บทบาทของห้องสมุดมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อย ๆ จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นสำคัญ รวมทั้งการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ที่ทำให้ไลฟ์สไตล์การอ่านหนังสือ และการใช้ห้องสมุดเปลี่ยนไป
การใช้หนังสือในห้องสมุดลดลง เนื่องจากมีรูปแบบที่เป็นดิจิทัลเข้ามาแทนที่ ทำให้เข้าถึงได้ทางออนไลน์ บทบาทในการเน้นการยืมหนังสือเล่มจึงลดน้อยลง ลักษณะทางกายภาพเริ่มไม่ตอบสนองกับการใช้บริการในปัจจุบัน ห้องสมุดต้องปรับบทบาทเพื่อเสริมการเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ เป็นแหล่งเสริมทักษะการเรียนรู้ โดยเฉพาะสำหรับผู้ใช้ห้องสมุดที่อยู่ในยุคที่เกิดมาพร้อมกับสื่อดิจิทัล
ห้องสมุดมีการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์จากการใช้พื้นที่ (Space Utilization) เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกัน การทำงานกลุ่ม การศึกษาค้นคว้าร่วมกัน เพื่อมุ่งส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การทำงานเป็นทีม (Collaboration ) รวมทั้งการสื่อสาร (Communication) และจากคำกล่าวของ จอห์น ซีลีย์ บราวน์, 2000 อ้างถึงใน วัฒนชัย วินิจจะกูล, 2560 น.61 ที่ว่า “การเรียนรู้ทุกประการเริ่มต้นที่การสนทนา” ทำให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ปรับพื้นที่เพื่อการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
Read the rest of this entry »