SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
สื่อดิจิทัล/สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ
ธ.ค. 25th, 2020 by sirinun

จากการไปศึกษาดูงานที่ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ Unmanned Library ภายใต้ชื่อ “Chula Ultimate X Library” โดย สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 ทำให้รู้สึกและมีความเห็นว่า ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก็มีสื่อทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่พัฒนาเองและที่ซื้อมาให้บริการ อยู่พอสมควร น่าจะได้มีการรวบรวมและแนะนำ ให้เป็นที่รู้จัก และจะได้มีการเข้าถึงในวงกว้างมากขึ้น

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่จะขอแนะนำ ขอแบ่งเป็น

1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศพัฒนาเอง

2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศจัดซื้อมาให้บริการ

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศพัฒนาเอง หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทรือฐานข้อมูลที่เก็บสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อดิจิทัล ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือมหาวิทยาลัยพัฒนาเอง โดยครอบคลุมถึงการดิจิไทซ์เอกสาร พัฒนาระบบเพื่อให้สืบค้น และเข้าถึงได้ นำเผยแพร่ขึ้นเว็บไซต์ ได้แก่

1. ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย เป็นฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ดิจิไทซ์และให้บริการตั้งแต่ฉบับปี 2464 จนถึง ปี 2530 และยังดิจิไทซ์อย่างต่อเนื่อง สามารถอ่านรายละเอียดของประวัติความเป็นมาได้จากบทความ ความร่วมมือระหว่างศูนย์บรรณสารสนเทศกับหอสมุดแห่งชาติ ที่  https://lib-km.hcu.ac.th/library-cooperation-national-library-thailand-hcu  เป็นฐานข้อมูลระบบปิด นักวิจัยหรือผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าสามารถติดต่อมาที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อขออนุญาตการเข้าใช้

2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มูลนิธิป่อเต็กตึํง โรงพยาบาลหัวเฉียว สามารถเข้าอ่านได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/index.php/e-book-hcu

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของ มฉก. / มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง

Read the rest of this entry »

Knowledge Sharing “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.”
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันที่ 25 เมษายน 2559 เวลา 9.00-12.00 น. แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม Knowledge sharing หัวข้อ “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.” โดยผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำหน้าที่เป็น Facilitator ในการจัดการความรู้เกี่ยวกับการรับไฟล์วิทยานิพนธ์ งานวิจัยของ มฉก. จากเดิม ซึ่งอาจจะมีกระบวนการที่ไม่เป็นระบบ นำมาหารือและจัด work flow ของการไหลของงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม โดย

1. ประสานงานกับบัณฑิตวิทยาลัย และสำนักพัฒนาวิชาการในการส่งไฟล์วิทยานิพนธ์และงานวิจัยอย่างสม่ำเสมอ หรือกำหนดเป็นระยะเวลาที่แน่นอน

2. ตัวเล่มของวิทยานิพนธ์ งานวิจัย ส่งมายังแผนกจัดหาและวิเคราะห์ ผ่านหัวหน้าแผนกฯ เพื่อส่งต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายในการลงรายการบรรณานุกรมในระบบห้องสมุดและลงรายการเมทาดาทาของ THAILIS

3. ส่งไฟล์ไปยังแผนกทรัพยากรการเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของไฟล์ การลงเมทาดาทาในไฟล์ การใส่ watermark รวมทั้งการทำเป็น PDF/A

4. ส่งไฟล์เข้าระบบ THAILIS

ส่วนแผ่นซีดีที่บันทึกวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยนั้น ให้ทำลายก่อนการทิ้ง

ในส่วนของ Collection สิ่งพิมพ์พิเศษ มฉก. นั้น เนื่องจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการผลิตสิ่งพิมพ์ในวาระและโอกาสต่าง ๆ จึงเห็นสมควรที่จะมีการเก็บเป็นสิ่งพิมพ์พิเศษ เฉพาะของมหาวิทยาลัย โดยมีการกำหนดประเภทของสิ่งพิมพ์ตามเนื้อหาและกำหนดรหัสตามเนื้อหา แบ่งตามคณะ หน่วยงานที่ออกสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือที่ระลึก มีรหัสเป็น 1 งานวิจัย กำหนดรหัสเป็น 15 เป็นต้น เพื่อให้สามารถรวบรวมสิ่งพิมพ์ มฉก. ไว้ในที่เดียวกันและได้รับการจัดประเภทและหมวดหมู่ของสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วในบางส่วนเป็นตัวอย่าง

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa