SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ชีวิตที่พลิกผัน : อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ของเกษตรกร เล่ม 1
มิ.ย. 20th, 2016 by sirinun

ชีวิตที่พลิกผัน : อาชีวอนามัยและความปลอดภัยใน การทำงานของเกษตรกร เล่ม 1

ชีวิตที่พลิกผัน : อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของเกษตรกร เล่ม 1

มนุษย์ทุกคนย่อมมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาตนเอง ทั้งที่เป็นการพัฒนาในระบบการศึกษา และการพัฒนาแบบไม่เป็นทางการ ผ่านการเรียนรู้นอกระบบ เช่น ผ่านทางฝึกปฏิบัติ ผ่านอาชีพ ผ่านครอบครัว เป็นต้น การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาตนเองนั้น ที่สำคัญคือการสร้างหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ผ่านทางบทความ หรือหนังสือทางวิชาการที่เป็นทฤษฎี งานวิจัยและประการตรงของผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านได้รับความรู้เรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของเกษตรกรในชุมชน หมวดหมู่ WA400 ช583 2558

รายการอ้างอิง

ประมุข โอศิริ. (บรรณาธิการ). (2558). ชีวิตที่พลิกผัน : อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของเกษตรกร เล่ม 1. กรุงเทพฯ : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปัญหาด้านความปลอดภัยของคนงานรับเหมาช่วงค่าแรง
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

ปัญหาด้านความปลอดภัยของคนงานรับเหมาช่วงค่าแรง

บทคัดย่อ:

แรงงานเป็นทรัพยากรการผลิตที่สำคัญและมีคุณค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่มีทักษะฝีมือ เช่น แรงงานไทย ตลาดการค้าโลกในปัจจุบันมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ผู้ประกอบการจึงแสวงหาแหล่งผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพและราคาถูก จึงทำให้บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่มาลงทุนตั้งสถานประกอบการในประเทศไทย ผลตอบแทนที่ได้คือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สินค้าส่งออกจำนวนมาก ภายใต้การผลิต ในสถานประกอบการยังมีระบบการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม คือ การจ้างเหมาค่าแรง ซึ่งเป็นการจ้างงานที่มีสภาพการทำงานเหมือนพนักงานประจำ แต่ได้รับค่าแรงและสวัสดิการที่ไม่เท่าเทียมกับพนักงานประจำ ไม่ได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ลูกจ้างจะถูกผู้ทำธุรกิจนายหน้าค้าแรงงาน ความไม่เท่าเทียมของการจ้างงาน ปัญหาที่คนงานรับเหมาช่วงค่าแรงได้รับข้อสังเกตของการจ้างเหมาช่วงค่าแรง ตัวอย่างการจ้างเหมาช่วงค่าแรงในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมสิ่งทอ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเป็นเสียงสะท้อนไปยังผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะได้หาแนวทางการแก้ไขต่อไป

พรพิมล เชวงศักดิ์โสภาคย์. (2549). ปัญหาด้านความปลอดภัยของคนงานรับเหมาช่วงค่าแรง. วารสาร มฉก.วิชาการ 10 (19), 80-89.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

การวิเคราะหตนไมแหงความลมเหลว : เทคนิคการชี้บงอันตรายเพื่อปองกันการเกิดอุบัติเหตุจากงาน
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

การวิเคราะหตนไมแหงความลมเหลว : เทคนิคการชี้บงอันตรายเพื่อปองกันการเกิดอุบัติเหตุจากงาน

Fault Tree Analysis: Hazard Identification Techniques for Preventing Work Accidents

บทคัดย่อ:

การสอบสวนอุบัติเหตุเป็นกิจกรรมหนึ่งของการบริหารงานด้านความปลอดภัยเชิงรับซึ่งทำให้ทราบถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น การใช้เทคนิคการวิเคราะห์ต้นไม้แห่งความล้มเหลว (fault tree analysis : FTA) เข้ามาช่วยจะทำให้สามารถค้นหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุหรือการเกิดความล้มเหลวของระบบได้อย่างละเอียดจนไปถึงสาเหตุพื้นฐาน (basic event) เนื่องจากเป็นเทคนิคในการคิดย้อนกลับที่อาศัยหลักการทางตรรกะวิทยาของ Boolean หาความเป็นเหตุเป็นผลของการเกิดปัญหาหรือความล้มเหลวนั้นโดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน    คือ การกำหนดหรือเลือกเหตุการณ์ตั้งต้น (top event) การจัดทำแผนภูมิโครงสร้างต้นไม้ของความล้มเหลว   การสรุปชุดสาเหตุ (cut sets) ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ตั้งต้น การจัดลำดับความสำคัญของชุดสาเหตุพื้นฐานเพื่อพิจารณาแก้ไขป้องกันต่อไป     การใช้เทคนิคนี้จึงจำเป็นต้องใช้ทีมวิเคราะห์ที่มีความรู้และเข้าใจในรายละเอียดของกระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความล้มเหลวนั้น    ทั้งนี้การใช้เทคนิค FTA ในการวิเคราะห์เพียงเทคนิคเดียวอาจไม่เพียงพอจึงอาจจำเป็นต้องใช้เทคนิคอื่นร่วมเช่น failure modes  and effects analysis (FMEA) และ hazard and operability analysis (HAZOP) เป็นต้น

Accident investigation is an activity of advanced safety management which helps us know only some causes of accidents. The use Fault Tree Analysis (FTA) technique could search for causes of accidents or system failures in details and lead us to know basic event. FTA presents failure logic using Boolean logic model to find out rational causes of problems or failures which comprises of 4 processes as follows: setting or selecting top event, constructing Fault Trees diagram, finding the route through a tree between an event and an initiator in the tree called a cut set and setting priority of basic events for considering to solve problems on the next step. By using this technique, the analysis team should have knowledge and well understand in the entire processes relating problems or failures. Only FTA technique, this might not be sufficient, it should combine with other techniques for analysis such as failure modes and effects analysis (FMEA) and hazard and operability analysis (HAZOP) etc.

อุมารัตน ศิริจรูญวงศ. (2555). การวิเคราะหตนไมแหงความลมเหลว : เทคนิคการชี้บงอันตรายเพื่อปองกันการเกิดอุบัติเหตุจากงาน. วารสาร มฉก. วิชาการ 15 (30), 167-180.

อ่านบทความฉบับเต็ม

นักมวย : อาชีพเสี่ยงภัยที่ถูกมองขาม ดานความปลอดภัย
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

นักมวย : อาชีพเสี่ยงภัยที่ถูกมองขาม ดานความปลอดภัย

Boxer : The Overlooking Risky Career in Safety

 

พรพิมล เชวงศักดิ์โสภาคย. (2554). นักมวย : อาชีพเสี่ยงภัยที่ถูกมองขาม ดานความปลอดภัย.  วารสาร มฉก. วิชาการ 15 (29), 83-96.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa