ จัดเก็บอยู่ที่ใด โดยมีการกำหนดเป็น ตู้ ใช้ รหัส เป็น ต และ เรียงลำดับของหนังสือที่จัดเก็บในตู้ เช่น  จากภาพ ต1/1 หมายถึง หนังสืออยู่ที่ตู้ที่ 1 เล่มที่ 1

image2

3. ใส่รหัสในข้อ 2 ตรง Call number และกำหนด shelving location ของหนังสือ

 

image3

 

4. เขียนหมายเลขตู้และลำดับ ใน slip และเสียบไว้ที่ตัวเล่มหนังสือ และนำไปจัดเรียงเข้าตู้ โดยให้ตรงตามหมายเลขของตู้และตามลำดับของตัวเล่ม

image11

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติรับมอบหนังสือภาษาจีน
มี.ค. 29th, 2017 by supaporn

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดย อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ รองอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ รองอธิการบดี อาจารย์ ฉลอง แขวงอินทร์ และผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ รับมอบหนังสือภาษาจีน จาก คุณวิวัฒน์ วิชิตบุญญเศรษฐ และ นสพ. กิจ สุนทร เพื่อให้มหาวิทยาลัยนำหนังสือไปใช้ประโยชน์แก่นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และประชาชนทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยทำพิธีรับมอบ ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารอำนวยการ เวลา 09.00-12.00 น. โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหารือในเรื่องต่างๆ ก่อนทำพิธีรับมอบ

 

บริจาคหนังสือ

บริจาคหนังสือ

คนแรก คือ คุณวิวัฒน์ วิชิตบุญญเศรษฐ และ ถัดมาคือ นสพ.กิจ สุนทร

คนแรก คือ คุณวิวัฒน์ วิชิตบุญญเศรษฐ และ ถัดมาคือ นสพ.กิจ สุนทร

ทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คุณวิวัฒน์ วิชิตบุญญเศรษฐ มอบหนังสือ

คุณวิวัฒน์ วิชิตบุญญเศรษฐ มอบหนังสือ

นสพ. กิจ สุนทร มอบหนังสือ

นสพ. กิจ สุนทร มอบหนังสือ

 

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa