SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เข้าศึกษาดูงานการประหยัดพลังงาน จากอาคารบรรณสาร
ส.ค. 18th, 2016 by supaporn

รองอธิการบดี ฉลอง แขวงอินทร์ บรรยายในกิจกรรมการประหยัดพลังงานของ มฉก.

รองอธิการบดี ฉลอง แขวงอินทร์ บรรยายในกิจกรรมการประหยัดพลังงานของ มฉก.

ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมฉก. ถ่ายภาพร่วมกัน

ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมฉก. ถ่ายภาพร่วมกัน

บรรยากาศขณะนำชม

บรรยากาศขณะนำชม

 

วันที่ 15 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น. ผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำนวน 10 ท่าน ได้เข้าศึกษาดูงานการประหยัดพลังงานของ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ในการนี้ รองอธิการบดี ฉลอง แขวงอินทร์ และทีมงานกองอาคาร พร้อมผู้เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ ให้การต้อนรับ ณ อาคารบรรณสาร ซึ่งเป็น 1 ใน 3 อาคารประหยัดพลังงาน โดยมีการบรรยาย ตอบข้อซักถาม และนำชมจุดต่างๆ

การวิเคราะห์เรื่อง “นวนิยายเรื่องยาวภาษาจีนในประเทศไทย
ก.พ. 24th, 2016 by rungtiwa

การวิเคราะห์เรื่อง “นวนิยายเรื่องยาวภาษาจีนในประเทศไทย”

《论泰国华文长篇小说》

 

ศศิวิมล เรียนทับ 陆碧霞. (2554). การวิเคราะห์เรื่อง “นวนิยายเรื่องยาวภาษาจีนในประเทศไทย”. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (28), 41-65.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

การสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงและแนวทางการพัฒนาระบบพยาบาลพี่เลี้ยง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 11th, 2016 by supaporn

การสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงและแนวทางการพัฒนาระบบพยาบาลพี่เลี้ยง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (Clinical Teaching of Preceptors and Directions for Preceptorship Development, Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakiet University)

บทคัดย่อ:

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพการสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยง กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 227 ราย (นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 110 ราย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 117 ราย) สำหรับกลุ่มตัวอย่างการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 29 ราย (นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เคยเรียนวิชาภาคปฏิบัติกับพยาบาลพี่เลี้ยง จำนวน 7 ราย อาจารย์ประธานรายวิชาปฏิบัติการการพยาบาล จำนวน 3 ราย พยาบาลพี่เลี้ยง จำนวน 10 ราย พยาบาลวิชาชีพที่เป็นผู้ร่วมงานกับพยาบาลพี่เลี้ยงอย่างน้อย 2 ปีจำนวน 4 ราย และหัวหน้าหอผู้ป่วยในแหล่งฝึกปฏิบัติที่มีพยาบาลพี่เลี้ยง จำนวน 5 ราย เครื่องมือที่ใช้ในส่วนของเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถามคุณภาพการสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยง และเครื่องมือที่ใช้ในส่วนของเชิงคุณภาพ ได้แก่ แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม ซึ่งเครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) และทดสอบความเชื่อมั่น (reliability) ของแบบสอบถามคุณภาพการสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) 0.95 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ MannWhitney U test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพการสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงในด้านคุณลักษณะความเป็นครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x– =4.48, SD=.494) และ ด้านการดำเนินการสอนของพยาบาลพี่เลี้ยง พบว่าเกือบทั้งหมดมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ถึง มากที่สุด คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา (x– =4.54, SD=.583) รองลงมา คือ นักศึกษาได้รับความรู้ ประสบการณ์ และเกิดทักษะจากการฝึกปฏิบัติ (x– =4.46, SD=.549) นอกจากนี้ พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 มีคะแนนความคิดเห็นต่อคุณลักษณะความเป็นครูของพยาบาลพี่เลี้ยงและลักษณะการดำเนินการสอนภาคปฏิบัติโดยรวมแตกต่างกัน (p<.001) ส่วนผลการศึกษาเชิงคุณภาพประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก คือ ประเด็นหลักที่ 1 ปัญหาของพยาบาลพี่เลี้ยงในการสอนภาคปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วย 2 ประเด็นรอง คือ ปัญหาของการนิเทศนักศึกษา และ ปัญหาความรู้ทางทฤษฎีไม่ได้รู้ลึกซึ้งมาก ประเด็นหลักที่ 2 ความต้องการของพยาบาลพี่เลี้ยงในการพัฒนาการสอน ประกอบด้วย 1 ประเด็นรอง คือ ความต้องการที่จะพัฒนาความรู้และประเด็นหลักที่ 3 แนวทางในการพัฒนาพยาบาลพี่เลี้ยงให้มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 2 ประเด็นรองคือ การได้มาซึ่งพยาบาลพี่เลี้ยง และระบบการเรียนการสอนและการติดตามผล

This research was a descriptive research, which aimed to study the preceptors’quality of clinical teaching. The samples of the quantitative research part were 227 nursing students, which consisted of 110 junior nursing students, and 117 senior nursing students. The samples of the qualitative research part were 7 junior nursing students who used to study with preceptors, 3 nursing instructors who were heads of nursing practice course, 10 preceptors, 4 registered nurses who had worked with preceptors, and 5 head nurses who were in the ward that preceptors have worked. The instrument of the quantitative research was the preceptors’ quality of clinical teaching questionnaire, whereas the instruments of the qualitative research were in-depth interview guidelines, and focus group guidelines. These instruments were validated and tested. The Cronbach’s alpha coefficient of preceptors’ quality of clinical teaching questionnaire was 0.95. For data analysis, the quantitative research part applied frequency, mean, standard deviation, and Mann-Whitney U test, whereas content analysis was used as data analysis in the part of qualitative research. The results revealed that the overall of the preceptors’ quality of clinical teaching specially on teacher characteristics was high level (x–=4.48, SD=.494). For the process of the preceptors’ teaching, it was found that almost all of the processes were high to highest level of quality, especially on the ability to solve the problem of the nursing students’ during their practices (x–=4.54, SD=.583). The second high level of quality was the acquiring knowledge, experiences, and skills of nursing students from their practices (x–=4.46, SD=.549). The comparison between the junior nursing students’ opinions and the senior nursing students’ opinions on the preceptors’ quality of clinical teaching showed that there were overall differences between the opinions on the characteristics of being a teacher and the process of clinical teaching (p<.001). In qualitative findings, it was found that there were three themes. The first theme was the problems of the receptors in their clinical teaching, which consisted of the problem of supervising students, and the problem of not having profound theoretical knowledge. The second theme was the demand of preceptors in teaching development, which consisted of the demand of knowledge development. The third theme was the direction for preceptorship development to apply their clinical teaching effectively, which consisted of the processes of obtaining preceptors, and the systems of teaching-learning and evaluations.

 

กนกพร นทีธนสมบัติ รัชนี นามจันทรา พรศิริ พันธสี และ อิสรีย์ เหลืองวิลัย. (2558). การสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงและแนวทางการพัฒนาระบบพยาบาลพี่เลี้ยง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37), 71-88.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 9th, 2016 by supaporn

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  (Student and Teaching Factors in Correlation with Happy Learning in Fundamentals of Nursing, Practicum of Nursing Students, Faculty of Nursing, Hauchiew Chalermprakiet University)

บทคัดย่อ:

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษา และปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอนกับความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐาน 2) ศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัยด้านนักศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนต่อความสุขของนักศึกษาในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2554 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 127 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน การรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ และความสุขในการเรียนรู้ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) และทดสอบความเชื่อมั่น (reliability) ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.91, 0.93 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที (t) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One- way ANOVA) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการศึกษา พบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอน และความสุขในการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ส่วนการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง (–X ± SD = 4.24±±0.40, 4.12±±0.45 และ 3.57±±0.43 ตามลำดับ) นักศึกษาที่สอนโดยอาจารย์ประจำ มีคะแนนความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนมากกว่านักศึกษาที่สอนโดยพยาบาลพี่เลี้ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=2.00, p=.024) การรับรู้ความสามารถของนักศึกษาในการเรียนรู้ และคะแนนความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐาน เมื่อจำแนกตามผู้สอนที่เป็นอาจารย์ประจำและพยาบาลพี่เลี้ยง แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนและการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.62, p<.001 เท่ากัน) รวมทั้งการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ซึ่งเป็นปัจจัยด้านนักศึกษาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐานซึ่งเป็นปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอนสามารถร่วมกันทำนายความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานได้ร้อยละ 48.60 (R2 = 0.486 p<.001)
The purposes of this descriptive research were to study the correlation between students and teaching factors and happy learning in the Fundamentals of Nursing a practicum of nursing students in the Faculty of Nursing, Hauchiew Chalermprakiet University as well as to study the prediction power of these factors on happy learning. The samples consisted of 127 second year students of academic year in 2011. The satisfaction of teaching, learning ability perception and happy learning were assessed by self-report questionnaire which statistically has good content validity and reliability (Conbrach’s alpha = 0.91, 0.93 and 0.94, respectively. Data were analyzed by descriptive statistics, independent t-test, one way ANOVA, Pearson’s product moment correlation and stepwise multiple regression. The results showed that the student’s satisfaction with
teaching and the joy of learning were at a high level while student’s learning ability perception was at moderate level (–X ± SD = 4.24±±0.40, 4.12±±0.45 and 3.57±±0.43 respectively). The level of satisfaction in teaching of students who were taught by instructors had higher rating than students taught by Nursing Clinical Instructors (statistically significant at t=2.00, p=.024). As well as, the students’ learning ability perception and happy learning do not have statistically significant difference. In addition, the students’ satisfaction in teaching and the learning ability perception positively correlated with happy learning (statistically significant at r=0.62, p<.001 both). The happy learning was predicted by students’ satisfaction in teaching and learning ability perception was 48.60 (R2 = 0.486, p<.001)

นพนัฐ จำปาเทศ  วิญญ์ทัญญู บุญทัน และ พรศิริ พันธสี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37),  1-14.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa