SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การปรับเปลี่ยนสิ่งพิมพ์ มฉก. เป็น HCU Archives
ม.ค. 21st, 2020 by suwanna

สิ่งพิมพ์ มฉก. คือสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยหน่วยงานของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เช่น รายงานเอกสารการอบรม เอกสารประกอบการประชุม หลักสูตร หรือรายงานกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นต้น

เนื่องจากสิ่งพิมพ์ มฉก. ในศูนย์บรรณสารสนเทศ ให้บริการอยู่ที่ชั้นทั่วไปมีจำนวนมาก มากทั้งในจำนวนชื่อเรื่อง และจำนวนฉบับ และในปัจจุบัน มีเนื้อหาที่ไม่สอดคล้องกับการใช้ ทำให้ต้องพิจารณาทบทวนการจัดเก็บสิ่งพิมพ์ มฉก.   อีกครั้ง โดยรวบรวมตั้งแต่ปีพิมพ์เริ่มต้น – ปัจจุบัน จัดเก็บเพียงจำนวน 1 ฉบับ ไว้ในหอจดหมายเหตุ เพื่อให้เป็นหลักฐานว่ามหาวิทยาลัยเคยมีการผลิตสิ่งพิมพ์ชื่อใดบ้าง ส่วนบางรายชื่อที่มีจำนวนมากเกินไป มีการพิจารณาจำหน่ายออกบ้าง ที่มีการให้บริการที่ชั้นทั่วไปพิจารณาจำนวนฉบับตามความเหมาะสมกับการใช้  ดังนั้น สิ่งพิมพ์ มฉก. ที่มีการจัดเก็บไว้หอจดหมายเหตุ จึงต้องมีการกำหนด Collection ไว้ในระบบ เพื่อให้ทราบว่า สามารถขอใช้บริการได้ที่หอจดหมายเหตุ ซึ่งหอจดหมายเหตุ  มีระบบการจัดเก็บในลักษณะของจดหมายเหตุ และให้บริการเป็นชั้นปิด

ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบปรับเปลี่ยน Collection สิ่งพิมพ์ มฉก. ที่จัดเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุ โดยมีหลักการปฎิบัติ คือ

1. สืบค้นรายการสิ่งพิมพ์ที่ต้องการจะปรับเปลี่ยนในฐานข้อมูลระบบ WorldShare Management  Services (WMS) (ดังรูป)

 

2. ในส่วนของ LBD (ส่วนที่ 2) จะต้องแก้ไข จากเดิมที่มีการวิเคราะห์หมวดหมู่ใน 590 จะต้องปรับเปลี่ยนมาใช้ Tag. 592  โดยกำหนดคำว่า   Arc.  ซึ่งย่อมาจากคำว่า Archive หมายถึง จดหมายเหตุ เพื่อต้องการแจ้งให้ทราบว่า อยู่ที่หอจดหมายเหตุ (ดังรูป) Read the rest of this entry »

หนังสือประเภทสหกิจศึกษา โครงงานพิเศษและการวิจัย
มิ.ย. 21st, 2017 by ladda

ผู้เขียนได้รับผิดชอบงานหนังสือประเภทสหกิจศึกษา โครงงานพิเศษและการวิจัย ซึ่งเป็นงานของนักศึกษาปริญญาตรี ไม่ใช่ของอาจารย์ หรือ ปริญญาโท ดังนั้น จึงขออธิบายความเป็นมาให้ทราบที่มาที่ไปของงานชิ้นนี้ ว่าทำไมถึงต้องวิเคราะห์แยกออกมาจากงานวิทยานิพนธ์และภาคนิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท และความแตกต่างกับปริญญาตรีของหนังสือสหกิจ โครงงานพิเศษและการวิจัยนี้ มีเนื้อหารายละเอียดแตกต่างกันอย่างไร มีชื่อว่าอะไรบ้าง การใช้ตัวย่อของการทำหนังสือประเภทนี้ ย่อมาจากอะไร มีประโยชน์อย่างไร  และเพื่อสะดวกในการสืบค้นเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ดังนั้นจึงของชี้แจงความหมายของงานแต่ละประเภทดังนี้

1.งานสหกิจศึกษา สหกิจศึกษา (Co-operative Education: Co-op) เป็นระบบการศึกษาที่จัดให้มีการผสมผสาน ระหว่างการเรียนของนักศึกษาในห้องเรียนเข้ากับการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการอย่างมีหลักการ และเป็นระบบเพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรงโดยกำหนดให้นักศึกษาออกปฏิบัติงานในสถานประกอบการในฐานะเสมือนหนึ่งเป็นพนักงานชั่วคราว เต็มเวลาเป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษาซึ่งนักศึกษาจะได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจและคุ้นเคยกับโลกแห่งความเป็นจริงของการทำงานและการเรียนรู้เพื่อให้ได้มาซึ่งทักษะของงานอาชีพและทักษะด้านการพัฒนาตนเองเป็นการศึกษาที่บูรณาการการเรียนรู้ในสถานศึกษากับการให้นักศึกษาออกไปปฏิบัติงานจริงเต็มเวลา ณ สถานประกอบการ

หลักการและเหตุผล

สหกิจศึกษา เป็นระบบการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานในองค์กรผู้ใช้บัณฑิตอย่างมีระบบโดยจัดให้มีการเรียนในสถานศึกษาร่วมกับการจัดให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือเพื่อนักศึกษาจะได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจและคุ้นเคยกับโลกแห่งความเป็นจริงของการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพที่เป็นความต้องการของสถานประกอบการอันจะส่งผลให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้นอีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างสถานศึกษากับองค์กรผู้ใช้บัณฑิตทำให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรได้ตลอดเวลา และสถานประกอบการก็จะได้แรงงานนักศึกษาร่วมงานตลอดปี ดังนั้น นักศึกษาสหกิจศึกษาจึงเปรียบเสมือนผู้แทนที่เป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัย ที่จะสะท้อนให้เห็นคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย และเป็นการเผยแพร่เกียรติคุณของมหาวิทยาลัย สู่สาธารณชนซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ฉะนั้นเพื่อความสะดวก ในการวิเคราะห์และให้หมวดหมู่ของวิชาสหกิจศึกษา จึงกำหนดให้ใช้อักษรย่อ (สห) แทนการให้หมวดหมู่ และตามด้วยชื่อหลักสูตรของสาขาวิชานั้นๆ เช่น หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต กลุ่มวิชาชีพด้านการออกแบบนิเทศศิลป์ วิชา CA4056 ตามด้วยชื่อผู้แต่ง และปี พ.ศ.  ส่วนสถานะของหนังสือสหกิจจัดวางอยู่ชั้นหนังสือทั่วไปชั้น 4 ดังนี้ Read the rest of this entry »

Knowledge Sharing “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.”
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันที่ 25 เมษายน 2559 เวลา 9.00-12.00 น. แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม Knowledge sharing หัวข้อ “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.” โดยผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำหน้าที่เป็น Facilitator ในการจัดการความรู้เกี่ยวกับการรับไฟล์วิทยานิพนธ์ งานวิจัยของ มฉก. จากเดิม ซึ่งอาจจะมีกระบวนการที่ไม่เป็นระบบ นำมาหารือและจัด work flow ของการไหลของงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม โดย

1. ประสานงานกับบัณฑิตวิทยาลัย และสำนักพัฒนาวิชาการในการส่งไฟล์วิทยานิพนธ์และงานวิจัยอย่างสม่ำเสมอ หรือกำหนดเป็นระยะเวลาที่แน่นอน

2. ตัวเล่มของวิทยานิพนธ์ งานวิจัย ส่งมายังแผนกจัดหาและวิเคราะห์ ผ่านหัวหน้าแผนกฯ เพื่อส่งต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายในการลงรายการบรรณานุกรมในระบบห้องสมุดและลงรายการเมทาดาทาของ THAILIS

3. ส่งไฟล์ไปยังแผนกทรัพยากรการเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของไฟล์ การลงเมทาดาทาในไฟล์ การใส่ watermark รวมทั้งการทำเป็น PDF/A

4. ส่งไฟล์เข้าระบบ THAILIS

ส่วนแผ่นซีดีที่บันทึกวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยนั้น ให้ทำลายก่อนการทิ้ง

ในส่วนของ Collection สิ่งพิมพ์พิเศษ มฉก. นั้น เนื่องจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการผลิตสิ่งพิมพ์ในวาระและโอกาสต่าง ๆ จึงเห็นสมควรที่จะมีการเก็บเป็นสิ่งพิมพ์พิเศษ เฉพาะของมหาวิทยาลัย โดยมีการกำหนดประเภทของสิ่งพิมพ์ตามเนื้อหาและกำหนดรหัสตามเนื้อหา แบ่งตามคณะ หน่วยงานที่ออกสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือที่ระลึก มีรหัสเป็น 1 งานวิจัย กำหนดรหัสเป็น 15 เป็นต้น เพื่อให้สามารถรวบรวมสิ่งพิมพ์ มฉก. ไว้ในที่เดียวกันและได้รับการจัดประเภทและหมวดหมู่ของสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วในบางส่วนเป็นตัวอย่าง

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa