ในวันศุกร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙ ที่จะถึงนี้ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) จะจัดพิธีรำลึกและบำเพ็ญกุศลแก่หลวงปู่ไต้ฮงกง พระภิกษุสงฆ์ที่มีจริยวัตรแห่งเมตตาธรรมช่วยเหลือทั้งผู้มีชีวิตที่ยากไร้และผู้ตายที่ไร้ญาติ คุณธรรมความดีของท่านควรค่าแก่การถือปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่พวกเราชาว มฉก.
ขอเชิญร่วมรำลึกถึงหลวงปู่ไต้ฮงกง และศึกษาชีวประวัติของท่านเพิ่มเติมได้ที่ หลวงปู่ของเรา
รายการอ้างอิง
กรรณิการ์ ตันประเสริฐ. (๒๕๔๓). ๙๐ปีมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
BRIC : พลังขับเคลื่อนการสงออกของประเทศไทย
BRIC : The Engine of Thailand Exports
ธิดารัตน โชคสุชาติ. (2555). BRIC : พลังขับเคลื่อนการสงออกของประเทศไทย. วารสาร มฉก.วิชาการ 16 (31). 117 -130.
อ่านบทความฉบับเต็ม
เที่ยวล่าสุดฮ่องกง มาเก๊า เซินเจิ้น
เมืองท่องเที่ยวที่ชาวไทยรู้จักกันอย่างดี ฮ่องกง มาเก๊า และเซินเจิ้น ด้วยความเป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันออกไป เป็นเหตุผลที่ชวนให้นักท่องเที่ยวต้องสนใจเป็นพิเศษ มือใหม่อาจจะเริ่มต้นทริปด้วยการไปสัมผัสความงดงามของ เมืองมรดกโลกที่มาเก๊า แวะเที่ยวคาสิโนก่อนกลับไปถ่ายภาพสวยๆ ที่เซินเจิ้น ของเมืองจำลอง จากนั้นจึงข้ามแดนมาช้อปปิ้งแบบมาราธอนที่ฮ่องกง ผู้อ่านจะได้รับสาระความรู้สถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลาย รวมทั้งความบันเทิงจากภาพประกอบสีที่น่าสนใจภายในเล่ม หมวดหมู่ DS796.H74 ท772 2558
เที่ยวล่าสุดฮ่องกง มาเก๊า เซินเจิ้น. (2558). กรุงเทพฯ : ทิงค์เน็ต.
การที่จีนเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก และมีแนวโน้มของประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ผู้วิจัย โดย ธีระ สินเดชารักษ์ และคณะ จึงศึกษา การดำเนินงานและกิจกรรมทางสังคมที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุจีนมีบทบาทในเชิงบวกในลักษณะใดบ้าง และมีปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมใดที่ช่วยผลักดันให้เกิดกิจกรรมทางสังคมดังกล่าวได้ เพื่อจะได้เห็นถึงจุดอ่อนจุดแข็งของการจัดกิจกรรมทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาปรับใช้ในสถานการณ์สังคมสูงอายุของประเทศไทย น่าจะสนใจทีเดียว เพราะสังคมผู้สูงอายุ เพิ่มมากขึ้นในทุกประเทศ
ผู้สูงอายุในสังคมจีน: การจัดสวัสดิการต้นแบบการดูแลและกิจกรรมทางสังคม
งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นงานวิจัยชิ้นที่ 2 ต่อจากงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาอุตสาหกรรมของจีนและการปรับตัวของชนบท: บทเรียนสำหรับประเทศไทย” เป็นส่วนหนึ่งในชุดโครงการวิจัย “จีนศึกษา” ที่มีวัตถุประสงค์สำคัญในการเรียนรู้จากประเทศจีนในมิติต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศไทยโดยอาศัยการถอดบทเรียนที่สำคัญจากประเทศจีน (คำนำ)
รายการอ้างอิง ธีระ สินเดชารักษ์ และคณะ. (2558). ผู้สูงอายุในสังคมจีน: การจัดสวัสดิการต้นแบบการดูแลและกิจกรรมทางสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
The Genius of CHINA
หนังสือเล่มนี้มีการอธิบายภาพและคำบรรยายยอดเยี่ยม ให้ความรู้ประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ของประเทศจีนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีภาพประกอบสีสวยงาม หมวดหมู่ DS721 ท729ต 2554
เทมเพิล, โรเบิร์ต. (2554). ต้นกำเนิด 100 สิ่งแรกของโลก [The genius of China]. กรุงเทพฯ : มติชน.
ความรักผูกพันกับจีน : การระลึก 30 ปี
ประเทศไทยและประเทศจีนมีความสัมพันธไมตรีอันดีต่อกันนับเนื่องมาได้หลายร้อยปี ในวาระครบรอบ 30 ปีที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศจีน ทุกครั้งที่พระองค์ท่านเสด็จเยือนจีน สำนักข่าวซินหัว ซึ่งเป็นสำนักข่าวแห่งชาติจีนและสื่อมวลชนระดับโลก จะส่งนักข่าวคอยติตามและถวายรายงาน ภาพถ่ายในหนังสือเล่มนี้จึงถูกคัดเลือกจากภาพถ่ายทั้งหมด ๓๐๐ กว่าภาพ ที่ถ่ายโดยช่างภาพสำนักข่าวซินหัวที่ติดตามพระองค์ท่าน ซึ่งถือเป็นความทรงจำที่มีคุณค่าอย่างมากในความสัมพันธ์ไมตรีไทย-จีน มีภาพประกอบในเล่มสวยงาม สนใจหาอ่านได้ที่ห้องสมุด https://lib-km.hcu.ac.th/ หมวดหมู่ DS721 ค181 2554
ความรักผูกพันกับจีน : การระลึก 30 ปี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนจีน. (2554). กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
เปิดตำนานเทศกาลจีน
สนุกกับสาระเรื่องเทศกาลต่างๆ เช่น เทศกาลตรุษจีน เทศกาลวันวาเลนไทน์ของจีน เทศกาลไหว้พระจันทร์ ฯลฯ เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันสืบต่อกันมาให้ความสำคัญกับประวัติของชนชาวจีนที่มีมาหลายพันปี จวบจนมาถึงปัจจุบัน จนเป็นธรรมเนียมและความเป็นมาของชาติที่เป็นเจ้าของเทศกาล และวิวัฒนาการที่มีมาแต่ในอดีต และความเชื่อต่างๆ ที่มีผลต่อการกำเนิดเทศกาล ให้ผู้อ่านได้เปิดโลกทัศน์ พร้อมมีภาพประกอบที่สวยงาม สามารถหาอ่านได้ที่ห้องสมุด https://lib-km.hcu.ac.th/ หมวดหมู่ DS721 จ889ป 2555
โจวเซี่ยวเทียน. (2555). เปิดตำนานเทศกาลจีน [Chinese festivals]. กรุงเทพฯ : มติชน.
ซื่อคู่ฉวนซู
หนังสือ “ซื่อคู่ฉวนซู” เป็นหนังสือสำคัญยิ่งของจีนชุดหนึ่ง ซึ่งขณะนี้มีอยู่ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นหนังสือที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกล่าวถึงหนังสือ “ซื่อคู่ฉวนซู” ไว้ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง “ไอรัก คืออะไร” [1] หน้า 14 ในหัวข้อ “ดูพิพิธภัณฑ์ของห้องสมุด” ดังนี้
หนังสือ ซื่อคู่ฉวนซู เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้สี่ประเภทของจีน ได้แก่
และหน้า 18 ในหัวข้อ “ดูหนังสือโบราณ”
หนังสือนี้รวมทั้งหมดเป็นพันๆ เล่ม จักรพรรดิ์เฉียนหลงมีพระราชโองการให้รวบรวมเขียนด้วยลายมือทั้งหมด (ทั้งๆ ที่ในเวลานั้นมีการพิมพ์แล้ว) สร้างไว้ 7 ชุด ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 3 ชุด เก็บรักษาไว้ที่ปักกิ่ง ไต้หวัน และหลานโจว ตอนกบฏไท้เผ็ง ถูกทำลายไป 3 ชุด เมื่อตอนที่กองทัพผสม 8 ชาติเข้าเผาวังหยวนหมิงหยวน ถูกทำลายไปอีกชุดหนึ่ง เขาบอกว่าธรรมดาไม่ให้คนอื่นดูคัมภีร์นี้ตัวจริง ผู้ที่ต้องการศึกษาต้องอ่านจากไมโครฟิล์ม คนที่จับหนังสือต้องใส่ถุงมือ Read the rest of this entry »