SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การบริหารหนังสืออ้างอิง เพื่อให้เข้าถึงได้มากขึ้น
ธ.ค. 6th, 2021 by supaporn

หนังสืออ้างอิง เป็น Collection ของหนังสือที่มีในห้องสมุดที่ทราบกันดีว่า ห้ามยืมออก หรือไม่อนุญาตให้ยืมออก เพราะธรรมชาติของเนื้อหาของหนังสือประเภทที่เป็น “อ้างอิง” คือ ข้อมูลที่ใช้เพื่อการค้นคว้า อ้างอิง เพียงตอนใดตอนหนึ่งในเล่มเท่านั้นไม่ใช่หนังสือที่อ่านตลอดทั้งเล่ม  เพื่อหาคำตอบที่ต้องการในเวลาอันรวดเร็ว

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการจัดเก็บหนังสืออ้างอิง ให้บริการเป็นห้องๆ หนึ่งโดยเฉพาะจัดแยกเป็นห้องหน้งสืออ้างอิง ทางมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ (ให้บริการที่ชั้น 3) และวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ให้บริการที่ชั้น 4) โดยจัดเก็บหนังสืออ้างอิง ตามประเภทของหนังสืออ้างอิง เช่น พจนานุกรม สารานุกรม หนังสือรายปี นานานุกรม บรรณานุกรม ดรรชนี ฯลฯ นอกจากนี้ ตามนโยบายของศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่เคยปฏิบัติมา ให้จัดเก็บหนังสือเล่มใหญ่ ภาพสีสวย มีราคาแพง หนังสือราชวงศ์ เป็นหนังสืออ้างอิง และให้บริการในห้องนี้ด้วย โดยมิให้ยืมออกเหมือนกับหนังสืออ้างอิง อื่นๆ

Pain Point: หนังสืออ้างอิงไม่ทันสมัย และผู้ใช้ไม่สามารถเข้าถึงหนังสืออ้างอิงได้

การวิเคราะห์หาสาเหตุ และเสนอแนวทางการแก้ปัญหา:

สาเหตุของปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา 
1. ไม่ทันสมัย 1. สำรวจและดึงหนังสืออ้างอิงที่ไม่ทันสมัยออกจากชั้น
2. เลิกผลิตเป็นตัวเล่ม มีรูปแบบดิจิทัลทดแทน 2. ทำ QR Code เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงรูปแบบดิจิทัล
3. ยืมออกไม่ได้ แต่มีความต้องการยืมออก (หนังสือสวย หนังสือราชวงศ์) 3. พิจารณาทบทวนหนังสืออ้างอิงให้ยืมออกได้
4. แยกหนังสืออ้างอิงที่ยืมออกได้ ออกจากชั้นหนังสืออ้างอิงที่ห้ามยืมออกได้

ศูนย์บรรณสารสนเทศ  ได้ดำเนินการ ดังนี้

1. พิจารณาหนังสืออ้างอิง โดยดึงหนังสืออ้างอิงที่ไม่ทันสมัยออกจากชั้นหนังสือ หรือมีการผลิตในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  ออกจากชั้นหนังสืออ้างอิง ทำให้มีแต่หนังสืออ้างอิงที่จำเป็นในการใช้อ้างอิง ได้เนื้อที่ของชั้นหนังสือ และพื้นที่ห้อง  รวมทั้งดึงหนังสือราชวงศ์ หนังสือภาพสวยงาม ที่อยู่ในชั้นหนังสืออ้างอิง ในแต่ละหมวดออกมาแยกไว้ต่างหาก เพื่อพิจารณาดำเนินการในข้อ 3 ต่อไป

2. จัดทำ QR Code สำหรับหนังสืออ้างอิงบางประเภทที่มีการผลิตเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์และสามารถให้เข้าถึงทางออนไลน์ติดไว้ที่ชั้นหนังสืออ้างอิงแต่ละประเภท เช่น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  https://dictionary.orst.go.th/ เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้การเข้าถึงออนไลน์ได้อีกช่องทางหนึ่ง

3. พิจารณาแนวทางในการดำเนินการและการให้บริการหนังสืออ้างอิงประเภท หนังสือราชวงศ์ หนังสือภาพสวยงาม (ร่วมหารือและดำเนินการกับแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ และแผนกทรัพยากรการเรียนรู้)

3.1  พิจาณาเนื้อหาที่สามารถจัดเก็บไว้ที่ชั้นหนังสือทั่วไป  (แผนกบริการฯ พิจารณาในเบื้องต้น และแผนกจัดหาฯ ช่วยพิจารณาหนังสือที่จะนำออกเป็นหนังสือทั่วไป) ทำให้หนังสือที่เคยยืมออกไม่ได้ สามารถยืมออกได้ และมีการปรับ location เป็นหนังสือทั่วไป

3.2 ไม่มีการ re-cataloging หนังสืออ้างอิงที่เป็นราชวงศ์ หนังสือสวยงาม เพราะมีเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นนโยบายในสมัยแรกเริ่มตั้งแต่ตั้งศูนย์บรรณสารสนเทศ

3.3 ปรับนโยบายให้เป็นหนังสืออ้างอิงที่ยืมออกได้ เนื่องจากจากสถิติมีการขอยืมออกเป็นกรณีพิเศษ โดย

3.3.1 เปลี่ยน location เป็น Special Book 3rd/Flr. (แผนกทรัพยากรการเรียนรู้ เปลี่ยน location ในระบบ)

3.3.2 กำหนดให้ยืมได้จำนวน 7 วัน ต่อรายการ (แผนกทรัพยากรการเรียนรู้ กำหนดสิทธิ์การยืมในระบบ)

3.3.3 แยกหนังสืออ้างอิงประเภทนี้ ออกมาให้บริการด้านนอกห้องหนังสืออ้างอิง และจัดทำป้าย Special Book

การจัดการชั้นหนังสือ (Shelf Management)
ต.ค. 17th, 2020 by supaporn

ห้องสมุดทำหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ (ซึ่งก็เป็นหนังสือที่มีสัดส่วนมากกว่าสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ) จัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ เป็นระบบ ระเบียบ และมีเครื่องมือสืบค้น เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้น

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดให้บริการ เริ่มเปลี่ยนเป็นดิจิทัลมากขึ้น ความสนใจในการอ่านตัวเล่มหนังสือเริ่มลดน้อยลง บทบาทของห้องสมุดในแง่ของการเข้าใช้ห้องสมุดเพื่อการอ่านหนังสือลดลง ห้องสมุดต้องปรับการจัดหาหนังสือเป็นรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น ปรับบทบาทการให้บริการผ่านออนไลน์มากกว่าเดิม ปรับบทบาทจากการใช้พื้นที่เพื่อการนั่งอ่านหนังสือ  และในยุคการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 ห้องสมุดต้องปรับพื้นที่นั่งอ่าน ให้เป็นพื้นที่ที่รองรับการใช้งานของผู้เรียนในยุคนี้มากขึ้น  เพราะการเรียนการสอนต้องพัฒนาทักษะของนักศึกษา คือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) คือ 4 ทักษะที่จำเป็น หรือ 4Csได้แก่ การคิดสร้างสรรค์ (Creativity and Innovation) คิดนอกกรอบและต่อยอดเป็น มีวิจารณญาณ (Critical Thinking and Problem Solving) คิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาเองได้ การสื่อสาร (Communication) สื่อสารได้ถูกต้องเหมาะสม และ การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration)

การปรับพื้นที่ในห้องสมุด ในขณะที่ยังมีหนังสืออยู่เต็มชั้นหนังสือ ห้องสมุดแต่ละแห่งคงจะมีนโยบายในการจัดการตามบริบทของตนเอง เช่น บางแห่งมีพื้นที่ในการจัดเก็บหนังสือแยกต่างหากจากชั้นหนังสือที่ให้บริการทั่วไป เป็นอาคารหรือสถานที่ ที่สามารถใช้เป็นคลังเก็บหนังสือ บางแห่งอาจจะไม่มีพื้นที่จัดเก็บเลย เพราะไม่มีอาคารที่นอกเหนือจากอาคารที่ให้บริการ แต่ไม่ว่าจะเข้าข่ายลักษณะใดก็ตาม การจะดึงหนังสือออกจากชั้นหนังสือที่ให้บริการ ห้องสมุดแต่ละแห่งต้องวางนโยบายในการดึงหนังสือออก

ปัจจัยใดบ้างที่ต้องนำมาพิจารณาในการดึงหนังสือออกจากชั้นหนังสือ Read the rest of this entry »

Shelf management กรณีวิทยานิพนธ์
พ.ค. 4th, 2019 by kalyaraksa

ศูนย์บรรณสารสนเทศมีนโยบายในการจัดพื้นที่ของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ เนื่องจากต้องมีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะในแง่ของการเพิ่มพื้นที่นั่งอ่าน ซึ่งมหาวิทยาลัยไม่มีนโยบายในการขยายพื้นที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือมีการก่อสร้างอาคารใหม่ ศูนย์บรรณสารสนเทศจึงต้องพิจารณาแนวทางในการจัดการพื้นที่ โดยเริ่มพิจารณาจากทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยมีการพิจารณาทรัพยากรสารสนเทศ ดังนี้

1. ทรัพยากรสารสนเทศประเภททีไม่มีจำเป็นในการให้บริการในลักษณะที่เป็นสิ่งพิมพ์ เนื่องจากมีการดำเนินการในลักษณะที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์แล้ว เช่น วิทยานิพนธ์
2. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีจำนวนมากเกินความต้องการหรือการให้บริการ
3. ทรัพยากรสารสนเทศที่มียอดจำนวนการยืมน้อย
4. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเก่า ล้าสมัย เช่น กฎหมาย พระราชบัญญัติต่างๆ เป็นต้น Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa