SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ความแข็งแกร่งในชีวิต : แนวคิด การประเมิน และ การประยุกต์ใช้ (Resilience : concept, assessment, and application)
พ.ค. 31st, 2016 by sirinun

ความแข็งแกร่งในร่างกาย แนวคิด การประเมิน และการประยุกต์ใช้

ความแข็งแกร่งในร่างกาย แนวคิด การประเมิน และการประยุกต์ใช้

ความแข็งแกร่งในชีวิตเป็นความสามารถ หรือศักยภาพของบุคคลในการยืนหยัดอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางสถานการณ์อันเลวร้ายในชีวิต หรือเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดในชีวิต พร้อมทั้งสามารถที่จะฟื้นตัวและนำพาชีวิตของตนให้ผ่านพ้นจากการได้รับผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์นั้นได้ในเวลาอันรวดเร็ว อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เติบโตขึ้น และเข้าใจชีวิตมากขึ้น หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจการดำเนินชีวิตทั้งร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็งและอยู่ในสังคมสมัยนี้ได้อย่างปกติและมีความสุข หมวดหมู่ WY160 ค181 2558

รายการอ้างอิง

พัชรินทร์ นินทจันทร์. (บรรณาธิการ). (2558). ความแข็งแกร่งในชีวิต : แนวคิด การประเมิน และการประยุกต์ใช้  (Resilience : concept, assessment, and application). กรุงเทพฯ :โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

แก่ช้าลงแน่แค่ปล่อยให้ท้องหิว
พ.ค. 10th, 2016 by sirinun

แก่ช้าลงแน่แค่ปล่อยให้ท้องหิว

แก่ช้าลงแน่แค่ปล่อยให้ท้องหิว

“แก่ช้าลงแน่แค่ปล่อยให้ท้องหิว” เป็นหนังสือที่เขียนโดยนายแพทย์โยะชิโนะริ นะงุโมะ นายแพทย์ชื่อดังของประเทศญี่ปุ่น บอกเคล็ดลับความอ่อนเยาว์และสุขภาพดี โดยการดูแลรักษาสุขภาพของครอบครัวให้มีร่างกายที่แข็งแรงปราศจากโรค ด้วยการหมั่นออกกำลังกาย และทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนา ทำจิตใจให้ปราศจากความกังวลแล้วยังปล่อยวางความเครียดต่างๆ ให้น้อยลงทำให้มีวัยอ่อนเยาว์คืนสู่วัยหนุ่มสาวลงด้วย  หมวดหมู่ QU145 น366ก 2558

รายการอ้างอิง

นะงุโมะ, โยะชิโนะริ. (2558). แก่ช้าลงแน่แค่ปล่อยให้ท้องหิว (Karada no naka kara kirei ni naru)  (โยซูเกะ, ผู้แปล). พูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ, (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : วีเลิร์น.

อภิสิทธิ์ชน : คนแก่ 2557
มี.ค. 8th, 2016 by sirinun

อภิสิทธิ์ชน : คนแก่ 2557

อภิสิทธิ์ชน : คนแก่ 2557

ชีวิตคนเราย่อมมีการเจริญวัยจนมาถึงจุดหนึ่ง ที่วัยจะต้องร่วงโรยไปตามอายุขัย ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ได้ใช้ประสบการณ์ในการก้าวย่างเข้าสู่วัยชราที่มีภูมิปัญญาความรู้ ตลอดจนประสบการณ์อย่างมากมายมาปรับเปลี่ยนชีวิตให้เป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลังแห่งกุศล เพื่อดำรงตนและเป็นเพื่อนกับคนอื่นที่เดินทางมาสู่วัยเดียวกันได้อย่างมีความสุข หมวดหมู่ HQ1062 ฉ236อ 2558

รายการอ้างอิง

ฉัตรสุมาลย์. (2558). อภิสิทธิ์ชน : คนแก่ 2557. กรุงเทพฯ : ศูนย์ไทยธิเบต.

สัปปายะ 7 : หลักการจัดระเบียบเพื่อความสมดุลของครอบครัว/สังคม
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

สัปปายะ 7 : หลักการจัดระเบียบเพื่อความสมดุลของครอบครัว/สังคม

บทคัดย่อ:

สัปปายะเป็นหลักการที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ผู้ปฏิบัติธรรมแสวงหา เพราะเป็นเรื่องที่เอื้อให้การปฏิบัติธรรมบรรลุผลได้ง่ายขึ้น หลักการนี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดระเบียบครอบครัว สถาบัน องค์กร และส้งคมได้เป็นอย่างดี  เนื่องจากเป็นหลักที่พูดถึงความเหมาะสมหรือความสมดุลของที่อยู่อาศัย ทำเลที่ประกอบอาชีพ การพูดจา บุคคลที่ควรคบหา การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ สภาพภูมิอากาศหรือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และการบริหารร่างกายอย่างถูกต้องเหมาะสมอันเป็นปัจจัยสนับสนุนคุณภาพชีวิตของคนให้ดียิ่งขึ้น นอกจากจะส่งผลดีต่อบุคคลและครอบครัวแล้ว ยังส่งผลดีต่อประเทศชาติและธรรมชาติอื่นๆ ด้วย

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2547). สัปปายะ 7 : หลักการจัดระเบียบเพื่อความสมดุลของครอบครัว/สังคม. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (15), 80-92.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa