SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยประถมศึกษาตอนต้น ในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย
ม.ค. 1st, 2019 by supaporn

บังอร ฉางทรัพย์ สุภาภรณ์ วรรณภิญโญชีพ ศิริวรรณ ตันตระวาณิชย์ เกษม พลายแก้ว ภาสินี สงวนสิทธิ์ และ ระพีพันธุ์ ศิริเดช (2561). ความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยประถมศึกษาตอนต้น ในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย (Prevalence of Enterobius vermicularis among preschool and lower primary school children in Bangbor district, Samutprakarn province, Thailand). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กชั้นประถมศึกษาตอนต้น ในเขตอำเภอบางบ่อ  จังหวัดสมุทรปราการ  และ 2) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความชุกของพยาธิเข็มหมุดกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  วิธีการศึกษาโดยการตรวจหาไข่พยาธิเข็มหมุดด้วยวิธีสกอตเทป ในเด็กก่อนวัยเรียนและวัยประถมศึกษา  ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 9 แห่ง และโรงเรียนประถมศึกษา 20  แห่งในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างเดือนมกราคม 2558 ถึงเดือนธันวาคม 2559  เด็กที่รับการตรวจจำนวน  2,013  คน เป็นเพศชาย จำนวน  1,013 คน เพศหญิง จำนวน 1,000  คน ผลการสำรวจพบความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็ก ร้อยละ 5.17 (104/2,013)   พบเด็กขายมีความชุกพยาธิเข็มหมุด ร้อยละ 5.23  (53/1,013) เพศหญิง ร้อยละ 5.10 (51/1,000)  เมื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความชุกของพยาธิเข็มหมุดในเด็กกับปัจจัยที่ศึกษา  ประกอบด้วย 1) ปัจจัยที่เกี่ยวกับเด็ก ได้แก่  เพศ  อาการแสดงของโรค  และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด  2)  ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้ปกครองเด็ก ได้แก่  เพศ อายุ รายได้ ความเพียงพอของค่าใช้จ่าย ระดับการศึกษา อาชีพ  พื้นเพดั้งเดิม  และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคพยาธิลำไส้  และ 3) พื้นที่ศึกษา พบว่าเกือบทุกปัจจัยไม่มีความสัมพันธ์กับความชุกของยาธิเข็มหมุดในเด็ก  (p>0.05) ยกเว้น  ปัจจัยด้านการกัดเล็บเล่นของเด็ก  ความเพียงพอค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองเด็ก และระดับการศึกษาของผู้ปกครองเด็ก ที่มีความสัมพันธ์กับความชุกพยาธิเข็มหมุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กวัยประถมศึกษายังคงมีการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดค่อนข้างสูง ดังนั้นควรมีการอบรมครูและผู้ปกครองเด็กเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดีเพื่อลดการแพร่ระบาดของพยาธิเข็มหมุดในพื้นที่ศึกษาและพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป

Read the rest of this entry »

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติ และวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติ และวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด

A Comparision of Anatomy Learning Achievement of Second Year Students Using Conventional Method and Application of Action Research Model with Mind Mapping Method

บทคัดย่อ:

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ ระหว่างนักศึกษาชั้นปีที 2 ทีเรี ยนโดยวิธีการสอนแบบปกติ และวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้ รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการเรียนโดยวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด และ 3)เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa