SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
จะเลือกวารสารตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยอย่างไร
ก.ย. 17th, 2016 by supaporn

นักวิจัยหลายๆ ท่านอาจจะเคยได้รับจดหมายเชิญขวนให้ส่งบทความไปตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ เราจะมีหลักการพิจารณาได้อย่างไร ว่าวารสารเหล่านั้นไม่ใช่วารสารประเภท predatory journal

1. ตรวจสอบวารสารที่จะตีพิมพ์ผลงานวิจัย อยู่ใน Master Journal List ของบริษัท Thomson Reuters หรือไม่ ได้ที่ http://ip-science.thomsonreuters.com/mjl/ โดยสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเฉพาะวารสารที่มีอยู่ใน Science Citations Index และ Science Citations Index Expanded เท่านั้นที่จะมีค่า impact factor และวารสารในสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ จะต้องอยู่ใน Social Science Citation Index และ Arts and Humanities Citation Index เท่านั้น โดยสามารถดาวน์โหลดรายชื่อวารสารทั้งหมดในฐาน Science Citations Index, Science Citations Index Expanded และ Arts and Humanities Citation Index ได้จากเมนูขวามือ

การตรวจสอบรายชื่อวารสาร

การตรวจสอบรายชื่อวารสาร

2. ตรวจสอบค่าดัชนีอ้างอิงวารสาร impact factor จากฐานข้อมูล Journal Citation Reports หรือ InCites Journal Citation Reports

รายการอ้างอิง

วสุ ปฐมอารีย์. (2559). การคัดเลือกวารสารสำหรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย. Re-Form. vol.4 (ก.ค.-ส.ค.)

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพวารสารสู่ประชาคมอาเซียน
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2559 เวลา 9.00-16.00 น. บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพวารสารสู่ประชาคมอาเซียน ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ อาคาร 2 ชั้น 8 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เพื่อจะได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของการจัดทำคุณภาพวารสารวิชาการของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thailand Citation Index – TCI) เพื่อจะได้มีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพวารสารของไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการหรือผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดทำวารสาร เพื่อพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยต่อไป

ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thailand Citation Index – TCI) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐาน TCI ขึ้น 3 รอบ ในปี พ.ศ. 2555, 2556 และ 2558 ดังนั้น วารสารวิชาการที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ประเมินของ TCI นั้น ประกอบด้วย Read the rest of this entry »

Beall’s List of Predatory Publishers
ม.ค. 14th, 2016 by supaporn

Jeffrey Beall ซึ่งเป็นบรรณารักษ์ แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มศึกษาวิจัยเรื่อง Predatory publishers ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 เพื่อเปิดเผยรายชื่อ สำนักพิมพ์ที่น่าสงสัย ที่มีแนวโน้มว่าไม่ได้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และอาจจะเป็นการหลอกลวงเพื่อหารายได้ แต่ละปีจะมีจำนวนสำนักพิมพ์และวารสารที่อยู่ในข่ายนี้ เพิ่มมากขึ้น เพราะการเผยแพร่ผลงานวิจัยเป็นขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งในการทำวิจัย การเผยแพร่ผลงานวิจัยจึงมักจะอยู่ในวารสารวิชาการ บทคัดย่อ หรือ proceedings ของการประชุมวิชาการ  ด้วยปัจจัยนี้เอง ทำให้สำนักพิมพ์หลายๆ แห่ง เห็นช่องทางทำธุรกิจใหม่ภายใต้ Open Access Model ซึ่งมีทั้งถูกต้องเหมาะสมและ เพื่อธุรกิจโดยเฉพาะ นักวิจัยรุ่นใหม่ไม่ควรเสี่ยงตีพิมพ์

Beall’s list predatory publishers (http://scholarlyoa.com/publishers/) จึงเป็นการรวมรายชื่อสำนักพิมพ์ รวมทั้งมีบัญชีรายชื่อวารสาร http://scholarlyoa.com/individual-journals/ไว้ด้วย และเป็นหลักการที่ว่า รายชื่อวารสารใดที่อยู่ในบัญชีนี้ไม่ควรนำผลงานไปตีพิมพ์ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa