SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การส่งหนังสือซ่อม : กระบวนการใหม่
ก.ย. 24th, 2021 by supaporn

เดิมศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีกระบวนส่งหนังสือซ่อมจากแผนกบริการสารสนเทศ โดยการลงบันทึกลงในกระดาษ และส่งตัวเล่มที่มีความชำรุดมายังงานซ่อมทรัพยากรสารสนเทศ แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เมื่อดำเนินการซ่อมเสร็จแล้ว มีการส่งกลับมายังแผนกบริการฯ พร้อมเปลี่ยนสถานภาพของหนังสือเพื่อให้บริการต่อไป แม้ว่าจะเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนไม่มากก็ตาม แต่เกิดปัญหา มีหนังสือค้างการซ่อมเป็นจำนวนมาก จึงได้มีการวิเคราะห์เพื่อหาทางแก้ไข

Pain Point: หนังสือที่ส่งมาซ่อม ค้างอยู่ที่ห้องซ่อมจำนวนมาก

การวิเคราะห์หาสาเหตุ และเสนอแนวทางการแก้ปัญหา

สาเหตุของปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา
1. มีเจ้าหน้าที่หลายคนในการส่งหนังสือซ่อม 1. กำหนดให้มีเพียง 1 คน ในแต่ละชั้นที่เป็นพื้นที่ให้บริการการอ่าน (รวมเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ส่งหนังสือซ่อม 2 คน)
2. ส่งหนังสือซ่อมมาตลอดเวลา 2. กำหนดวงรอบในการส่งหนังสือซ่อม
3. บันทึกรายการส่งหนังสือซ่อมด้วยกระดาษ ยากต่อการเพิ่มเติม แก้ไข ปรับปรุงข้อมูล มีการใช้งานกันหลายคน   ทำให้ยุ่งยากในการปรับแก้ไข เกิดปัญหาข้อมูลไม่ตรงกับในระบบห้องสมุด 3. มีการออกแบบข้อมูลและกรอกใน Google form เพื่อใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ ของหนังสือที่ส่งซ่อม เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง หมายเลข ISBN บาร์โคด  หมายเลขฉบับที่ส่งซ่อม  สภาพของหนังสือ วันที่ส่งซ่อม การติดตาม เป็นต้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ในการส่งหนังสือซ่อมบันทึก เจ้าหน้าที่แผนกบริการฯ เท่านั้น เป็นผู้บันทึก และเปลี่ยนสถานภาพเป็นห้องหนังสือซ่อม (Repair room) เพื่อให้ทราบว่า หนังสือรายการนั้น ๆ อยู่ที่ระหว่างการส่งซ่อม และเปลี่ยนสถานภาพเป็นให้บริการได้ (Available) เมื่อหนังสือซ่อมกลับขึ้นมาในสภาพเรียบร้อย พร้อมขึ้นชั้นเพื่อให้บริการ
4. ติดตามการซ่อมหนังสือไม่เป็นระบบ ติดตามแล้วไม่มีการส่งหนังสือซ่อมขึ้นมาตามรอบของการส่งหนังสือ และมิได้มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง  ทำให้หนังสือที่ส่งซ่อมเป็นเวลานาน ไม่ได้ส่งขึ้นมาตามระยะเวลาที่ควรจะเป็น 4. กำหนดระยะเวลาในการติดตาม กรณีที่เลยกำหนดส่งตามที่ระบุไว้ในการส่งหนังสือซ่อม ให้มีการติดตาม 3 ครั้ง ถ้ายังไม่มีการส่งขึ้นมาให้แจ้งผู้บังบัญชาตามลำดับ
5. ไม่จัดระบบในการซ่อมหนังสือ ไม่มีการจัดลำดับของการส่งหนังสือซ่อม ทำให้หนังสือที่เคยส่งซ่อมนานแล้ว ไม่ได้รับการซ่อมและถูกเก็บไว้ที่ห้องซ่อมหนังสือเป็นเวลานาน 5. มีข้อกำหนดในการส่งหนังสือซ่อมเพียงครั้งละ 40 เรื่อง โดยแบ่งแผนกบริการฯ ชั้น 3 และ 4 ชั้นละ 20 เรื่อง และต้องซ่อมให้แล้วเสร็จทั้งหมด 40 ชื่อเรื่อง ในระยะเวลา 1 เดือนครึ่ง เนื่องจากอาจจะมีหนังสือที่สภาพการซ่อมไม่เท่ากัน อาจจะใช้เวลาต่างกัน (มาก/น้อยในแต่ละรอบ) จึงจะส่งหนังสือซ่อมรอบใหม่
6. หนังสือที่ส่งซ่อมเกิดการชำรุดมากขึ้น เมื่อถูกทิ้ง หรือมีการทับของหนังสือที่ส่งเข้ามาเป็นระยะๆ และเป็นระยะเวลานาน 6. มีกำหนดระยะเวลาและจะไม่ส่งชุดใหม่ลงไป น่าจะทำให้แก้ปัญหานี้ได้
7. ข้อมูลหรือหลักฐานของหนังสือที่ส่งซ่อมเกิดการสูญหาย หรือขาดหายไป เช่น บาร์โคด ส่วนสำคัญของหนังสือ เป็นต้น ทำให้เพิ่มความยากในการซ่อมหรือใช้เวลาในการตรวจสอบหลักฐาน 7. มีกำหนดระยะเวลาและจะไม่ส่งชุดใหม่ลงไป น่าจะทำให้แก้ปัญหานี้ได้
8. หนังสือที่ส่งซ่อมเกิดการสูญหาย 8. มีกำหนดระยะเวลาและจะไม่ส่งชุดใหม่ลงไป น่าจะทำให้แก้ปัญหานี้ได้
9. ซ่อมแล้วไม่สมบูรณ์ สวยงาม 9. มีการตรวจสอบคุณภาพของการซ่อม ถ้าไม่เรียบร้อยให้ส่งกลับซ่อมใหม่
10. บาร์โคดมีการซ้ำกับบาร์โคดของหนังสือเล่มอื่น (บางครั้ง) 10. ช่วยดูแลในส่วนนี้ โดยหัวหน้าแผนกจัดหาฯ เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนของบาร์โคด และส่งกลับคืนมาในจำนวนที่ส่งซ่อม

การปรับกระบวนการใหม่นี้ จะเริ่มในเดือนตุลาคม 2564 โดยจะให้มีการดำเนินการแล้วจึงมีการติดตามผลการดำเนินงาน และนำผลการดำเนินงาน หรือปัญหาที่เกิดขึ้นมาปรับปรุงต่อไป เพื่อให้มีกระบวนการที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

การเขียนชื่อบนปกหนังสือโดยใช้ปากกาไฟฟ้า
ก.ค. 4th, 2021 by pisit

ในการซ่อมหนังสือ จะมีกรณีที่ต้องฉีกปกเดิมออก เนื่องจากมีการชำรุด หรือเสียหายมาก จนต้องพิจารณาดึงหน้าปกหนังสือเดิม ออก เมื่อมีการซ่อมโดยทำหน้าปกใหม่ ถ้าภาพของหน้าปกเดิมยังมีสภาพดี  ผู้มีหน้าที่ซ่อม ก็จะนำภาพหน้าปกเดิมมาติดไว้ตามเดิม กรณีที่หน้าปกเดิมมีความชำรุด เสียหาย ไม่สามารถนำมาติดไว้ตามเดิมหลังจากซ่อมได้  การที่จะให้ผู้ใช้ทราบว่า หนังสือเล่มที่หน้าปกนี้หายไป มีชื่อเรื่องว่าอะไร ผู้ซ่อมจะใช้ปากกาไฟฟ้า เขียนไว้ที่หน้าปกบนผ้าแรกซีนหุ้มปก

วิธีการทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

อุปกรณ์

1.ปากกาไฟฟ้า.    2.เทปสำหรับเขียนสัน

Read the rest of this entry »

การซ่อมบำรุงและรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
มิ.ย. 27th, 2019 by pisit

ศูนย์บรรณสารสนเทศมีบริการทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังสือ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ด้วยจำนวนการยืม สภาพการหยิบจับหนังสือ หรือสภาพแวดล้อมของห้องสมุด หนังสือมีการชำรุด เช่น ปกขาด สันหนังสือชำรุด เป็นต้น  การซ่อมแซมหนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นการรักษาและบำรุงทรัพยาการสารสนเทศให้มีสภาพที่สมบูรณ์ สามารถบริการให้ผู้ใช้ได้ศึกษาค้นคว้าได้ต่อไปอีกนาน

บทความนี้จึงขอแนะนำการซ่อมหนังสือ ประกอบด้วย

เครื่องมือและอุปกรณ์ซ่อมหนังสือ

  1. กาว
  2. แปรงทากาว
  3. กระดาษแข็งสำหรับทำปกเบอร์ 12
  4. กระดาษปอนด์รองสันปก
  5. ผ้าดิบหรือผ้ามุ้ง
  6. ผ้าแล็คซีน
  7. กระดาษแล็คซีน
  8. ผ้าคิ้ว
  9. มีดคัตเตอร์
  10. สว่านไฟฟ้าสำหรับเจาะรูหนังสือ
  11. เครื่องอัดหนังสือ
  12. เข็มขนาดใหญ่สำหรับเย็บหนังสือ
  13. ด้าย cotton สำหรับเย็บหนังสือ

ขั้นตอนการซ่อมหนังสือ Read the rest of this entry »

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม
ก.ค. 9th, 2018 by chonticha

การซ่อมหนังสือ เป็นการบำรุงรักษาหนังสือของห้องสมุด หนังสือที่ผ่านการหยิบใช้งานบ่อยๆ อาจมีชำรุด เช่น สันหนังสือ ปกหนังสือ หรือ หน้าหนังสือ หลุดออกจากตัวเล่ม ตัวอย่างหนังสือที่ชำรุด ดังภาพ

การเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อมเมื่อผู้ดูแลความเรียบร้อยประจำพื้นที่ พบหนังสือชำรุด จะเก็บหนังสือเล่มนั้นๆ มาเพื่อซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุดเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพปกติ เพื่อพร้อมที่จะนำออกให้บริการต่อไปจึงต้องมีการ เปลี่ยน Status ของหนังสือ เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบว่าหนังสือเล่มนั้นๆ ยังไม่พร้อมให้บริการ โดยจะปรากฏ ที่หน้าจอ การสืบค้น ดังนี้  “Repair Room”

การเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

เมื่อหนังสือได้รับการซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องเปลี่ยน Status เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบว่าหนังสือเล่มนั้นๆ พร้อมให้บริการแล้ว โดยจะปรากฏ ที่หน้าจอ การสืบค้น ดังนี้  “Available”

การเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

Read the rest of this entry »

การสงวนรักษาหนังสือโดยวิธีการเสริมปกแข็ง
มิ.ย. 26th, 2017 by pisit

ผู้เขียนได้เคยเข้าร่วมอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่อง การซ่อมและการสงวนรักษาหนังสือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ทำให้ได้รับความรู้เรื่องวิธีการสงวนรักษาหนังสือโดยวิธีการเสริมปกแข็งทั้งนี้เพื่อให้บรรณารักษ์หรือบุคลากรห้องสมุดนำความรู้ไปดำเนินการแก้ไขวิธีการซ่อมทำปกที่ถูกวิธีสามารถปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้เขียน ขอนำบางส่วนจากการอบรม คือ วิธีการสงวนรักษาหนังสือแบบวิธีการเสริมปกแข็ง

วิธีการเสริมปกแข็ง (Stiffening)

วัสดุและอุปกรณ์

  1. กระดาษปกเบอร์12  หรือกระดาษปกแข็งที่มีความหนา .05 นิ้ว
  2. ผ้าฝ้ายที่มีความละเอียดมาก
  3. กาว
  4. มีดคัตเตอร์
  5. กรรไกร
  6. แผ่นพลาสติค
  7. ไม้กระดาน
  8. เครื่องอัดหนังสือ
  9. ไม้เนียน
  10. เครื่องตัดกระดาษ

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa