SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ (Ethical behaviors of professional nurses)
มิ.ย. 10th, 2016 by sirinun

พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ

พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ

“อันพวกเราเหล่านักเรียนพยาบาล  ปณิธาน อนุกูล เพิ่มพูนผล เรียนวิชา กรุณา ช่วยปวงชน   ผู้เจ็บไข้ ได้พ้น ทรมาน แม้โรคร้าย จะแพร่พิษถึงปลิดชีพ  จะยึดหลักดวงประทีปคือสงสาร ยอมเหนื่อยยากตรากตรำใจสำราญ อุทิศงานเพื่อคนไข้ ทั้งใจกาย” จากเนื้อเพลงบางตอนของเพลง  “นักเรียนพยาบาล” ทำให้ผู้อ่านได้รู้คุณค่าของการเป็นพยาบาลเป็นอย่างยิ่ง หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงพฤติกรรมของพยาบาลวิชาชีพที่ต้องยึดหลักจริยธรรมทางการพยาบาล มีความเมตตากรุณาต่อคนป่วย ให้สิทธิมนุษยชน สิทธิผู้ป่วย ฯลฯ ในการดูแลสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยท่ามกลางสภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในขณะนี้  มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อทั้งนักศึกษาพยาบาลและพยาบาลที่ปฏิบัติงานให้บริการการพยาบาลโดยทั่วไป ควรได้ศึกษาเพื่อเป็นคู่มือในการตัดสินใจแสดงพฤติกรรมจริยธรรมที่เหมาะสมในการประกอบอาชีพ หมวดหมู่ WY85 พ434 2558

รายการอ้างอิง

อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม และสมใจ ศิระกมล. (บรรณาธิการ). (2558). พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ (Ethical behaviors of professional nurses) . เชียงใหม่ : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

 

ผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลต่อคุณภาพการบันทึก และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพของหอผู้ป่วยใน
ก.พ. 24th, 2016 by rungtiwa

ผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลต่อคุณภาพการบันทึก และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพของหอผู้ป่วยใน

The Effectiveness of Using Developed Nursing Documentation on Nursing Documentation Quality and Professional Nurses’ Satisfaction in In-patient Department

บทคัดย่อ:

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลด้านคุณภาพการบันทึกของพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยใน และ (2) ศึกษาผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลด้านความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยใน กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น 4 แบบ ประกอบด้วย (1) แบบประเมินสภาพผู้ป่วยแรกรับ (2) แบบบันทึกการวางแผนการพยาบาล (3) แบบบันทึกความก้าวหน้าของผู้ป่วย และ (4) แบบบันทึกการวางแผนและการสรุปการจำหน่าย ผู้ป่วย 2) คู่มือการบันทึกทางการพยาบาล 3) แบบตรวจสอบการบันทึกทางการพยาบาล และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อแบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ5 ท่าน แบบสอบถามความพึงพอใจผ่านการทดสอบความเที่ยงได้ค่า = 0.89 การทดลองใช้เวลาทั้งสิ้น 2 เดือนในหอผู้ป่วยใน 5 หอผู้ป่วย วัดผลคุณภาพการบันทึกและความพึงพอใจต่อแบบบันทึก 3 ด้าน ได้แก่ 1) การใช้เวลาในการบันทึก 2) ความสะดวกในการใช้แบบบันทึก และ 3) ประโยชน์ต่อการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของคุณภาพการบันทึกด้วยสถิติindependent t – test เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจด้วยสถิติpaired t – test  Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa