SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
โภชนาการชะลอวัย
พ.ค. 11th, 2016 by sirinun

โภชนาการชะลอวัย

โภชนาการชะลอวัย

ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ไม่อยากแก่ อยากที่จะเป็นหนุ่มเป็นสาวกัน มีสุขภาพที่ดี อายุยืนยาว สนใจเรื่องอาหารการกิน และการออกกำลังกาย “โภชนาการชะลอวัย” เล่มนี้ได้รวบรวมผลงาน ประสบการณ์ งานวิจัย และความรู้จากการเป็นวิทยากรของผู้เขียนอย่างมากมาย  เพื่อไขข้อข้องใจในประเด็นต่างๆ และให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนเภสัชภัณฑฺหรือการใช้อาหารเป็นยาในการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเอง และคนในครอบครัวอย่างเป็นระบบ รวมถึงคนรอบข้างให้เป็นสังคมชะลอวัย ใส่ใจในการกิน  หมวดหมู่ QU145 อ881ภ 2559

รายการอ้างอิง

เอกราช บำรุงพืชน์. (2559). โภชนาการชะลอวัย.  กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

แก่ช้าลงแน่แค่ปล่อยให้ท้องหิว
พ.ค. 10th, 2016 by sirinun

แก่ช้าลงแน่แค่ปล่อยให้ท้องหิว

แก่ช้าลงแน่แค่ปล่อยให้ท้องหิว

“แก่ช้าลงแน่แค่ปล่อยให้ท้องหิว” เป็นหนังสือที่เขียนโดยนายแพทย์โยะชิโนะริ นะงุโมะ นายแพทย์ชื่อดังของประเทศญี่ปุ่น บอกเคล็ดลับความอ่อนเยาว์และสุขภาพดี โดยการดูแลรักษาสุขภาพของครอบครัวให้มีร่างกายที่แข็งแรงปราศจากโรค ด้วยการหมั่นออกกำลังกาย และทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนา ทำจิตใจให้ปราศจากความกังวลแล้วยังปล่อยวางความเครียดต่างๆ ให้น้อยลงทำให้มีวัยอ่อนเยาว์คืนสู่วัยหนุ่มสาวลงด้วย  หมวดหมู่ QU145 น366ก 2558

รายการอ้างอิง

นะงุโมะ, โยะชิโนะริ. (2558). แก่ช้าลงแน่แค่ปล่อยให้ท้องหิว (Karada no naka kara kirei ni naru)  (โยซูเกะ, ผู้แปล). พูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ, (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : วีเลิร์น.

จริยธรรมในวิชาชีพแพทย์
พ.ค. 10th, 2016 by sirinun

จริยธรรมในวิชาชีพแพทย์

จริยธรรมในวิชาชีพแพทย์

ในสังคมโลกาภิวัตน์นี้ วิชาชีพแพทย์ย่อมเป็นที่ยอมรับและได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างมากของคนในสังคม เพราะแพทย์เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการรักษาและบำบัดความเจ็บป่วย จึงต้องมีจริยธรรมในอาชีพของตนเอง  “จริยธรรมในวิชาชีพแพทย์” หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานวิจัยที่คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยจนสำเร็จและได้นำเสนอต่อสาธารณชน เพื่อรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง มีประโยชน์อย่างมากต่อแพทย์ที่จะรักษาผู้ป่วยได้ตามระเบียบปฏิบัติโดยไม่ผิดจรรยาบรรณแพทย์  หมวดหมู่W50 ว689ร 2559

รายการอ้างอิง

วิรัช ทุ่งวชิรกุล, แสงเทียน อยู่เถา และ มานัส โพธาภรณ์. (2559). จริยธรรมในวิชาชีพแพทย์. นครปฐม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.

มายาคติว่าด้วยสารกำจัดศัตรูพืชที่อ้างว่าปลอดภัย (The myths of safe pesticides)
พ.ค. 4th, 2016 by sirinun

มายาคติว่าด้วยสารกำจัดศัตรูพืชที่อ้างว่าปลอดภัย

มายาคติว่าด้วยสารกำจัดศัตรูพืชที่อ้างว่าปลอดภัย

อาหารปนเปื้อนสารเคมีกำลังเป็นภัยคุกคามและนำมาสู่ความเสี่ยงต่อสุขภาพของคนในสังคมมาขึ้นเรื่อยๆ ขณะนี้การเกษตรของประเทศไทยเป็นแบบเกษตรเคมีแทบทั้งสิ้น มีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่ยังคงวิถีเกษตรพื้นบ้านหรือเกษตรชีวภาพ ทำให้อาหารจึงมีการปนเปื้อนสารเคมีเป็นส่วนใหญ่ มีผลกระทบต่อร่างกายผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ดังนั้นนักการเกษตรอินทรีย์ อองเดร ลิว ได้สำรวจข้อมูลในวารสารวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความเชื่อถือในวงการ และนำเสนอให้เห็นว่า อุตสาหกรมการเกษตรสมัยใหม่ที่ผลิตอาหารออกมาวางขายตามท้องตลาดมีสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างเป็นจำนวนมาก หนังสือเล่มนี้มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค เพื่อความปลอดภัยในการเลือกซื้ออาหารเกษตรต่อไป หมวดหมู่ SB951 ล461ม 2558

รายการอ้างอิง

ลิว, อองเดร. (2558). มายาคติว่าด้วยสารกำจัดศัตรูพืชที่อ้างว่าปลอดภัย (The myths of safe pesticides).  (เพ็ญนภา หงส์ทอง, ผู้แปล). ชนิดา แบบฟอร์ด, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : สวนเงินมีมา.

HACCP การจัดการความปลอดภัยอาหาร
พ.ค. 4th, 2016 by sirinun

HACCP การจัดการความปลอดภัยอาหาร

HACCP การจัดการความปลอดภัยอาหาร

ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตสินค้าอาหาร ที่มีการส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกและผลิตอาหาร เพื่อการบริโภคภายในประเทศ สินค้าอาหารต้องมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหารเดียวกันสำหรับผู้บริโภค หนังสือเล่มนี้ ได้รวบรวมเอกสารต่างๆ รวมทั้งประสบการณ์ของผู้เขียน เพื่อช่วยพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความปลอดภัยอาหาร ให้มีศักยภาพรอบด้านทั้งองค์ความรู้และความเข้าใจในหลักการการจัดการความปลอดภัยอาหาร และนำมาประยุกต์และปฏิบัติได้จริงในการแก้ไขปัญหาจากอันตรายต่างๆ ในกระบวนการผลิตอาหารแต่ละชนิดผลิตภัณฑ์ของแต่ละโรงงานได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ หมวดหมู่ TP373.5 ป473อ 2558

รายการอ้างอิง

ปรียา วิบูลย์เศรษฐ์, สุดสาย ตรีวานิช  และวราภา มหากาญจนกุล. (2558). HACCP การจัดการความปลอดภัยอาหาร. กรุงเทพฯ : ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

99 ผลงาน จาก 99 สมอง ของนักวิทยาศาสตร์โลก
พ.ค. 4th, 2016 by sirinun

99 ผลงาน จาก 99 สมอง ของนักวิทยาศาสตร์โลก

99 ผลงาน จาก 99 สมอง ของนักวิทยาศาสตร์โลก

ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์กับความสร้างสรรค์ของนักวิทยาศาสตร์ ทำให้มนุษยโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้รับความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตที่ทำให้ความเจริญทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ควบคู่กันไป หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่รวบรวมประวัติ และผลงานของนักวิทยาศาสตร์จาก 99 ท่านไว้ให้ผู้ที่สนใจด้านวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาและเรียนรู้ผลงานของนักวิทยาศาสตร์แต่ละบุคคล เพื่อประโยชน์และความก้าวหน้าในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมวดหมู่ Q141 อ576ก 2558

รายการอ้างอิง

อิศริยา นวลจรรยา. (บรรณาธิการ).  99 ผลงาน จาก 99 สมอง ของนักวิทยาศาสตร์โลก. กรุงเทพฯ : กอแก้ว.

ชีวิต(ไม่)โรแมนติก ของเกษตรกรหนุ่มสาว
พ.ค. 3rd, 2016 by sirinun

ชีวิต (ไม่) โรแมนติกของเกษตรกรหนุ่มสาว

ชีวิต (ไม่) โรแมนติกของเกษตรกรหนุ่มสาว

เกษตรกรหนุ่มสาวในยุคปัจจุบันมีบทบาททางสังคมเป็นอย่างมาก พวกเขาถึงจะไม่มีชื่อเสียง หรือเงินทองมากมาย แต่ก็เป็นชาวนาหรือเกษตรกรที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ มีวิถีชีวิตและศรัทธาในการทำอาชีพที่พวกเขาได้รับมรดกตกทอดกันมาจากบรรพบุรุษโดยจิตวิญญาณแห่งความกล้าหาญที่จะประกอบอาชีพที่อยู่กับธรรมชาติ ตามท้องไร่ท้องนา หนังสือเล่มนี้ได้ถ่ายทอดความรู้สึกและทัศนคติที่มีต่อเกษตรกรเป็นอย่างดี  หมวดหมู่ S471.T5 ว583ช 2558

รายการอ้างอิง

วิทยากร โสวัตร. (2538). ชีวิต(ไม่)โรแมนติก ของเกษตรกรหนุ่มสาว. กรุงเทพฯ : สวนเงินมีมา.

50 นักวิทยาศาสตร์ที่โลกต้องบันทึก
พ.ค. 3rd, 2016 by sirinun

50 นักวิทยาศาสตร์ ที่โลกต้องบันทึก

50 นักวิทยาศาสตร์ ที่โลกต้องบันทึก

จากผลงานของนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ผ่านการศึกษาค้นคว้ามาตั้งแต่ครั้งในอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ได้สร้างคุณูปการแก่มนุษย์เป็นอย่างมาก เช่น การสื่อสาร การคมนาคม การศึกษา การสาธารณสุข เป็นต้น โดยเฉพาะการดำรงชีวิตในปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีบทบาทอย่างมากในการดำรงชีวิต ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมชีวประวัตินักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ได้้ทำประโยชน์ได้ให้แก่มวลมนุษย์โลก เหมาะสำหรับผู้อ่านที่สนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื้อหากระชับ อ่านง่าย เข้าใจง่าย  หมวดหมู่ Q141 ป494ห 2558

รายการอ้างอิง

ปวิชญ์ อริยศิลป์. (บรรณาธิการ).  (2558).  50 นักวิทยาศาสตร์ที่โลกต้องบันทึก. กรุงเทพฯ : มายิก.

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพวารสารสู่ประชาคมอาเซียน
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2559 เวลา 9.00-16.00 น. บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพวารสารสู่ประชาคมอาเซียน ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ อาคาร 2 ชั้น 8 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เพื่อจะได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของการจัดทำคุณภาพวารสารวิชาการของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thailand Citation Index – TCI) เพื่อจะได้มีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพวารสารของไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการหรือผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดทำวารสาร เพื่อพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยต่อไป

ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thailand Citation Index – TCI) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐาน TCI ขึ้น 3 รอบ ในปี พ.ศ. 2555, 2556 และ 2558 ดังนั้น วารสารวิชาการที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ประเมินของ TCI นั้น ประกอบด้วย Read the rest of this entry »

Knowledge Sharing “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.”
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันที่ 25 เมษายน 2559 เวลา 9.00-12.00 น. แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม Knowledge sharing หัวข้อ “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.” โดยผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำหน้าที่เป็น Facilitator ในการจัดการความรู้เกี่ยวกับการรับไฟล์วิทยานิพนธ์ งานวิจัยของ มฉก. จากเดิม ซึ่งอาจจะมีกระบวนการที่ไม่เป็นระบบ นำมาหารือและจัด work flow ของการไหลของงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม โดย

1. ประสานงานกับบัณฑิตวิทยาลัย และสำนักพัฒนาวิชาการในการส่งไฟล์วิทยานิพนธ์และงานวิจัยอย่างสม่ำเสมอ หรือกำหนดเป็นระยะเวลาที่แน่นอน

2. ตัวเล่มของวิทยานิพนธ์ งานวิจัย ส่งมายังแผนกจัดหาและวิเคราะห์ ผ่านหัวหน้าแผนกฯ เพื่อส่งต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายในการลงรายการบรรณานุกรมในระบบห้องสมุดและลงรายการเมทาดาทาของ THAILIS

3. ส่งไฟล์ไปยังแผนกทรัพยากรการเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของไฟล์ การลงเมทาดาทาในไฟล์ การใส่ watermark รวมทั้งการทำเป็น PDF/A

4. ส่งไฟล์เข้าระบบ THAILIS

ส่วนแผ่นซีดีที่บันทึกวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยนั้น ให้ทำลายก่อนการทิ้ง

ในส่วนของ Collection สิ่งพิมพ์พิเศษ มฉก. นั้น เนื่องจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการผลิตสิ่งพิมพ์ในวาระและโอกาสต่าง ๆ จึงเห็นสมควรที่จะมีการเก็บเป็นสิ่งพิมพ์พิเศษ เฉพาะของมหาวิทยาลัย โดยมีการกำหนดประเภทของสิ่งพิมพ์ตามเนื้อหาและกำหนดรหัสตามเนื้อหา แบ่งตามคณะ หน่วยงานที่ออกสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือที่ระลึก มีรหัสเป็น 1 งานวิจัย กำหนดรหัสเป็น 15 เป็นต้น เพื่อให้สามารถรวบรวมสิ่งพิมพ์ มฉก. ไว้ในที่เดียวกันและได้รับการจัดประเภทและหมวดหมู่ของสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วในบางส่วนเป็นตัวอย่าง

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa