SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ISO22000 : มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยด้านอาหาร ที่ต้องใส่ใจ
ก.พ. 29th, 2016 by rungtiwa

ISO22000 : มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยด้านอาหาร ที่ต้องใส่ใจ

บทคัดย่อ:

ISO22000 ระบบมาตรฐานการบริหารความปลอดภัยด้านอาหาร เป็นระบบมาตรฐานสากลกลางที่จัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก 23 ประเทศ เช่น แคนาดา ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน อังกฤษ เบลเยี่ยม อินโดนีเซีย อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี และไทย รวมทั้งตัวแทนองค์กรจากอุตสาหกรรมอาหาร เช่น Codex Alimentarius Commission, FAO (Food and agriculute Organization) เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาหารมีมาตรฐานเดียวกันในการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งครอบคลุมทุกองค์กรในห่วงโซ่อาหาร (Food Chain) ตั้งแต่ผู้ผลิตชั้นต้น (Primary Producer) จนถึงผู้บริโภคชั้นสุดท้าย (Final Consumer) ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย ในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ปัจจุบันมาตรฐานนี้ได้ผ่านการรับรองแล้ว และประกาศใช้ในวันที่ 1 กันยายน 2548 ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าอาหารให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารของไทย จะต้องเร่งดำเนินการจัดทำระบบมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร ทั้งนี้ เพื่อให้สินค้าอาหารของไทยเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ ไม่ถูกกีดกัน สามารถขายได้มากขึ้น และก้าวสู่การเป็นครัวของโลกต่อไป บทความนี้นำเสนอ สาเหตุที่ต้องจัดทำระบบมาตรฐานระบบการรับรองคุณภาพอาหาร มาตรฐานต่างๆ ที่ผู้ประกอบการอาหารควรรู้จัก ระบบมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร ISO22000 และรายละเอียดข้อกำหนด ประโยชน์ของระบบ ISO22000

พรพิมล เชวงศักดิ์โสภาคย์. (2548). ISO22000 : มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยด้านอาหาร ที่ต้องใส่ใจ. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (17), 54-63.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ปัญหาด้านความปลอดภัยของคนงานรับเหมาช่วงค่าแรง
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

ปัญหาด้านความปลอดภัยของคนงานรับเหมาช่วงค่าแรง

บทคัดย่อ:

แรงงานเป็นทรัพยากรการผลิตที่สำคัญและมีคุณค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่มีทักษะฝีมือ เช่น แรงงานไทย ตลาดการค้าโลกในปัจจุบันมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ผู้ประกอบการจึงแสวงหาแหล่งผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพและราคาถูก จึงทำให้บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่มาลงทุนตั้งสถานประกอบการในประเทศไทย ผลตอบแทนที่ได้คือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สินค้าส่งออกจำนวนมาก ภายใต้การผลิต ในสถานประกอบการยังมีระบบการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม คือ การจ้างเหมาค่าแรง ซึ่งเป็นการจ้างงานที่มีสภาพการทำงานเหมือนพนักงานประจำ แต่ได้รับค่าแรงและสวัสดิการที่ไม่เท่าเทียมกับพนักงานประจำ ไม่ได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ลูกจ้างจะถูกผู้ทำธุรกิจนายหน้าค้าแรงงาน ความไม่เท่าเทียมของการจ้างงาน ปัญหาที่คนงานรับเหมาช่วงค่าแรงได้รับข้อสังเกตของการจ้างเหมาช่วงค่าแรง ตัวอย่างการจ้างเหมาช่วงค่าแรงในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมสิ่งทอ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเป็นเสียงสะท้อนไปยังผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะได้หาแนวทางการแก้ไขต่อไป

พรพิมล เชวงศักดิ์โสภาคย์. (2549). ปัญหาด้านความปลอดภัยของคนงานรับเหมาช่วงค่าแรง. วารสาร มฉก.วิชาการ 10 (19), 80-89.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

นักมวย : อาชีพเสี่ยงภัยที่ถูกมองขาม ดานความปลอดภัย
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

นักมวย : อาชีพเสี่ยงภัยที่ถูกมองขาม ดานความปลอดภัย

Boxer : The Overlooking Risky Career in Safety

 

พรพิมล เชวงศักดิ์โสภาคย. (2554). นักมวย : อาชีพเสี่ยงภัยที่ถูกมองขาม ดานความปลอดภัย.  วารสาร มฉก. วิชาการ 15 (29), 83-96.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa