SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
นี่คือ ม. หัวเฉียวฯ : ก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัย
ธ.ค. 21st, 2019 by supaporn

เมื่อมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งมีอายุครบ 80 ปี คณะกรรมการฯ ภายใต้การนำของ ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ มีมติให้พัฒนาวิทยาลัยหัวเฉียวขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย ดร. อุเทนฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า (กรรณิการ์ ตันประเสริฐ แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย พลวัฒ ประพัฒน์ทอง และสวนีย วิเศษสินธุ์, 2543 หน้า 203)

… มูลนิธิฯ ครบ 80 ปี ผมเสนอที่ประชุมว่าโอกาสนี้อยากจะเพิ่มเติมอีก 2 เรื่อง เรื่องหนึ่งคือ สร้างมหาวิทยาลัย และอีกเรื่องหนึ่ง คือ ทำสาขาของมูลนิธิฯ ตามจุดต่างๆ เป็นสี่มุมเมือง … เรื่องมหาวิทยาลัยที่จะตั้งขึ้นนั้น เราก็จะไม่ได้ทำเอาแต่ชื่อเสียง ต้องทำเป็นเรื่องที่ช่วยเหลือสังคมบ้านเมืองได้จริงๆ เราควรสร้างมหาวิทยาลัยที่ดี สมบูรณ์ แต่เราไม่หวังผลกำไร เอาเพียงแค่ให้พึ่งและพัฒนาตัวเองให้มีคุณภาพมาตรฐานดี ผมเห็นว่า ควรทำเพื่อถวายความจงรักภักดีต่อในหลวง ท่านมีพระมหากรุณาธิคุณ เป็นพระบรมโพธิสมภารแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า…

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งเริ่มต้น “โครงการมหาวิทยาลัยของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง” ในปี พ.ศ. 2533 โดยได้ดำเนินการในเรื่องสำคัญและสัมพันธ์กัน 3 ส่วน ได้แก่ การรณรงค์เงินบริจาค การขออนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัย และการก่อสร้างมหาวิทยาลัย โดยกำหนดจะเปิดมหาวิทยาลัยในกลางปี พ.ศ. 2535

ภาพอาคารต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย

อ่านก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จากประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่าอย่างละเอียด เพื่อให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการก่อตั้ง เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ การหาเงินบริจาค และเพื่อถวายความจงรักภักดี ได้ที่ 90 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า  หน้า 224 (ไฟล์) หรือหน้า 203 (เอกสาร) หรือในรูปแบบของ Flip 

รายการอ้างอิง
กรรณิการ์ ตันประเสริฐ แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย พลวัฒ ประพัฒน์ทอง และสวนีย วิเศษสินธุ์. (2543). 90 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า. สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

 

 

นี่คือ ม. หัวเฉียวฯ : จากการเรียนรู้สู่การแข่งขันไท้เก๊ก มฉก. ความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
พ.ย. 26th, 2019 by supaporn

เมื่อปีการศึกษา 2547  รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์  โฆวิไลกูล  ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในขณะนั้นได้ริเริ่มให้มีการจัดกิจกรรมรำมวยจีน (ไท้เก๊ก)  โดยร่วมมือกับสมาคมรำมวยเพื่อสุขภาพ  ซึ่งมีนายแพทย์วิลาส  ศรีประจิตติชัย  เป็นนายกสมาคมได้ส่งวิทยากรของสมาคมท่านแรก คือ อาจารย์ทวีศักดิ์  ศิลาพร  มาช่วยแนะนำและฝึกให้บุคลากร นักศึกษาที่สนใจการรำมวยจีน  กิจกรรมนี้ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง  และได้รับการสนับสนุนจากสมาคมฯ เรื่อยมา ต่อมาในปีการศึกษา 2549 เปิดสอนไท้เก๊กให้กับนักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนจีน  และในปีการศึกษา 2551 ได้เปิดสอนไท้เก๊กเป็นวิชาบังคับของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกหลักสูตร  ปัจจุบันมีนักศึกษาที่ผ่านการเรียนไท้เก๊กมากที่สุดในประเทศไทยนอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนยังมีการจัดตั้งชมรมไท้เก๊กโดยนักศึกษาเพื่อจัดกิจกรรมแนะนำการรำมวยจีนเพื่อสุขภาพ

 

ศาสตราจารย์พิเศษ ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ผู้ริเริ่มกิจกรรมไทเก๊กในมหาวิทยาลัย

Read the rest of this entry »

กฐินพระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๙
พ.ย. 19th, 2016 by namfon

การทอดกฐินเป็นประเพณีสำคัญของพุทธศาสนิกชนไทย ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนานกว่า ๒,๕๐๐ ปี โดยการถวายผ้าพระกฐินของมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีสำคัญประจำปี ช่วงเวลาที่กำหนดระหว่างวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ จะทำก่อนหรือหลังจากนี้ไม่ได้  ในปีนี้อยู่ระหว่างวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙

จากเว็บไซต์ของกรมการศาสนา ได้กล่าวถึง ประวัติการทอดกฐิน ไว้ดังนี้

กฐิน ตามอรรถกถาฎีกาต่างๆ กล่าวไว้มี ๒ ลักษณะ คือ

๑. จุลกฐิน เป็นกิจกรรมสำคัญที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันทำให้แล้วเสร็จภายในกำหนด วันหนึ่ง นับตั้งแต่การเก็บฝ้าย ปั่นฝ้าย กรอ ทอ ตัด เย็บ ย้อม ทำให้เป็นขันฑ์ ได้ ขนาดตามวินัย แล้วทอดถวายให้แล้วเสร็จในวันนั้น

๒. มหากฐิน เป็นการจัดหาผ้ามาเป็นองค์กฐิน พร้อมทั้งเครื่องไทยธรรม บริวารเครื่องกฐิน จำนวนมาก ไม่ต้องทำโดยรีบด่วน เพื่อจะได้มีส่วนหาทุนในการบำรุงวัด เช่น การบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานภายในวัด

การทอดกฐินในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน

๑. พระกฐินหลวง เป็น พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็น พุทธมามกะและเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระราชินี พระราชโอรส พระราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ รวมทั้ง พระกฐินที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์  ราชสกุล องคมนตรี หรือผู้ที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควรให้เสด็จฯ แทน พระองค์นำไปถวายยังพระอารามหลวงสำคัญ ๑๖ พระอาราม ที่สงวนไว้ไม่ให้มีการขอพระราชทาน คือ Read the rest of this entry »

นี่คือ ม. หัวเฉียวฯ : สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนแห่งแรกในประเทศไทย
ต.ค. 26th, 2016 by supaporn

 

wichien

ดร. วิเชียร เตชะไพบูลย์ กดปุ่มเปิดแพรคลุมป้าย

สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเทียนจิน สถาบันการศึกษาชั้นนำทางด้านการแพทย์แผนจีนของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจัดตั้งสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนแห่งแรกขึ้นในประเทศไทย และนับว่าเป็นสถาบันขงจื่อแห่งที่ 15 ของประเทศ

泰国华侨崇圣大学中医孔子学院,由泰国华侨崇圣大学与中国天津中医药大学合作成立,是泰国第十五家孔子学院,同时也是泰国首家中医孔子学院。

ท่านเจ้าคุณธงชัย เจิมป้าย

ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหารเจิมป้ายสถาบันขงจื่อการแพย์แผนจีน

ท่านเจ้าคุณธงชัย พรมน้ำมนต์

ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

สถาบันของจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจะทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรมภูมิปัญญาตะวันออก และศาสตร์การแพทย์แผนจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาการเรียนการสอนแพทย์แผนจีน ส่งเสริมการศึกษา และวิจัยทางการแพทย์แผนจีน อันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อผู้ประกอบวิชาชีพ และองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์แผนจีนของประชาชนชาวไทย และประชาชนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ด้านภาษาจีน และศิลปวัฒนธรรมจีน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์แผนจีน อีกทั้งยังมีบทบาทหน้าที่ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมภาษาจีนและการแพทย์แผนจีนในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดสัมมนาวิชาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์แผนจีน การจัดนิทรรศการและโครงการบริการวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านภาษาจีนและการแพทย์แผนจีนให้กับประชาชนทั่วไป

泰国华侨崇圣大学中医孔子学院是以在东南亚地区传播东方智慧和传统文化、促进中医学术交流、为泰国和东南亚地区人民普及中国传统医药的专业知识以及促进中国语言文化的学习,从而为学习中医建立基础为目标。中医孔子学院在泰国的主要任务是组织各种汉语及中医学的相关活动,如举办中医研讨会,有利于提高泰国中医界人士的学术水平,并有利于向泰国民众推广和普及汉语及中医学知识。

ป้ายหน้าห้องสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ป้ายหน้าห้องสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ผู้บริหารถ่ายภาพร่วมกันหลังเสร็จพิธีเปิด

ผู้บริหารถ่ายภาพร่วมกันหลังเสร็จพิธีเปิด

พิธีเปิดจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2559 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และพิธีเปิดผ้าแพรคลุมป้ายจัดขึ้น ณ สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน ชั้น 5 อาคารบรรณสาร โดย ดร.วิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ให้เกียรติเป็นประธาน และดร.โจว เกาหยู่ เลขานุการเอก ฝ่ายการศึกษา สถานเอคอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย กล่าวแสดงความยินดี ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร ประพรมน้ำพระพุทธมนต์และเจิมป้ายสถาบัน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้การต้อนรับ สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการแก่ผู้ที่สนใจ และประชาชนทั่วไป ตั้งอยู่ที่ อาคารบรรณสาร ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โทร 0-2312-6300 ต่อ 1420

2016年10月20日,华侨崇圣大学中医孔子学院于学校图书馆5楼正式揭牌成立,并在学校大礼堂举行了盛大的开幕典礼,特邀请华侨报德善堂董事长郑伟昌博士为典礼主席,并邀请中华人民共和国驻泰王国大使馆教育组一等秘书周高宇阁下出席典礼并致贺词,岱密金佛寺主持助理昭坤通猜大师莅临典礼并为中医孔子学院洒圣水、点粉赐福。
         华侨崇圣大学校长叶尧生携全体师生诚挚欢迎泰国各界人士前来位于学校图书馆5楼的中医孔子学院参观指导。
         联系电话:0-2312-6300 转 1420

สัญลักษณ์ของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ติดตามกิจกรรม ของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน ได้ที่

เว็บของสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนฯ http://cihcu.hcu.ac.th/

และที่ FB

FB สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีนฯ https://www.facebook.com/tcihcu/

หนังสือที่ระลึกพิธีเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ต.ค. 26th, 2016 by supaporn

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ต่อมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเป็นอย่างยิ่ง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

มหาวิทยาลัยฯ ได้จัดทำหนังสือที่ระลึกพิธีเปิดมหาวิทยาลัยถึง 6 เล่ม ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ประกอบด้วย

1. ที่ระลึก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537
2. Huachiew Chalermprakiet University Commemorative Edition on the occasion of the University’s Inauguration graciously presided over by Their Majesties the King and Queen of Thailand on March 24, 1994
3. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (ฉบับภาษาจีน)
4. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ วันทำพิธีเปิด (มีคำบรรยายเป็นภาษาไทยและภาษาจีน)
5. สูจิบัตรพิธีเฉลิมพระเกียรติและสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
6. พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จากหนังสือเหล่านี้ได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ และหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทั้งข้อมูลและภาพพระองค์ท่านที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อมหาวิทยาลัย

วันนี้ในอดีต “ ๒๔ มีนาคม : วันหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ”
มี.ค. 23rd, 2016 by matupode

03

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ถึงมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยมี ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ ถวายการต้อนรับ วันที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พัฒนามาจากวิทยาลัยหัวเฉียวโดยทบวงมหาวิทยาลัยอนุญาตให้เปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕  และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้ฯ พระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ”

มหาวิทยาลัยฯ แห่งนี้ก่อตั้งสำเร็จเพราะความปรารถนาของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และแรงดลใจของ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ ประธานมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งในสมัยนั้น ร่วมกับชาวจีนโพ้นทะเลที่ต้องการแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงครองราชสมบัติยาวนานและปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนาที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โดยร่วมกันบริจาคเงินเพื่อซื้อที่ดินบริเวณถนนบางนา-ตราด กม.๑๘ จำนวน ๑๔๐ ไร่ เพื่อสร้างมหาวิทยาลัย เพราะเล็งเห็นว่าการสร้างสถาบันการศึกษาจะช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ออกไปพัฒนาประเทศและช่วยเหลือสังคมได้ ดังปณิธาณของมหาวิทยาลัย “เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม”

CAM01049-1

เอกสารประวัติศาสตร์ บันทึกจากสำนักราชเลขาธิการ เรื่อง ทรงรับเชิญ เสด็จฯ ไปทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

และเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๗  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติด้วยพระองค์เอง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อมหาวิทยาลัย คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาที่จะต้องสำนึกจารึกจดจำไว้ตลอดกาลนาน

ร่วมย้อนรำลึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไปกับการประมวลภาพวันสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในวันที่ “๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๗” และความประทับใจของอดีตอธิการบดี แพทย์หญิงกรรณิการ์ ตันประเสริฐ ซึ่งมีโอกาสได้ร่วมรับเสด็จฯ กับบทความ “ชื่นชมพระบารมี” ไว้ว่า Read the rest of this entry »

คลังความรู้ด้านการแพทย์แผนจีน (Huachiew TCM E-Library)
ม.ค. 26th, 2016 by supaporn

คลินิกหัวเฉียวไทย-จีน แพทย์แผนไทย โดยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้จัดทำเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่กิจกรรมและองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนจีน มีการจัดหมวดหมู่ออกเป็น

  • ทฤษฎีการแพทย์แผนจีน
  • ฝังเข็มและรมยา
  • อายุรกรรม
  • กระดูกและทุยหนา
  • เกร็ดความรู้

เป็นเว็บไซต์ที่น่าสนใจ และน่าติดตามสำหรับผู้อ่านที่สนใจด้านการแพทย์แผนจีนค่ะ ลองแวะเข้าไปอ่านดูนะคะที่ http://huachiewtcm.com/learning.php

คลังข้อมูลการแพทย์แผนจีน (Huachiew TCM E-Library)

คลังข้อมูลการแพทย์แผนจีน (Huachiew TCM E-Library)

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa