SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การศึกษาพัฒนาการด้านโลจิสติกส์และการขนส่งทางน้ำ กรณีศึกษา : บริษัทชาวจีนโพ้นทะเลในไทย
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาพัฒนาการด้านโลจิสติกส์และการขนส่งทางน้ำ กรณีศึกษา : บริษัทชาวจีนโพ้นทะเลในไทย

A Study of  Waterway Transportation and Logistics Development Case Study : Overseas Chinese Corporation in Thailand

บทคัดย่อ

รายงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาพัฒนาการด้านโลจิสติกส์และการขนส่งทางน้ำ กรณีศึกษา บริษัท ชาวจีนโพ้นทะเลในไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติพัฒนาการและปัญหาอุปสรรคของการดำเนิน ธุรกิจด้านโลจิสติกส์และการขนส่งทางน้ำของบริษัทชาวจีนโพ้นทะเลในไทย ขอบเขตของการวิจัย เป็นการศึกษาประวัติและพัฒนาการ ระบบ การบริหารงาน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ และการขนส่งทางน้ำของบริษัทที่คณะผู้วิจัยศึกษาระหว่างปีพ.ศ. 2472-2552 และเป็นการศึกษาการ พัฒนาการของบริษัทที่คณะผู้วิจัยศึกษาเท่านั้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีเชิงพรรณนา อธิบายคุณลักษณะของข้อมูลที่ศึกษา ได้แก่ ข้อมูลที่ได้จากเอกสารทางประวัติศาสตร์รายงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ การเดินทางไปเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากสถานที่จริง การสำรวจและศึกษาเอกสารประวัติการดำเนินงานของบริษัท เพื่อนำมาวิเคราะห์และประมวลข้อมูล ตามกรอบวิจัยที่กำหนด ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร คณะกรรมการ และที่ปรึกษาบริษัท ลูกหลานของผู้ก่อตั้ง หรือมีความสัมพันธ์กับการจัดตั้งหรือการดำเนินงานของบริษัทตั้งแต่อดีต รวมทั้ง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในปัจจุบัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ Read the rest of this entry »

โครงการพัฒนาคุณภาพอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑเกษตรแปรรูป OTOP จังหวัดนครนายก
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

โครงการพัฒนาคุณภาพอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑเกษตรแปรรูป OTOP จังหวัดนครนายก

Quality Development in Food Industry and Agricultural Processed Products (OTOP) at Nakhon Nayok Province

บทคัดย่อ:

โครงการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ในอันที่จะเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพรวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ OTOP หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ จากการพัฒนาสินค้าที่ต่อเนื่องครบวงจร โดยมีระเบียบวิธีการวิจัย ดังนี้ ประชากร คือ กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP เป้าหมายจำนวน 15 กลุ่ม ตามการคัดสรรของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครนายก ขั้นตอนการวิจัย ได้แก่ การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพผลิตภัณฑ์ การนำผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการเข้ารับการตรวจสอบคุณภาพ การสำรวจแหล่งผลิตสินค้าของชุมชนเปรียบเทียบกับเกณฑ์ GMP และการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป OTOP จังหวัดนครนายก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินผลการฝึกอบรม แบบสำรวจ แบบตรวจสอบรายการ และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ในด้านระดับความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการ OTOP ก่อนและหลังการฝึกอบรม ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ระดับความรู้ที่ได้รับก่อนการฝึกอบรมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย (x–) เท่ากับ 1.71 แต่เมื่อได้รับการฝึกอบรมแล้วมีความรู้เพิ่มขึ้นในระดับมากมีค่าเฉลี่ย (x–) เท่ากับ 2.68 แสดงให้เห็นว่าการฝึกอบรมเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เมื่อสรุปภาพรวมระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีค่าเฉลี่ย (x–) เท่ากับ 4.21 จากผลการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากห้องปฏิบัติการปรากฏว่าผลิตภัณฑ์ทั้งหมดผ่านการตรวจสอบสอบ ในด้านศักยภาพของผลิตภัณฑ์ OTOP จากผลการสัมภาษณ์พบว่าจุดแข็งที่สำคัญ ได้แก่ ประการแรก การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการผลิตสินค้าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้น ประการที่สอง จังหวัดนครนายกเป็นแหล่งพืชผลทางการเกษตรที่มีความอุดมสมบูรณ์ทำให้มีวัตถุดิบที่มีคุณภาพสำหรับการแปรรูปหรือถนอมอาหาร ประการที่สาม ชุมชนแต่ละกลุ่มได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากหน่วยงานของทางราชการทั้งในด้านการพัฒนาคุณภาพของผลิต การจัดการธุรกิจ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การสร้างช่องทางการตลาด สำหรับจุดอ่อนก็คือ ประการแรก ขาดการเสริมสร้างแนวความคิดในเชิงธุรกิจให้กับชุมชนหรือผู้นำชุมชน หลายชุมชนที่ยังมีจุดอ่อนไม่สามารถพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของตลาดประการที่สอง ชุมชนยังขาดการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีหรือการใช้ความรู้ทางเทคนิคที่ทันสมัยมาใช้เพื่อช่วยในการผลิต รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมใหม่ของผลิตภัณฑ์ยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัด

The objective of this research is to study the preparations of OTOP product quality development by the entrepreneur in order to expand the network of entrepreneurs in cooperation with both public and private sectors. Research methodology was as follows : The subjects are selected among 15 groups of entrepreneurs from Nakhon Nayok Community Development Office. There are 4 steps in this research; quality assessment, product testing, comparing surveys, and interviewing the stakeholders. The research instruments consist of evaluation forms, conducting a survey, a checklist and an interview. The results of this research revealed that the entrepreneurs had a significantly lower understanding before the training with an average and standard deviation. For example, before the training the results show that they only have moderate understanding for (x– = 1.71) but after the training the results show that they have better understanding for (x– = 2.68). The finding of this research indicates that the training program can be used as an instrument to improve entrepreneurs knowledge, understanding and the mportance of quality development. The overall satisfaction of the activities is x– = 4.21 and the results of quality products laboratory testing is satisfactory. Moreover, the results of the interviews with the stakeholders give a lot of information about the OTOP products and its advantage. First of all, all value-added products produce from the wisdom of Nakhon Nayok community. Second, Nakhon Nayok has location for goods materials and natural products. Third, each community is supported by the local government in conducting quality development trainings, administration, product design, and expanding market distribution channels. There’s weakness on the other hand. In the community, there’s a shortage of leaders and lack of creative thinking business strategy such as a lack of technology development and technical know-how to increase productivity. Another weakness is that there is a restriction on new product innovation.

สุพิศพรรณ วัจนเทพินทร และชุติระ ระบอบ. (2555). โครงการพัฒนาคุณภาพอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑเกษตรแปรรูป OTOP จังหวัดนครนายก. วารสาร มฉก. วิชาการ 15 (30),  89-105.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa