SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
บันทึกความทรงจำกับการทำ Oral history : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า
มิ.ย. 30th, 2019 by matupode

 


Oral history  ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า เป็นงานอย่างหนึ่งของนักจดหมายเหตุ ถามว่าทำไมต้องเป็นอย่างนั้น เพราะโดยปกตินักจดหมายเหตุจะให้ความสำคัญกับเอกสารลายลักษณ์ หรือเอกสารต้นฉบับเป็นอันดับแรก นั่นเพราะบางครั้งองค์ ความรู้ ประสบการณ์ที่คนๆ หนึ่งมี ความเชี่ยวชาญก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นักจดหมายเหตุจึงต้องหาวิธีการต่อยอดองค์ความรู้เหล่านั้นไม่ให้สูญหาย ประกอบกับเอกสารต้นฉบับบางครั้งเนื้อหาของเอกสารก็ไม่ได้สมบูรณ์เสมอไป การได้มาซึ่งความครบถ้วนของข้อมูลจึงเป็นงานส่วนหนึ่งของนักจดหมายเหตุ

Oral history หรือ “ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า” หมายถึง การบันทึก อนุรักษ์ และตีความหมายของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่มาจากประสบการณ์ส่วนตัวและความเห็นของผู้เล่าเหตุการณ์ที่ได้จากการสัมภาษณ์ เป็นการสร้างข้อมูลที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่ใช่หลักฐานที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เป็นการสัมภาษณ์เรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้ผ่านประสบการณ์นั้นโดยตรง หรือเป็นเรื่องราวชีวิตของผู้ถูกสัมภาษณ์เอง การหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากการสัมภาษณ์เป็นหลักฐานประเภทหนึ่ง นอกเหนือจากหลักฐานโบราณคดีตัวเขียน หลักฐานประเภทสิ่งของ และภาพบันทึกต่างๆ Read the rest of this entry »

วันนี้ในอดีต “ ๒๔ มีนาคม : วันหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ”
มี.ค. 23rd, 2016 by matupode

03

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ถึงมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยมี ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ ถวายการต้อนรับ วันที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2537

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พัฒนามาจากวิทยาลัยหัวเฉียวโดยทบวงมหาวิทยาลัยอนุญาตให้เปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕  และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้ฯ พระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ”

มหาวิทยาลัยฯ แห่งนี้ก่อตั้งสำเร็จเพราะความปรารถนาของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และแรงดลใจของ ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ ประธานมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งในสมัยนั้น ร่วมกับชาวจีนโพ้นทะเลที่ต้องการแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงครองราชสมบัติยาวนานและปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนาที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โดยร่วมกันบริจาคเงินเพื่อซื้อที่ดินบริเวณถนนบางนา-ตราด กม.๑๘ จำนวน ๑๔๐ ไร่ เพื่อสร้างมหาวิทยาลัย เพราะเล็งเห็นว่าการสร้างสถาบันการศึกษาจะช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ออกไปพัฒนาประเทศและช่วยเหลือสังคมได้ ดังปณิธาณของมหาวิทยาลัย “เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม”

CAM01049-1

เอกสารประวัติศาสตร์ บันทึกจากสำนักราชเลขาธิการ เรื่อง ทรงรับเชิญ เสด็จฯ ไปทรงเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

และเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๗  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติด้วยพระองค์เอง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อมหาวิทยาลัย คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาที่จะต้องสำนึกจารึกจดจำไว้ตลอดกาลนาน

ร่วมย้อนรำลึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไปกับการประมวลภาพวันสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในวันที่ “๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๗” และความประทับใจของอดีตอธิการบดี แพทย์หญิงกรรณิการ์ ตันประเสริฐ ซึ่งมีโอกาสได้ร่วมรับเสด็จฯ กับบทความ “ชื่นชมพระบารมี” ไว้ว่า Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa