SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ห้องสมุดที่เคยเป็นและห้องสมุดในอนาคต
ก.ค. 4th, 2016 by navapat

ห้องสมุดที่เคยเป็นและห้องสมุดในอนาคต

เป็นบทความรวบรวม ความคิดเห็นของบรรณารักษ์  สถาปนิก และนักวิชาการจากหลายสาขา ซึ่งมารวมตัวกันที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology, MIT) เพื่อให้ความเห็น และชี้ให้เห็นอนาคตของห้องสมุด

นอกเหนือจากการเป็นคลังหนังสือแล้ว ห้องสมุดเก่าแก่แห่งเมืองอเล็กซานเดรีย ยังเป็นแหล่งค้นคว้าทางวิชาการให้กับบรรดานักวิชาการ   คำว่า “Mouseion” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า สถานที่ทำงานของเทพเจ้า Muses (เทพ Muses เป็นเทพแห่งวรรณกรรม และศิลปะ เป็นธิดาของเทพ Zeus ในตำนานกรีก : ผู้แปล)  ด้วยเหตุนี้ในห้องสมุดในสมัยแรกเริ่ม จึงประกอบไปด้วย  ห้องสอนหนังสือ (Exedra) โรงรับประทานอาหาร (Oinks) และ ทางเดินแบบมีหลังคา (Peripatos)  เมื่อสรุปรวมกันจึงแปลได้ว่า เป็นสถานที่นักวิชาการใช้สำหรับค้นคว้า และสนทนาทางวิชาการ  นักวิชาการ สามารถเดินถือตำราไปไหนมาไหนหรือรับประทานอาหาร ภายใต้ร่มเงานั้นได้ แม้ว่า ปัจจุบันเราอยู่ในยุคดิจิทัลแล้วก็ตาม แต่ความหมายโดยรวมของมันยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก

นับเป็นเวลา 1,000 ปีมาแล้ว ที่ห้องสมุด ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ และภาวะของสังคม ซึ่งแน่นอนว่า ข้อมูล และสภาวะทางสังคม ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ เช่น การเปลี่ยนจากโต๊ะดินเหนียว ไปเป็นตู้แบบที่มีล้อเลื่อน และกลายเป็นการสืบค้นแบบเข้ารหัส และเข้าสู่ยุคดิจิทัลในยุคปัจจุบัน ห้องสมุดจึงมีการปรับเปลี่ยน การอ่านออกเขียนได้ กลายเป็นมาตรฐาน เช่นเดียวกับ เหล่านักวิชาการ มีการรวมตัวกันมากขึ้น นิสัยการอ่านก็เปลี่ยนแปลง  มีวิธีการที่จะเข้าถึงข้อมูล หลายหมื่นข้อความ ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดมีการพัฒนา  มันได้เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางด้านข้อมูล และพฤติกรรมทางสังคม รวมทั้งนิสัยการอ่าน การเรียน  ล้วนแต่มีผลต่อรากฐานของห้องสมุด Read the rest of this entry »

การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมท้องถิ่น:ประเพณีสงกรานต์ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ก.พ. 11th, 2016 by supaporn

การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมท้องถิ่น:ประเพณีสงกรานต์ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
Local Culture Changes: Prapradaeng Songkran Festival, Samutprakarn Province

สรรเกียรติ กุลเจริญ ภุชงค์ เสนานุช และ ศักดินา บุญเปี่ยม. (2558). การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมท้องถิ่น:ประเพณีสงกรานต์ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37), 117-128.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa