SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ปัญหาด้านความปลอดภัยของคนงานรับเหมาช่วงค่าแรง
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

ปัญหาด้านความปลอดภัยของคนงานรับเหมาช่วงค่าแรง

บทคัดย่อ:

แรงงานเป็นทรัพยากรการผลิตที่สำคัญและมีคุณค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่มีทักษะฝีมือ เช่น แรงงานไทย ตลาดการค้าโลกในปัจจุบันมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ผู้ประกอบการจึงแสวงหาแหล่งผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพและราคาถูก จึงทำให้บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่มาลงทุนตั้งสถานประกอบการในประเทศไทย ผลตอบแทนที่ได้คือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สินค้าส่งออกจำนวนมาก ภายใต้การผลิต ในสถานประกอบการยังมีระบบการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม คือ การจ้างเหมาค่าแรง ซึ่งเป็นการจ้างงานที่มีสภาพการทำงานเหมือนพนักงานประจำ แต่ได้รับค่าแรงและสวัสดิการที่ไม่เท่าเทียมกับพนักงานประจำ ไม่ได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ลูกจ้างจะถูกผู้ทำธุรกิจนายหน้าค้าแรงงาน ความไม่เท่าเทียมของการจ้างงาน ปัญหาที่คนงานรับเหมาช่วงค่าแรงได้รับข้อสังเกตของการจ้างเหมาช่วงค่าแรง ตัวอย่างการจ้างเหมาช่วงค่าแรงในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมสิ่งทอ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเป็นเสียงสะท้อนไปยังผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะได้หาแนวทางการแก้ไขต่อไป

พรพิมล เชวงศักดิ์โสภาคย์. (2549). ปัญหาด้านความปลอดภัยของคนงานรับเหมาช่วงค่าแรง. วารสาร มฉก.วิชาการ 10 (19), 80-89.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

Biomarkers กับบทบาทที่สำคัญในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

Biomarkers กับบทบาทที่สำคัญในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

The role of Biomarkers in Occupational Health

บทคัดย่อ:

ตัวชี้วัดทางชีวภาพ (Biomarkers) เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้ หรือตัวชี้วัด หรือเป็นสัญญาณของเหตุที่จะเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วในร่างกายของสิ่งมีชีวิต และยังหมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสัมผัสสารกับสุขภาพที่ผิดปกติโดยทั่วไปตัวชี้วัดทางชีวภาพ (Biomarkers) จะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ ตัวชี้วัดการสัมผัสทางชีวภาพ (Biomarkers of exposure) ตัวชี้วัดผลกระทบทางชีวภาพ (Biomarkers of effect) และ ตัวชี้วัดความไวรับ หรือพันธุกรรมทาง ชีวภาพ (Biomarkers of susceptibility) Read the rest of this entry »

เสียชีวิตและบาดเจ็บจากรถตู้สาธารณะสูงขึ้น แต่คนก็ชอบใช้เพิ่มมากขึ้น
ม.ค. 19th, 2016 by supaporn

จากการวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย โดยนางสาวณัชชา โอเจริญ และคณะ พบว่าแม้ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา สถิติการเสียชีวิตและบาดเจ็บจากรถตู้สาธารณะสูงขึ้นมากกว่ารถโดยสารสาธารณะประเภทอื่น แต่ผลสำรวจกลับพบว่า จำนวนผู้โดยสารรถตู้โดยสารสาธารณะกลับเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้ใช้ต้องการการเดินทางที่ สะดวกสบาย รวดเร็ว และประหยัด จนละเลยความปลอดภัย ดังนั้น สาเหตุของอุบัติเหตุส่วนหนึ่งจึงมาจากพฤติกรรมของผู้โดยสารและผู้ขับ และจากผลสำรวจ ผู้โดยสารมากกว่าครึ่งไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย แม้ว่ารัฐออกกฎหมายในการติดตั้งและบังคับคาดเข็มขัดนิรภัย ที่กำหนดให้ผู้โดยสารต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่อยู่ระหว่างการโดยสาร

คณะผู้วิจัยจึงเสนอการมาตรการยกระดับความปลอดภัยรถตู้สาธารณะเพิ่มเติม โดยกำหนดให้เรื่องความปลอดภัยของรถสาธารณะเป็นวาระสำคัญ ที่เน้นเรื่องนโยบาย พร้อมกับวางกลไกติดตาม กำกับ ประเมินผล และตรวจสอบที่ใกล้เคียงกับมาตรฐานสากล พร้อมทั้งต้องให้จัดให้มีการอบรมพนักงาน กำหนดบทลงโทษพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ชัดเจน รวมถึงให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการดำเนินงานที่คุ้มครองผู้โดยสารและผู้ประกอบการ เช่น มาตรการลดภาษี หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สร้างแรงจูงใจทางการเงินเพื่อให้เกิดการลงทุนด้านความปลอดภัย

รายการอ้างอิง

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2559). ทีดีอาร์ไอ เสนอวาระเริ่มปีใหม่ ‘ยกระดับคนขับ-คนใช้รถตู้สาธารณะ’ สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 จาก http://tdri.or.th/tdri-insight/tdri-roadsafty/

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa