การเพิ่มเชาว์อารมณ์ (Emotional Quotient) ด้วยการฝึกสมาธิ : บทพิสูจน์การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน
บทคัดย่อ:
เชาว์อารมณ์ (Emotional Quotient) ถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิต เนื่องจากเชาว์อารมณ์เป็นเรื่องของการบริหารจัดการความรู้สึกและอารมณ์ภายในตนและการบริหารจัดการอารมณ์ของตนในการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างตนกับคนอื่น การฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาก็เป็นวิธีหนึ่งของการพัฒนาเชาว์อารมณ์ที่ทำให้ผู้ฝึกสามารถควบคุมภาวะทางอารมณ์เพื่อสามารถบริหารจัดการความรู้สึกของตนและการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างตนกับผู้อื่นได้ เพราะการฝึกสมาธิ คือ การสะสมพลังจิตและเราก็สามารถนำพลังจิตไปใช้ในการทำงานได้ ยิ่งมีพลังจิตมากเท่าใด งานก็ยิ่งมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น ผู้ไม่มีพลังจิตจึงเป็นผู้ที่มีอารมณ์หงุดหงิด ขาดการไตร่ตรองที่ทำให้มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญการพัฒนาเชาว์อารมณ์ด้วยการฝึกสมาธิจะทำให้ผู้ฝึกได้คุณภาพชีวิตที่ดีด้วย
อรรถสิทธิ์ สุนาโท. (2548). การเพิ่มเชาว์อารมณ์ (Emotional Quotient) ด้วยการฝึกสมาธิ : บทพิสูจน์การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (16), 100-112.
อ่านบทความฉบับเต็ม
ความตั้งใจย้ายที่อยู่อาศัยภายในเขตกรุงเทพมหานคร (Intention to Move Residence within Bangkok Municipality)
การย้ายที่อยู่อาศัยของประชากรจำนวนมากหรือย้ายบ่อยครั้ง อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อตัวผู้ย้ายประชากรในชุมชนต้นทางและชุมชนปลายทางของการย้ายที่อยู่อาศัย และส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการของภาครัฐ ในด้านการจัดการงบประมาณ ระบบสาธารณูปโภค การจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม ความรุนแรงของปัญหาขึ้นอยู่กับระดับและแบบแผนของการย้ายที่อยู่ภายในเขตกรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของความตั้งใจและสาเหตุของการย้ายที่อยู่อาศัยของชาวกรุงเทพมหานคร โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการวิจัย เรื่อง ความเป็นเมืองและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในกรุงเทพณปี 1993 ซึ่งเป็นงานวิจัยร่วมของมหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Australian National University ใช้กลุ่มตัวอย่าง 1,201 คน ผลการศึกษาปรากฏว่า ผู้ชายย้ายที่อยู่มากกว่าผู้หญิง ผู้ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาจะย้ายถิ่นมาก ผู้ที่มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัดจะย้ายถิ่นมากกว่าผู้ที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯ ผู้ที่ได้รับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์จะย้ายถิ่นน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับข่าวสาร และผู้ที่ทำงานในกรุงเทพฯ ระหว่าง 8-12 ปี จะตั้งใจย้ายที่อยู่อาศัยน้อยกว่าผู้ที่ทำงานระยะสั้นกว่า นอกจากนี้ หากชาวกรุงเทพฯ รู้สึกว่าบริเวณที่อยู่อาศัยมีมลพิษสูงขึ้นจะตั้งใจย้ายที่อาศัยมาก แต่หากรู้สึกว่าในชุมชนมีประชากรหนาแน่นขึ้นจะตั้งใจย้ายที่อยู่อาศัยน้อยลง ซึ่งอาจเป็นเพราะประชากรมีความคาดหวังมากขึ้นที่จะประกอบอาชีพต่างๆ อยู่ในชุมชน
เสาวนิจ รัตนวิจิตร นิจอนันต์ชัย. (2547). ความตั้งใจย้ายที่อยู่อาศัยภายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (15), 93-100.
บทบาทที่คาดหวังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของประชาชน
สุรอรรถ ทองนิรมล. (2547). บทบาทที่คาดหวังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของประชาชน. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (15), 24 -29.
คุณภาพชีวิตสตรีภายใต้ธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
Quality of Life of Thai Women under the 2007 Constitution and Related Laws
การศึกษาเรื่องคุณภาพชีวิตภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นงานวิจัยที่สนับสนุนโดยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาเจตนารมณ์และสาระในการพิทักษ์ ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรี ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 รวมถึงอนุสัญญาระหว่างประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 แผนพัฒนาสตรีของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนในระดับท้องถิ่น และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง Read the rest of this entry »
การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
The Development of the Clinical Nursing Practice Guideline for Lung Rehabilitation for Promoting Quality of Life in Chronic Obstructive Pulmonary Disease Patients
สุวัจนา ภักดิ์ภูมินทร อรพินท สีขาว และ ปนหทัย ศุภเมธาพร. (2557). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสาร มฉก.วิชาการ 17 (34), 61-76.
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือในชีวิตประจำวันสำหรับผู้ดูแล
คู่มือเล่มนี้เกิดขึ้นจากโครงการอบรมการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงรวมทั้งกลุ่มอายุอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือในชีวิตประจำวัน สำหรับผู้จัดการดูแลและผู้ดูแลผู้สูงอายุ โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับวิทยาลัยพยาบาลราชชนนี คู่มือนี้มีประโยชน์ในการดูแลผู้สูงอายุ และผู้สนใจเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในชุมชนและสังคม หมวดหมู่ WT100 ค695 2557
รายการอ้างอิง
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือในชีวิตประจำวันสำหรับผู้ดูแล. (2557). นนทบุรี : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี สถาบันพระบรมราชชนก.
คุณ Robert Waldinger พูดบนเวที TED X BeaconStreet เมื่อปีที่แล้ว เขาสรุป “ชีวิตที่ดีเกิดจากอะไร บทเรียนจากงานวิจัยเกี่ยวกับความสุขที่ยาวที่สุดในโลก” มี 3 ข้อด้วยค่ะ
1. Connection is really good for us, loneliness kills คุณจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นคู่ครอง เพื่อน ครอบครัว หรือ สังคมก็ตาม
2. Quality Not Quantity มันไม่สำคัญที่ปริมาณ หรือ รูปแบบของความสัมพันธ์ เช่นต้องแต่งงานเท่านั้น แต่เป็น “คุณภาพของความสัมพันธ์” ต่างหากที่จะเป็นตัวบ่งชี้
3. Good relationships don’t just protect our bodies they protect our brains หากคุณมีความสัมพันธ์อบอุ่น และมั่นคงกับใครซักคนที่คุณสามารถไว้ใจและพึ่งพาได้ ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณมีสุขภาพกายที่ดีเท่านั้น แต่ยังดีต่อสมองของคุณด้วย
ติดตามดู ฟัง และคิดตามได้ที่ http://www.ted.com/talks/robert_waldinger_what_makes_a_good_life_lessons_from_the_longest_study_on_happiness
อ้างอิงสรุปภาษาไทยจาก คุณมนตรี ส.