SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
โครงการกิจกรรมปลูกจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หัวข้อ “เขยิบมาแยกขยะ”
ม.ค. 15th, 2018 by ratchanee

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดโครงการกิจกรรมปลูกจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หัวข้อ “เขยิบมาแยกขยะ” เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของขยะ  การจัดการขยะ และการคัดแยกขยะให้ถูกวิธี โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์วนิดา สุวรรณพ เป็นวิทยากรในการให้ความรู้ดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.30-12.00 น. นั้น เพื่อให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในยุทธศาสตร์ที่ 6 มีการบริหารจัดการศูนย์บรรณสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการที่ 3.2 ปลูกฝังจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อส่วนรวม

วัตถุประสงค์โครงการ

1.เพื่อปลูกจิตสำนึกแก่ นักศึกษา อาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

2.เพื่อให้ความรู้ และสร้างความตระหนักในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

วิทยากรได้กล่าวถึงภาวะโลกร้อน ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และขยะก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นจนไม่สามารถจัดเก็บให้ทันกับปริมาณ ทั้งนี้จึงมีการเชิญชวนให้คัดแยกขยะ โดยร่วมกับโครงการ กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้ เพื่อช่วยลดการตัดต้นไม้เพื่อผลิตกระดาษได้ถึง 17 ตัน แถมยังช่วยลดก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ และลดพื้นที่หลุมฝังกลบขยะอีกด้วย

 

โครงการ กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้

โครงการ กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้

จากภาพข้างต้น เป็นการนำกล่องนมยูเอชที กลับมาใช้ใหม่ โดยสอนวิธีการพับเก็บกล่องอย่างถูกวิธี ก่อนนำไปรีไซเคิล Read the rest of this entry »

Growroom ประหยัดพื้นที่ ช่วยเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก
เม.ย. 14th, 2017 by supaporn

Growroom จากไอเดียของสถาปนิก Mads-Ulrik Husum และ Sine Lindholm จาก Space10 ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นเหมือนสวน ปลูกพืช ผัก สมุนไพร ใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่จำกัด หรือปลูกในเมืองได้ Growroom เปิดตัวเมื่อปลายปี ค.ศ. 2016 โครงสร้างเป็นกระบะปลูกพืชที่โค้งต่อจนกันเป็นวงกลม ออกแบบให้กระบะรับแสงแดดได้อย่างทั่วถึง แถมมีที่นั่งภายในอีกด้วย

Growroom

The Growroom by Ikea’s Space10, Mads-Ulrik Husum, and Sine Lindholm.R Hjortshoj

น่าจะนำมาใช้เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับหน่วยงานได้ เป็นทั้งเฟอร์นิเจอร์ พื้นที่ปลูกพืช ผัก สมุนไพร หรือลองหาพืชที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมหรือสภาพแวดล้อมภายในอาคาร  มีเว็บไซต์อธิบายวิธีการประกอบในแต่ละขั้นตอนด้วยค่ะ เช่นที่ http://www.designboom.com/design/ikea-space10-the-growroom-flat-pack-spherical-garden-02-20-2017/ และ https://medium.com/space10-the-farm/space10-open-sources-the-growroom-aa7ca6621715  ลองค้นดูค่ะ มีข้อมูลเยอะทีเดียว

อ้างอิง

Garfield, Leanna (2017). Ikea just launched a DIY flat-pack indoor garden that can feed a whole lot of people at once. Retrived from http://www.businessinsider.com/ikeas-growroom-photos-2017-2

ศึกษาดูงานห้องสมุดกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
มี.ค. 11th, 2017 by supaporn

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแบ่งปันประสบการณ์ในการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว  กับห้องสมุดกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม  เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ 2560 รวมระยะเวลา 1 วัน เพื่อเป็นการเติมอาหารสมอง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเป็นหน่วยงานที่ผ่านการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว และกำลังเข้าสู่การตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว  Read the rest of this entry »

เทวะวงศ์ฯ สาร (Devawongse Sarn)
ก.ย. 13th, 2016 by supaporn

เทวะวงศ์ฯ สาร ฉบับปี 2015 ภายใต้ชื่อ ความท้าทายไร้พรมแดน รวบรวมองค์ความรู้ด้านการทูต การต่างประเทศ และการบริหารการต่างประเทศ ตลอดจนประเด็นท้าทายใหม่ๆ ในโลกศตวรรษที่ 21 จากการบรรยายของหลักสูตรนักบริหารการทูต รุ่นที่ 5 (ปี 2556)

 

เทวะวงศ์ฯ สาร

เทวะวงศ์ฯ สาร

เนื้อหาน่าสนใจมากมาย ค่ะ

  • การทูต การบริหาร และการต่างประเทศกับความท้าทายในศตวรรษที่ 21
  • รัฐธรรมนูญกับการบริหารราชการแผ่นดิน
  • นักบริการกับการพัฒนากฎหมายเพื่อพัฒนาประเทศ
  • กระบวนการทางการเมืองและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
  • การมีส่วนร่วมของพลเมืองในระบบประชาธิปไตย
  • บทบาทนักบริหารกับการขับเคลื่อนองค์กร
  • การบริหารจัดการสภาวะวิกฤติและการสื่อสาร
  • การพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับนักบริหาร
  • ออกกำลังกายสายกลางเพื่อสุขภาพ
  • Good governance & integrity management : Hong Kong & International Experience
  • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในมุมมองของอดีตเลขาธิการอาเซียน
  • บทบาทของไทยในเวทีโลก (Beyond Thailand) และบทบาทผู้แทนไทย
  • ประวัติศาสตร์การทูตไทย : กรณีความสัมพันธ์ ไทย-กัมพูชา ในยุคเขมร 4 ฝ่าย จนถึงการลงนามสันติภาพ ณ กรุงปารีส
  • เมื่อพระภิกษุศรีลังกาจะเดินขบวนประท้วง สถานเอกอัครราชทูตและรัฐบาลไทย
  • การจัดระเบียบโลก : ผลกระทบและการปรับตัว
  • อนาคตเศรษฐกิจโลกภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ
  • บทบาทของไทยต่อปัญหาพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • Western Democracy in the Content of Developing Countries
  • The Muslim World: The Lessons of the Syria Crisis in Conflict Resolution

รายการอ้างอิง

กระทรวงการต่างประเทศ. สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ. (2016). เทวะวงศ์ฯ สาร 2015 (Devawongse Sarn). กรุงเทพฯ : สถาบัน.

ศูนย์บรรณสารสนเทศ กับรางวัล 7 ส ยอดเยี่ยมประเภทหน่วยงาน
ก.ค. 7th, 2016 by supaporn

วันที่ 7 กรกฎาคม 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เข้ารับรางวัลชนะเลิศ 7 ส ในงาน Big Cleaning Day ของมหาวิทยาลัย โดย อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ เป็นประธานในการมอบรางวัล

ภาพหมู่กับหน่วยงานและบุคลากรที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ

ภาพหมู่กับหน่วยงานและบุคลากรที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ

 

อธิการบดี มฉก. มอบโล่รางวัลให้กับ ผอ. ศูนย์บรรณสารสนเทศ

อธิการบดี มฉก. มอบโล่รางวัลให้กับ ผอ. ศูนย์บรรณสารสนเทศ

ภาพชาวบรรณสาร

ภาพชาวบรรณสาร

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ดำเนินการกิจกรรม 7 ส ซึ่งประกอบด้วย สะสาง สะดวก สุขลักษณะ สร้างนิสัย สวยงาม และ สิ่งแวดล้อม มาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อให้งานเกิดคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้ความสำคัญในเรื่องของความสวยงามและสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมจากกิจกรรม 5 ส ที่ผ่านมา

ความหมายของ 7 ส.

ส 1  หมายถึง สะสาง แยกของที่ต้องการกับของที่ไม่ต้องการใช้งาน หรือ ของที่มีปริมาณมากเกินจำเป็นให้เหลือเฉพาะที่จำเป็นไว้เท่านั้น

ส 2 หมายถึง สะดวก จัดเก็บของ แยกประเภทของที่จำเป็น ให้สะดวกเก็บ สะดวกใช้ โดยใช้หลัก “หยิบง่าย หายรู้ ดูก็งามตา”

ส 3 หมายถึง สะอาด มีวิธีการทำความสะอาด แบ่งหน้าที่กันทำความสะอาด โดยการ ปัด กวาด เช็ด ถู ดูแลให้สะอาด พร้อมใช้ สม่ำเสมอ

ส 4 หมายถึง สุขลักษณะ รักษามาตรฐานที่ดี ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และพัฒนาให้ดีเสมอ เพื่อสุขลักษณะที่ดีในสถานที่ทำงาน โดย ค้นหาสาเหตุที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น มลภาวะ อุบัติเหตุ แสงสว่าง เสียงดัง ฝุ่น เศษขยะ กลิ่นอับ แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

ส 5 หมายถึง สร้างนิสัย รักษาระเบียบวินัยและมาตรฐานข้อตกลง โดย ช่วยกันปฏิบัติตามหลัก 7 ส ให้เป็นกิจวัตรประจำวันจนติดเป็นนิสัย

ส 6 หมายถึง สวยงาม รักษาสภาพแวดล้อม บรรยากาศในที่ทำงาน ดูดี สบายตา สบายใจ สดชื่น น่าทำงาน แต่ไม่ฟุ่มเฟือยเกินจำเป็น

ส 7 หมายถึง สิ่งแวดล้อม ประหยัดทรัพยากรในการทำงาน โดยการ ประหยัด น้ำ ไฟฟ้า กระดาษ ที่ยึดหลัก 1A3R คือ

A  หมายถึง  Avoid หลีกเลี่ยงการใช้
R  หมายถึง  Reduce ลดการใช้
R  หมายถึง  Reuse นำกลับมาใช้
R  หมายถึง  Recycle นำไปผลิตใหม่

ขอขอบคุณ ชาวบรรณสารทุกท่านค่ะ “ชาวบรรณสาร ร่วมมือ ร่วมใจ ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”

นิเวศวิทยาเพื่อสิ่งแวดล้อม
พ.ค. 12th, 2016 by sirinun

นิเศวิทยาเพื่อสิ่งแวดล้อม

นิเศวิทยาเพื่อสิ่งแวดล้อม

นิเวศวิทยาเพื่อสิ่งแวดล้อมพัฒนาขึ้นจากประสบการณ์การเรียนการสอน การวิจัย และการปฏิบัติ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่หลักการของความยั่งยืน การประเมินสถานะทางสุขภาพหรือสุขภาวะของระบบนิเวศ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาให้เป็น “แหล่งรวมองค์ความรู้ที่ปรากฏขึ้นใหม่เป็นครั้งแรกซึ่งมีลักษณะเฉพาะตนที่ลึกซึ้ง” เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศักยภาพของศาสตร์ทางนิเวศวิทยาในการนำไปประยุกต์ใช้ในโลกที่เป็นจริง เตรียมความพร้อมก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  เพื่อเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อผลประโยชน์ของธรรมชาติและการพัฒนาที่ยั่งยืนบรรลุตามเป้าหมายในเร็ววัน หมวดหมู่ QH541 จ535น 2558

รายการอ้างอิง

จิรากรณ์ คชเสนี และ นันทนา คชเสนี. (2558). นิเวศวิทยาเพื่อสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

การมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชน : ทางเลือกใหม่ของการจัดการปัญหาขยะ
มี.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

การมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชน : ทางเลือกใหม่ของการจัดการปัญหาขยะ

บทคัดย่อ

ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งคือ ปัญหาขยะที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถจัดเก็บได้เพียง ร้อยละ 60-80 เท่านั้น

ความพยายามในการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมามีทั้ง วิธีการกำจัดขยะแบบการฝังกลบ การเผา การจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย และการนำมาตรการด้านภาษีและค่าธรรมเนียมมาบังคับใช้ยังมีข้อจำกัดมากมายส่งผลให้ขาดประสิทธิภาพในทางปฏิบัติ จึงมีการเปลี่ยนมุมมองต่อเรื่องขยะเสียใหม่ เพราะโครงสร้างขยะเปลี่ยนไปแล้ว ขยะไม่ใช่แค่เศษอาหาร เศษวัชพืช อีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และยังทำให้เกิดคุณภาพของสินค้าตัวใหม่ที่ปลายทางดีขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็น การทำปุ๋ยหมัก หรือ หมักสารจุลินทรีย์ หรือสารสกัดชีวภาพ การหลอม หรือผลิตสินค้ารีไซเคิลตัวใหม่ ๆ

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2542 เป็นต้นมา ได้มีองค์กรชุมชนหลาย ๆ แห่งได้รวมตัวกันจัดการขยะในลักษณะของธุรกิจชุมชนทำให้สมาชิกมีรายได้จากการขายขยะและยังสร้างจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมชุมชน ซึ่งกิจกรรมนี้ได้มีการนำไปปฏิบัติแพร่หลาย โดยมีแนวทางการจัดการขยะของชุมชนเกิดขึ้นหลายรูปแบบ ได้แก่ ประเภทซาเล้งอิสระ ส่งเสริมกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน การส่งเสริมสิ่งแวดล้อมชุมชน ธนาคารขยะ และธุรกิจชุมชน และได้ขยายเป็นเครือข่ายองค์กรด้านการจัดการปัญหาขยะ มีลูกข่ายเกือบทั่วประเทศ ภายใต้กลไกที่ทำให้เกิดความสำเร็จเช่น กลไกทางการศึกษา ผู้นำ การเรียนรู้จากการเห็นประโยชน์และการปฏิบัติจริงของชุมชน การประสานงานกับองค์กรท้องถิ่น การใช้เครือข่ายองค์กร และผลประโยชน์ด้านสวัสดิการสังคมและเศรษฐกิจที่ชุมชนได้รับ เป็นต้น

การมีส่วนร่วมของภาคชุมชนจึงเป็นแนวทางที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาขยะที่ยั่งยืน

รายการอ้างอิง

กรรณิกา ขวัญอารีย์. (2546). ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งคือ ปัญหาขยะที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถจัดเก็บได้เพียง ร้อยละ 60-80 เท่านั้น. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (13), 33 – 42.

ปรอท : สารเคมีใกล้ตัวที่ควรรู้
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

ปรอท : สารเคมีใกล้ตัวที่ควรรู้

บทคัดย่อ:

สารประกอบปรอทที่ใช้ประโยชน์กันอยู่มีด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ โลหะปรอทบริสุทธ์ (metallic mercury) สารประกอบปรอทอนินทรีย์ (iorganic mercury compund) และสารประกอบอนินทรีย์ (organic mercury compound) สารประกอบเหล่านี้ นำมาใช้ทำเครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เช่น ปรอทวัดไข้ ปรอทวัดอุณหภูมิของบรรยากาศ เป็นต้น ใช้ทำสารอมัลกัม (amalgam) ซึ่งเป็นสารที่ทันตแพทย์ใช้อุดฟันให้คนไข้  นอกจากนี้ สารปรอทยังใช้ผลิตหลอดไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า ใช้ทำแบตเตอรี่ ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแก๊สคลอรีน สารประกอบปรอทบางชนิด เช่น HgO HgCl2 ถูกนำมาใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น จากกิจกรรมการผลิตในระบบอุตสาหกรรมสามารถทำให้เกิดสารปนเปื้อนสารปรอทในสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งสารปรอทเหล่านี้จะแพร่กระจายไปสะสมในสิ่งมีชีวิตในห่วงโซ่อาหาร เช่น ปลา พืชผัก ผลไม้ เมื่อคนเราบริโภคอาหารที่มีสารปรอทปนเปื้อนก็จะเกิดการถ่ายเทสารปรอทมาสะสมในร่างกายของเราได้จนก่อให้เกิดพิษภัยอันตรายจากสารปรอท ซึ่งพิษภัยอันตรายจากสารปรอทสามารถจำแนกได้ 2 แบบ คือ พิษแบบแรกเป็นพิษแบบเรื้อรัง (chronic poisoning) ซึ่งพิษภัยแบบนี้สารปรอทจะไปทำลายระบบประสาทส่วนกลางทำให้ผู้ป้วยสูญเสียการทรงตัว เกิดการกระตุกและชาตามแขนขา พิษแบบที่สองเป็นพิษเฉียบพลัน (acute poisioning) พิษแบบนี้จะเกิดขึ้นทันที่ทีเราได้รับสารปรอทปริมาณมากเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร พิษแบบนี้มีความรุนแรงมากถึงขั้นอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้  ในอดีตที่ผ่านมาเคยเกิดเหตุการณ์จากมลพิษของสารปรอทที่เรียกว่า โรคมินามาตะ (Minamate disease) ขึ้นที่หมู่บ้านชายทะเล บริเวณอ่าวมินามาตะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี ค.ศ. 1956 การเกิดโรคมินามาตะนี้เป็นผลมาจากการที่โรงงานอุตสาหกรรมทิ้งของเสียที่มีสารปรอทปนเปื้อนอยู่ลงในทะเล ความเสียหายครั้งนี้ทำให้มีประชาชนเสียชีวิตและพิการอย่างถาวรจำนวน 121 ราย

เกษม พลายแก้ว. (2548). ปรอท : สารเคมีใกล้ตัวที่ควรรู้. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (16), 81-96.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ความตั้งใจย้ายที่อยู่อาศัยภายในเขตกรุงเทพมหานคร
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

ความตั้งใจย้ายที่อยู่อาศัยภายในเขตกรุงเทพมหานคร (Intention to Move Residence within Bangkok Municipality)

การย้ายที่อยู่อาศัยของประชากรจำนวนมากหรือย้ายบ่อยครั้ง อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อตัวผู้ย้ายประชากรในชุมชนต้นทางและชุมชนปลายทางของการย้ายที่อยู่อาศัย และส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการของภาครัฐ ในด้านการจัดการงบประมาณ ระบบสาธารณูปโภค การจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม ความรุนแรงของปัญหาขึ้นอยู่กับระดับและแบบแผนของการย้ายที่อยู่ภายในเขตกรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของความตั้งใจและสาเหตุของการย้ายที่อยู่อาศัยของชาวกรุงเทพมหานคร โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการวิจัย เรื่อง ความเป็นเมืองและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในกรุงเทพณปี 1993 ซึ่งเป็นงานวิจัยร่วมของมหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Australian National University ใช้กลุ่มตัวอย่าง 1,201 คน ผลการศึกษาปรากฏว่า ผู้ชายย้ายที่อยู่มากกว่าผู้หญิง ผู้ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาจะย้ายถิ่นมาก ผู้ที่มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัดจะย้ายถิ่นมากกว่าผู้ที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯ ผู้ที่ได้รับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์จะย้ายถิ่นน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับข่าวสาร และผู้ที่ทำงานในกรุงเทพฯ ระหว่าง 8-12 ปี จะตั้งใจย้ายที่อยู่อาศัยน้อยกว่าผู้ที่ทำงานระยะสั้นกว่า นอกจากนี้ หากชาวกรุงเทพฯ รู้สึกว่าบริเวณที่อยู่อาศัยมีมลพิษสูงขึ้นจะตั้งใจย้ายที่อาศัยมาก แต่หากรู้สึกว่าในชุมชนมีประชากรหนาแน่นขึ้นจะตั้งใจย้ายที่อยู่อาศัยน้อยลง ซึ่งอาจเป็นเพราะประชากรมีความคาดหวังมากขึ้นที่จะประกอบอาชีพต่างๆ อยู่ในชุมชน

เสาวนิจ รัตนวิจิตร นิจอนันต์ชัย. (2547). ความตั้งใจย้ายที่อยู่อาศัยภายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (15), 93-100.

อ่านบทความฉบับเต็ม

สำนักงานสีเขียว (Green Office)
ก.พ. 5th, 2016 by supaporn

สำนักงานสีเขียว (Green Office) หมายถึง สำนักงานและกิจกรรมต่างๆ ภายในสำนักงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างรู้คุณค่า มีแนวทางในการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญจะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในปริมาณต่ำ

หลักการสำคัญของสำนักงานสีเขียว คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำกิจกรรมต่าง ในสำนักงานให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด โดยลดการใช้พลังงาน และริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ลดปริมาณขยะโดยการลดการใช้ การใช้ซ้ำการนำกลับมาใช้ใหม่ การลดและเลิกใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย เป็นต้น

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำ หนังสือคู่มือสำนักงานสีเขียว Green Office เพื่อศึกษาและพัฒนาเกณฑ์สำนักงานสีเขียว ตามแนวคิดและวิธีการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) และการพัฒนาเกณฑ์ ทดสอบเกณฑ์ และประเมินผลเพื่อรับรองสำนักงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมศักยภาพการจัดการทรัพยากร พลังงาน และสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน รองรับการจัดซื้อ จัดจ้างสินค้า และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานภาครัฐ (Green Procument)

ติดตามรายละเอียดได้ที่ http://www.deqp.go.th/media/36201/เล-มค-ม-อ-green-office-18-12-2557.pdf

รายการอ้างอิง

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2557). คู่มือสำนักงานสีเขียว. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 จาก http://www.deqp.go.th/media/36201/เล-มค-ม-อ-green-office-18-12-2557.pdf

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa