SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย
เม.ย. 16th, 2017 by supaporn

จากการบรรยายของ ศาสตราจารย์ ดร. อังศุมาลย์ จันทราปัตย์ หัวหน้าคณะผู้จัดทำจรรยาวิชาชีพและแนวทางปฏิบัติให้กับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในการประชุมเชิงวิชาการเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2560 ณ ห้องบรรยาย 3 อาคารอำนวยการ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ขอสรุปส่วนหนึ่งของการบรรยาย ที่เกี่ยวกับการจัดทำผลงาน การเผยแพร่ผลงานวิจัย ขอนำมาสรุปเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อให้อยู่ในกรอบของการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของนักวิจัย จากเอกสารประกอบการประชุมเชิงวิชาการ ของสำนักพัฒนาวิชาการ ดังนี้

การเผยแพร่ผลงานวิจัย

  • หากไม่จำเป็นไม่ควรเสนอผลงานที่ยังไม่สมบูรณ์ (Premature) หรือยังไม่ได้รับการประเมินออกสู่สังคม
  • ต้องให้เกียรติและอ้างถึงนักวิชาการ/แหล่งข้อมูลที่นำมาใช้
  • ระบุและลำดับชื่อผู้นิพนธ์อย่างถูกต้องเป็นธรรม
  • ขอบคุณบุคคล คณะบุคคล และองค์กรที่สนับสนุนงานวิจัยในกิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement)
  • นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรม
  • แสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจากการนำเสนอผลงานวิจัยสู่สาธารณะ
  • ไม่ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเรื่องเดียวกันซ้ำซ้อนหรือมากกว่า 1 แห่ง (Dual or duplicate publication)
  • ตีพิมพ์ผลงานมากกว่าหนึ่งภาษาได้ หากวารสารที่จะตีพิมพ์มีนโยบายรองรับ แต่ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบล่วงหน้าด้วย
  • ส่งเรื่องเต็มของบทคัดย่อ (Abstract) ที่ตีพิมพ์ใน Proceedings ไปให้วารสารวิชาการพิจารณาได้ แต่ควรให้บรรณาธิการวารสารนั้นทราบและยินยอมก่อน
  • ไม่แบ่งย่อยผลงานวิจัยเป็นหลายเรื่องเกินความเหมาะสม เพื่อเพิ่มจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ (Salami publication or Balogna) เพราะอาจลดคุณค่าของงานได้ (แต่อาจจกระทำได้ หากบทความเหล่านั้น มีเนื้อหาเหมือนกันไม่เกินร้อยละสิบ และต้องไม่ใช้ตารางหรือภาพประกอบเดียวกัน และให้บรรณาธิการวารสารที่ส่งเรื่องไปตีพิมพ์ทราบและยินยอมด้วย)
  • การให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยแก่ผู้สนใจและร้องขอ ควรเป็นไปตามเงื่อนไขหรือได้รับความเห็นชอบตากต้นสังกัดว่าด้วยจริยธรรมที่ครอบคลุมข้อมูล วัสดุและทรัพย์สินทางปัญญาด้วย

Read the rest of this entry »

Qualitative Research on Urban Poverty in Thailand : A cross cultural reflection
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

Qualitative Research on Urban Poverty in Thailand : A cross cultural reflection

บทคัดย่อ:

This article discusses both the findings of a piece of research on urban poverty in Thailand and the reflects on the process of qualitative research in that country. This reflection is from the perspective of a Thai researcher writing in the environment of a western university. The findings focus on the ways in which Thai government has attempted to deal with urban poverty as it has been manifested in urban slums since the lift off of economic development. In the absence of a social security safety net, a consensus has appeared to emerge that self reliance is a culturally appropriate aim for the poor. This concept is analysed from the data and found to exclude many of the poorest who are unable to benefit from the available provision. The question of what can be ethical research among the poorest is examined, and the need to directly do good rather than avoid harm is prioritised for this research.
บทความนี้เป็นการอภิปรายเกี่ยวกับข้อค้นพบบางประเด็นจากการศึกษาวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในเมืองและกระบวนการทำวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการสะท้อนมุมมองของนักวิจัยที่ทำงานท่ามกลางบรรยากาศและสภาพแวดของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยของประเทศตะวันตก ความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขความยากจนในเมืองปรากฏชัดขึ้นไปพร้อมกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ระบบความมั่นคงทางสังคมยังขาดประสิทธิภาพ แนวคิดการพึ่งตนเองจึงเป็นแนวคิดทางวัฒนธรรมที่เหมาะสมสอดคลองกับกลุ่มคนจนเมืองง อยางไรก็ตามกลุ่มคนจนเมืองโดยเฉพาะคนที่จนที่สุดก็ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการสังคมอย่างทั่วถึง ประเด็นที่ควรคำนึงในการทำงานวิจัยเชิงคุณภาพคือจริยธรรมในการทำวิจัยโดยเฉพาะกับกลุ่มมคนยากจน

 

Puchong Senanuch. (2551). Qualitative Research on Urban Poverty in Thailand : A cross cultural reflection. วารสาร มฉก.วิชาการ 11 (22), 44-53.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa