SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหวางผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ…สูการมีสวนรวมด้านการดูแลสุขภาพ
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหวางผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ…สูการมีสวนรวมด้านการดูแลสุขภาพ

Authority Relationship between Health Care Provider and Client to Participation in Self-Care for Health

บทคัดย่อ:

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้ใช้บริการทางด้านสุขภาพในแนวคิดเชิงอุดมคติควรมีความเสมอภาคซึ่งกันและกัน หรือมีความเป็นหุ้นส่วน ตั้งแต่วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา วางแผน และปฏิบัติตามแผนจนถึงการประเมินผลร่วมกัน แต่กระบวนการหรือกิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน แม้กระทั่งในปัจจุบัน ฐานะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการยังคงมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ไม่เป็นไปตามแนวคิดเชิงอุดมคติที่ควรจะเป็น สิ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้ใช้บริการเป็นเช่นนั้น เมื่อพิจารณาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของการดูแลสุขภาพ ประกอบด้วย วิวัฒนาการนโยบายการบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าเชิงมิติสังคม ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้ให้และผู้ใช้บริการด้านสุขภาพ และวาทกรรมกับการสร้างความเป็นผู้ให้และผู้ใช้บริการด้านสุขภาพ ซึ่งพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้ใช้บริการเป็นไปในลักษณะของการใช้อำนาจของผู้ที่มีฐานะทางสังคมดีกว่า จึงทำให้เป็นผู้ที่มีการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจในการดำเนินการทางด้านสุขภาพโดยใช้ความคิดของตนเป็นหลักแต่เพียงผู้เดียวมากกว่าการฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากผู้ใช้บริการ Read the rest of this entry »

วัยรุ่นชายกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านเพศภาวะ
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

วัยรุ่นชายกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านเพศภาวะ

Male Adolescence with Health Promoting Behavior for Gender

บทคัดย่อ

วัยรุ่นชาย เป็นวัยที่ควรได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ จิตสังคม และจิตปัญญา เพื่อให้มีความพร้อมในการแสดงบทบาททางเพศของตนตามที่สังคมคาดหวัง โดยเฉพาะสังคมไทย ผู้ชาย ควรต้องมีความเป็นผู้นำ เสียสละ และช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับบุคคลที่อ่อนแอกว่าในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้หญิงซึ่งสังคมไทยจัดว่าเป็นเพศที่อ่อนแอ ผู้ชายควรช่วยกันปกป้องและต้องให้ เกียรติไม่ประพฤติปฏิบัติพฤติกรรมต่อเพศหญิงอย่างไม่เหมาะสม เช่น ไม่เห็นแก่ตัว มีน้ำใจช่วยเหลือ ตามโอกาสที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้จัดว่าเป็นความงดงามของสังคมไทยที่ผู้ชายได้แสดงบทบาททางสังคม เหมาะสม หรือที่เรียกว่า การแสดงบทบาทด้านเพศภาวะของตนได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของสังคม ไทย แต่ในสภาพการณ์ปัจจุบันนี้ พบว่า พฤติกรรมการเอื้อเฝือ เผื่อแผ่ ความเอื้ออาทร การให้เกียรติ และยกย่องเพศหญิงเป็นพฤติกรรมที่นับวันจะเริ่มลดน้อยลง นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง เช่น การทารุณกรรม การทำแท้ง การใช้ชีวิตคู่ที่ไม่ราบรื่น สาเหตุหนึ่งมาจาก การพัฒนาบทบาททางเพศหรือเพศภาวะของผู้ชายไม่ได้รับการปลูกฝังและพัฒนาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ เป็นปัจจัยผลักดันทางอ้อมของปัญหาเหล่านั้น ปรากฏการณ์เหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงการขาดการส่งเสริม พฤติกรรมสุขภาพด้านเพศภาวะที่เหมาะสมสำหรับวัยรุ่นชาย Read the rest of this entry »

ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลตอพฤติกรรมการสรางเสริมสุขภาพ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลตอพฤติกรรมการสรางเสริมสุขภาพ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Selected Factors Affecting Health Promoting Behaviors of Undergraduate Students in Huacheiw Chalermprakiet University

ทวีศักดิ์ กสิผล ภัทรา เล็กวิจิตรธาดา และอัจฉรา จินายน. (2555). ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลตอพฤติกรรมการสรางเสริมสุขภาพ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก. วิชาการ 15 (30), 31-46.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

รูปแบบการสรางความตระหนักรู้สมรรถนะแหงตนเพื่อการสรางเสริมสุขภาพของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ก.พ. 20th, 2016 by rungtiwa

รูปแบบการสรางความตระหนักรู้สมรรถนะแหงตนเพื่อการสรางเสริมสุขภาพของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

The Self-efficacy Model for Health Promoting Behavior of Student in Private University

วนิดา ดุรงคฤทธิชัย หทัยชนก บัวเจริญ ชนิกา เจริญจิตตกุล ทวีศักดิ์ กสิผล ภัทรียา พันธุทอง และ กมลทิพย ขลังธรรมเนียม. (2556). รูปแบบการสรางความตระหนักรู้สมรรถนะแหงตนเพื่อการสรางเสริมสุขภาพของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสาร มฉก.วิชาการ 16 (32), 32 -39.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ผลของโปรแกรมการปฏิสัมพันธอยางมีเปาหมายตอพฤติกรรม การควบคุมโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน
ก.พ. 20th, 2016 by rungtiwa

ผลของโปรแกรมการปฏิสัมพันธอยางมีเปาหมายตอพฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน

Effects of a Transactional Program on the Control of Hypertension in the Community

รัตนชรีญาภรณ คำราพิศ หทัยชนก บัวเจริญ และทวีศักดิ์ กสิผล. (2556). ผลของโปรแกรมการปฏิสัมพันธอยางมีเปาหมายตอพฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน. วารสาร มฉก.วิชาการ 16 (32), 1-18.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหารในผู้ที่มีดัชนีมวลกายเกิน
ก.พ. 18th, 2016 by rungtiwa

การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้ที่มีดัชนีมวลกายเกิน

The Development of a Clinical Nursing Practice Guideline for Behavioral Modification in Food Consumption among Patients Having overweight BMI Range.

จันทรา น้ำดอกมะลิ  ทวีศักดิ์ กสิผล และจริยาวัตร คมพยัคฆ์. (2557). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้ที่มีดัชนีมวลกายเกิน. วารสาร มฉก.วิชาการ 17 (34), 77-92.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa