SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุในชุมชน
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุในชุมชน

The Effectiveness of Self-Care Behavior Promoting Program on Self-Care Behavior and Blood Pressure Level in Essential Hypertensive Patients in Community

บทคัดย่อ:

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกอย่างเจาะจงจากผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงเกินระดับ 1 ค่าความดันโลหิต 159/99 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และมารับการตรวจรักษาที่สถานีอนามัยตำบลทับตีเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีจำนวน 54 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองและแบบสอบถามพฤติกรรมดูแลตนเอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยง ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.78 การดำเนินการวิจัยเริ่มจากประเมินความดันโลหิตและพฤติกรรมการดูแลตนเอง จากนั้นดำเนินการตามโปรแกรม 4 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ขั้นสลายพฤติกรรม และขั้นสร้างมนุษย์สัมพันธ์และเกิดปฏิสัมพันธ์ครั้งที่ 2 ขั้นสร้างมนุษย์สัมพันธ์และเกิดปฏิสัมพันธ์และขั้นสร้างสรรค์ก่อเกิดความคิดริเริ่ม ครั้งที่ 3 ขั้นสร้างสรรค์ก่อเกิดความคิดริเริ่มและขั้นการระดมความคิดครั้งที่ 4 ขั้นการระดมความคิดและขั้นประเมินผล ใช้ระยะเวลา 10 สัปดาห์จึงวัดความดันโลหิตและพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที(paired t-test) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านการปฏิบัติตัวทั่วไปค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.0 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.4) ด้านการรับประทานยาและการเลือกอาหารค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.0 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.4) ด้านการออกกำลังกาย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.2 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.7) และด้านการผ่อนคลายความเครียดค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.4 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.6) และหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองพบว่า มีอาการเวียนศีรษะคิดเป็นร้อยละ 37.0 พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย การดูแลตนเองพบว่า อยู่ในระดับดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองในภาพรวมหลังเข้าโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p = 0.001) โดยพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการออกกำลังกายและด้านการผ่อนคลายความเครียดสูงกว่าก่อนเข้า โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p = 0.001) ส่วนระดับความดันโลหิตหลังเข้าร่วมโปรแกรมผู้ป่วยมีค่าระดับความดันโลหิตระดับ 1 ร้อยละ 64.9 จึงพบว่า ระดับความดันโลหิตภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p = 0.001) โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าความดันซีสโตลิค

ผลการวิจัยเสนอแนะให้พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและบุคลากรสาธารณสุขประยุกต์โปรแกรมส่งการการดูแลตนเองแก่ผู้ที่มีระดับความดันโลหิตสูงเกิน 1 ในชุมชนอื่น ๆ
The objective of this quasi – experimental research was to investigate the effectiveness of Self-care Behavior Promoting Program on self-care behavior and blood pressure level in essential hypertensive clients. The 54 purposive samplings were selected, have has level 1 higher blood pressure (>159/99 mmHg) and have been receiving hypertensive drugs at Tabteelek district health service center, amphur mueng, Supanburi province. The research instruments were Self-care Behavior Promoting Program and questionnaires related to self-care behaviors. The content validity and reliability of the questionnaire were tested, the alpha-coefficient was 0.78. The research processes were composed of blood pressure assessment, self-care behavior assessment, and self-care behavior promoting program implementation, respectively. The Self-care Behavior Promoting Program consisted of 4 stages of 10 trial weeks : 1) ice breaking and humanization with interaction, 2) humanization with interaction and creation, 3) creation and brain stroming, and 4) brain stroming and evaluation. Data were analyzed by percentage, average, standard deviation, and paired t-test.

Results of this research were found that self-care behaviors before implementing Self – Care Behavior Program, mean of their basic self-care behaviors was 3.0 (SD = 0.4), mean of drug administration and diet management was 3.0 (SD = 0.4) mean of their exercise behavior was 3.2 (SD = 0.7), and the mean of stress management was 3.4, (SD = 0.6) respectively. After the program, 37.0 percent had dizziness. All of patients’ self-care behaviors were better than before implementing program (p = 0.001). mean of exercise behavior and stress management was significantly different (p = 0.001). Also the level of blood pressure after implementing the program, 64.9 percent of patients had high blood pressure at level 1. There are, blood pressure level was lower after implementing the program, especially systolic score was significantly decreased (p = 0.001).

The suggestions from this research is that the community nurse practitioner and health care personnel should apply this program for level 1 the high blood pressure in other communities.

พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์ จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และ วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2553). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุในชุมชน. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 21-36.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa