การเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ
Aerobic Dance for Health
บทคัดย้อ:
การเต้นแอโรบิก (aerobic dance) เพื่อสุขภาพเป็นการออกกำลังกายอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยพัฒนด้านความแข็งแรง ความอดทน ความมีพลัง นอกจากนี้ยังเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจ ปอด กล้ามเนื้อ ข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย อีกทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อน ครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน ประกอบกับช่วยพัฒนาทางด้าน จิตใจ อารมณ์ และสังคม ช่วยให้มีสุขภาพที่ดี ปฏิบัติภาระหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีบุคลิกภาพที่ดี จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของการเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ คือ ก่อให้เกิดความสนุกสนานควบคู่ไปกับเสียงเพลง โดยมีจังหวะดนตรีเป็นเครื่องกำหนดการเคลื่อนไหวร่างกาย ถ้าจะให้ได้ผลด้านสุขภาพและสมรรถภาพจะต้องมีการจัดโปรแกรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผู้ที่จะออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก ทำให้การเต้นแอโรบิกเป็นกิจกรรมบริหารร่างกายที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาบได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้นโดยเฉพาะการออกกำลังกายที่เรียกว่า การเต้นแอโรบิก (aerobic dance)
อังคะนา ศรีตะลา. (2547). การเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 88-101.
อ่านบทความฉบับเต็ม
จิตวิญญาณ : การดูแล
บทคัดย่อ:
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คำนิยาม คำว่า สุขภาพ หมายถึง ภาวะที่เป็นสุขทางกาย ภาวะที่เป็นสุขทางใจ ภาวะที่เป็นสุขทางสังคม และภาวะที่เป็นสุขทางจิตวิญญาณ ซึ่งทั้งสี่มิตินี้มิได้แยกจากกันหากแต่เชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องในกันและกันอย่างแยกไม่ออก แต่บุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลภาวะสุขภาพของผู้มารับบริการมักจะละเลยมิติทางจิตวิญญาณของผู้รับบริการ ซึ่งอาจเนื่องจากการยึดติดกับรูปแบบการรักษาแบบแยกส่วน ทำให้ขาดการมองบุคคลในรูปแบบองค์รวม หรือจากการที่บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญของมิติจิตวิญญาณของผู้รับบริการ แต่หลีกเลี่ยงไม่กล้าสัมผัส เนื่องจากขาดความรู้ที่ถูกต้อง ในที่นี้ได้อธิบายความหมายของจิตวิญญาณ เสนอแนวทางการพัฒนาตนเองของบุคลากรในการเข้าถึงซึ่งจิตวิญญาณของผู้รับบริการ เช่น การประเมินสุขภาวะด้านจิตวิญญาณของบุคคล แนวทางการพยาบาลเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านจิตวิญญาณ และวิธีประเมินผลว่าผู้รับบริการได้รับการตอบสนองด้านจิตวิญญาณแล้วหรือไม่
ชนิกา เจริญจิตต์กุล. (2547). จิตวิญญาณ : การดูแล. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 78-87.
โรคอ้วน : อันตราย ผลกระทบ และแนวทางการรักษา
ปัจจุบันภาวะอ้วนจัดเป็นโรคหนึ่งที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุข เนื่องจากส่งผลกระทบให้เกิดโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ โรคกระดูกและข้อ โรคมะเร็ง ความผิดปกติของแมแทบอลิซึม การเจริญเติบโตด้านจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ เพราะเนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue) จะหลั่งสารหลายชนิด ได้แก่ ฮอร์โมนเล็ปติน (leptin) ซึ่งควบคุมความหิวและการใช้พลังงาน TNF-α รบกวนการส่งสัญญาณของตัวรับอินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะดื้อต่ออินซูลินในคนอ้วน PAI-1 ยับยั้งการสลายไฟบริโนเจน ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือ PGI2 PGF2α ควบคุมการทำงานของการแข็งตัวของเลือก การอักเสบ การตกไข่ การมีระดู และการหลั่งกรด TGF-β ควบคุมการตอบสนองทางชีววิทยารวมทั้งการแบ่งเซลล์ การทำลายเซลล์ IGF-1 กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์และเป็นตัวกลางที่มีผลต่อฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโต เป็นต้น การวินิจฉัยโรคอ้วนในผู้ใหญ่ใช้การวัดเส้นรอบเอวและค่าดัชนีมวลกายควบคู่กัน ในเด็กใช้ดัชนีมวลกายตามอายุและการเทียบน้ำหนักกับส่วนสูงตามเปอร์เซ็นต์ไทล์ของกราฟการเจริญเติบโต โรคอ้วนสามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบแผนการดำเนินชีวิต การเลือกรับประทานอาหารควบคู่กับการออกกำลังกาย ซึ่งควรกระทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอด้วยความร่วมมือกันของทุกๆ ฝ่ายให้ตระหนักถึงอันตรายและผลกระทบของโรคอ้วน
สุจิตรา ชัยกิตติศิลป์. (2547). โรคอ้วน : อันตราย ผลกระทบ และแนวทางการรักษา. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 66-77.
แธลเล็ทส์ ภัยใกล้ตัว
สารแธลเล็ทส์ (phthalates) เป็นชื่อกลุ่มสารเคมีที่มีสูตรโครงหลักเป็นแธลเล็ทส์เอสเทอร์ (phathalates ester) ซึ่งสารกลุ่มนี้จัดเป็นพลาสติไซเซอร์ (plasticizer) ชนิดหนึ่ง นิยมใช้เติมในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์ความงามต่างๆ จากการที่มีการใช้สารแธลเล็ทส์อย่างแพร่หลาย จึงได้มีการศึกษาความเป็นพิษของสารแธลเล็ทส์ พบว่าสารเหล่านี้แสงดความเป็นพิษเรื้อรัง เป็นอันตรายต่ออวัยวะหลายชนิดของสัตว์ทดลอง เช่น อวัยะสืบพันธุ์ สมอง หัวใจ และตับ เป็นต้น ก่อให้เกิดมะเร็ง และทำให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ผิดปกติ นอกจากนี้ยังพบว่าสารแธลเล็ทส์ สามารถถ่ายเทไปสู่สิ่งแวดล้อมได้ ทั้งทางน้ำและดิน ซึ่งทำให้เกิดมลภาะและรบกวนระบบนิเวศน์
พัชรี ภคกษมา. (2547). แธลเล็ทส์ ภัยใกล้ตัว. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 58-65.
ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือน
ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือนสามารถแบ่งได้กว้างๆ 4 กลุ่ม คือ 1. ผลิตภัณฑ์ป้องกัน กำจัดแมลงและยุง 2. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ 3. ผลิตภัณฑ์ลบคำผิดและตัวทำละลาย 4. ผลิตภัณฑ์ซักผ้าขาวและซักแห้ง ในการกำจัดแมลงและยุงที่ผลิตภัณฑ์แบบสเปรย์ฉีดพ่นเป็นละอองฝอย มีฤทธิ์กำจัดแมลงและยุงได้เพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลงสาบแบบเหยื่อที่มีประสิทธิภาพ ทำให้แมลงสาบตายได้ทั้งรัง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ ที่เพียงเทราดน้ำยาทิ้งไว้ก็สามารถทำความสะอาดได้ หรือ ผลิตภัณฑ์ซักผ้าขาวที่ซักแล้วทำให้ผ้าขาวเหมือนใหม่ ผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างผลิตภัณฑ์บางส่วนที่ใช้ในครัวเรือนซึ่งจะเกิดประโยชน์ได้มากจริงหรือ และเป็นผลิตภัณฑ์อันตรายสำหรับผู้บริโภคหรือไม่ ผู้บริโภคควรมีความรู้และเข้าใจสัญลักษณ์ที่มีในผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งการเก็บรักษาอย่างไรให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม
ศรมน สุทิน. (2547). ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือน. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 42-57.
สารพิษเตโตรโดท็อกซินในปลาปักเป้า
ปลาปักเป้าเป็นปลาชนิดหนึ่งที่พบได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม ซึ่งมีมากมายหลายชนิด และพบว่าปลาปักเป้าบางชนิดทำให้เกิดพิษได้ โดยในประเทศไทยมีปลาปักเป้าที่มีพิษอยู่ประมาณ 20 ชนิด ซึ่งการทำให้เกิดพิษของปลาปักเป้านี้ เนื่องมาจากสารพิษชนิดหนึ่งที่อยู่ภายในอวัยวะชองปลาปักเป้าเรียกสารพิษนี้ว่า “เตโตรโดท็อกซิน” (tetrodotoxin) สารพิษนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์จะมีผลต่อระบบการทำงานของช่องโซเดียมและโพแทสเซียมของร่างกาย ซึ่งจะส่งผลต่อไปยังการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอาการชาและเป็นอัมพาตได้ แต่อย่างไรก็ตาม ปลาปักเป้าก็สามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้ เช่น ชาวญี่ปุ่น จะชอบรับประทานเนื้อปลาปักเป้าหรือเรียกว่าปลา “ฟุกุ”(fugu) มาก โดยในการจะรับประทานปลาปักเป้านั้นจะต้องรู้วิธีการนำอวัยวะที่มีสารพิษนี้ออกไปเสียก่อน สำหรับในประเทศไทยพบว่า ได้เกิดเหตุการณ์รับประทานปลาเนื้อไก่เข้าไปแล้วเกิดอาการเป็นพิษ เมื่อกระทรวงสาธารณสุขได้นำปลาเนื้อไก่ มาตรวจสอบแล้ว จึงพบว่า อาการเป็นพิษที่เกิดขึ้นมาจากสารพิษเตโตรท็อกซิน ดังนั้นปลาเนื้อไก่ก็คือ “ปลาปักเป้า” นั่นเอง
สุวรรณี สายสิน. (2547). สารพิษเตโตรโดท็อกซินในปลาปักเป้า. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 33-41.
กิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ในวิชาภูมิคุ้มกันวิทยาพื้นฐาน : รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
วิชาภูมิคุ้มกันวิทยาพื้นฐานเป็นวิชาที่มีเนื้อหาซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน ต้องอาศัยความสามารถของผู้เรียนในการผนวกความรู้เข้าด้วยกันควบคู่ไปกับการใช้จินตนาการ โดยการบูรณาการความรู้เข้ากับการลงมือกระทำเพื่อให้เกิดทักษะและความเข้าใจเนื้อหาของวิชา การจัดกิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งสำหรับการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้เลือกจากเนื้อหาที่มีความสำคัญเป็นแกนหลักของวิชาคือเรื่อง แอนติเจน แอนติบอดี คอมพลีเมนต์ และเทคนิคพื้นฐานทางภูมิคุ้มกันวิทยามาเป็นแบบจำลองของการศึกษา โดยจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของเนื้อหาในแต่ละเรื่อง แต่เน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้เนื้อหาด้วยตนเองแล้วออกแบบ กิจกรรมตามความถนัด นำเนื้อหาที่เป็นนามธรรมมาถ่ายทอดให้เป็นรูปธรรมหรือจัดกิจกรรมที่อาจารย์เป็นผู้ดำเนินการเอง แต่ให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบของ edutainment เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาด้วยความสนุกสนาน กิจกรรมในรูปแบบดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในภาคการศึกษาที่ 1/2545 ที่คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา เพิ่มขึ้นจากเดิมเมื่อพิจารณาจากร้อยละของจำนวนนักศึกษาที่ได้คะแนนมากกว่า 50% และร้อยละของผู้ที่สอบผ่านในวิชานี้ กิจกรรมดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ผู้สอนได้ร่วมกันคิดขึ้นเพื่อแสวงหาวิธีการที่ดีและเหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
ศราวุธ สุทธิรัตน์ และ ทวีพร พันธุ์พาณิชย์. (2547). กิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ในวิชาภูมิคุ้มกันวิทยาพื้นฐาน : รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 27-32.
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถกับความเป็นอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์
เนื่องในอภิลักขิตสมัยมหามิ่งมงคลเฉลิมพระชนมพรรษาหกรอบสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระแม่เจ้าของชาวไทย ในปีพุทธศักราช 2547 ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ล้นพ้น มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจึได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตทูลเกล้าฯ ถวายบทความเรื่อง “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถกับความเป็นอัจริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์” โดยมีวัตถุประงค์ประการแรกเพื่อเทิดพระเกียรติคุณที่มีอยู่เป็นอเนกอนันต์และหลายหลายแก่ปวงประชาในแผ่นดินไทย จนเป็นที่ยกย่องสดุดีในนานาประเทศทั่วโลก ประการที่สอง เพื่อสแดงให้ทวยราษฎร์ทั่วไทยได้ประจักษ์พระปรีชาสามารถในความเป็นอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ในการดำเนินโครงการพระราชดำริ ดังเช่น โครงการป่ารักน้ำ เป็นต้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการดำเนินโครงการได้อย่างเป็นระบบแบบแผน มีการกำหนดสมมติฐานได้อย่างถูกต้องชัดเจน ตรงตามความต้องการของประชาราษฎร์ มีการวางแผนเพื่อพิสูจน์คำอธิบายในสมมติฐานที่ตั้งไว้ มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลองเพื่อหาข้อสรุปและทำโครงการขยายผล จึงทำให้โครงการพระราชดำริมีความชัดเจน แม่นยำ สามารถดำเนินการสำเร็จได้ด้วยดีในทุกท้องที่ และยังมีลักษณะเฉพาะการทำงานแบบบูรณาการทางหลักวิชา
ลาวัลย์ ชัยวิรัตน์นุกูล และ อภิญญา สุวรรณภัณฑ์. (2547). สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถกับความเป็นอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 5-14.
การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร
Development of a Self-Care Model for Matthayom Suksa 4 Students in the Department of General Education within Bangkok Metropolitan
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของนักเรียน ศึกษาความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างโรงเรียนขนาดใหญ่ 1 โรง จำนวน 24 คน และโรงเรียนขนาดเล็ก 1 โรง จำนวน 27 คน โดยรูปแบบการดูแลตนเองประกอบด้วยเรื่อง การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อนนอนหลับ การขับถ่าย การทำความสะอาดร่างกาย การเปลี่ยนแปลงทางด้านกายวิภาคและสรีรวิทยาในวัยรุ่น การมีเพศสัมพันธ์และความรู้เรื่องเพศศึกษาและการคุมกำเนิด การเสพสิ่งเสพติดและความรู้เรื่องสิ่งเสพติด การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย การดูแลสุขภาพจิตของตนเอง การป้องกันโรคและอุบัติเหตุต่าง ๆ Read the rest of this entry »
การศึกษารูปแบบการปฏิบัติงานเภสัชกรรมชุมชนที่พึงประสงค์ในกลุ่มผู้บริโภค : กรณีศึกษา ณ ศูนย์ยา มฉก. The Study of the Consumer’s Needs in the Community Pharmacy Practice : Case Study of HCU Drug Center
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดรูปแบบการปฏิบัติงานบริการเภสัชกรรมชุมชนให้สอดคล้องกับความประสงค์ของผู้บริโภค โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคของศูนย์ยา มฉก. จำนวน 403 ราย จำแนกเป็นประชาชนทั่วไป 158 ราย (ร้อยละ 39.2) บุคลากรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 94 ราย (ร้อยละ 23.3) และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย 151 ราย (ร้อยละ 37.5) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติที่ไม่ใช้ พาราเมตริก ครูสคาลวอลลิสและไค-สแควร์ Read the rest of this entry »