SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ห้องสมุดที่เคยเป็นและห้องสมุดในอนาคต
ก.ค. 4th, 2016 by navapat

ห้องสมุดที่เคยเป็นและห้องสมุดในอนาคต

เป็นบทความรวบรวม ความคิดเห็นของบรรณารักษ์  สถาปนิก และนักวิชาการจากหลายสาขา ซึ่งมารวมตัวกันที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology, MIT) เพื่อให้ความเห็น และชี้ให้เห็นอนาคตของห้องสมุด

นอกเหนือจากการเป็นคลังหนังสือแล้ว ห้องสมุดเก่าแก่แห่งเมืองอเล็กซานเดรีย ยังเป็นแหล่งค้นคว้าทางวิชาการให้กับบรรดานักวิชาการ   คำว่า “Mouseion” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า สถานที่ทำงานของเทพเจ้า Muses (เทพ Muses เป็นเทพแห่งวรรณกรรม และศิลปะ เป็นธิดาของเทพ Zeus ในตำนานกรีก : ผู้แปล)  ด้วยเหตุนี้ในห้องสมุดในสมัยแรกเริ่ม จึงประกอบไปด้วย  ห้องสอนหนังสือ (Exedra) โรงรับประทานอาหาร (Oinks) และ ทางเดินแบบมีหลังคา (Peripatos)  เมื่อสรุปรวมกันจึงแปลได้ว่า เป็นสถานที่นักวิชาการใช้สำหรับค้นคว้า และสนทนาทางวิชาการ  นักวิชาการ สามารถเดินถือตำราไปไหนมาไหนหรือรับประทานอาหาร ภายใต้ร่มเงานั้นได้ แม้ว่า ปัจจุบันเราอยู่ในยุคดิจิทัลแล้วก็ตาม แต่ความหมายโดยรวมของมันยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก

นับเป็นเวลา 1,000 ปีมาแล้ว ที่ห้องสมุด ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ และภาวะของสังคม ซึ่งแน่นอนว่า ข้อมูล และสภาวะทางสังคม ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ เช่น การเปลี่ยนจากโต๊ะดินเหนียว ไปเป็นตู้แบบที่มีล้อเลื่อน และกลายเป็นการสืบค้นแบบเข้ารหัส และเข้าสู่ยุคดิจิทัลในยุคปัจจุบัน ห้องสมุดจึงมีการปรับเปลี่ยน การอ่านออกเขียนได้ กลายเป็นมาตรฐาน เช่นเดียวกับ เหล่านักวิชาการ มีการรวมตัวกันมากขึ้น นิสัยการอ่านก็เปลี่ยนแปลง  มีวิธีการที่จะเข้าถึงข้อมูล หลายหมื่นข้อความ ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดมีการพัฒนา  มันได้เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางด้านข้อมูล และพฤติกรรมทางสังคม รวมทั้งนิสัยการอ่าน การเรียน  ล้วนแต่มีผลต่อรากฐานของห้องสมุด Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการปฏิบัติงานวิเคราะห์หมวดหมู่สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
เม.ย. 29th, 2016 by jittiwan

งานที่รับผิดชอบในแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยารสารสนเทศ คือ วิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท  โดยมีรายละเอียดในการเรียนการสอน แต่ละหลักสูตร ดังนี้

หลักสูตรปริญญาตรี

1. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย

  • สาขาวิชาการจัดการโรงพยาบาล
  • สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

2. คณะพยาบาลศาสตร์ ประกอบด้วย

  • การพยาบาลพื้นฐานฯ
  • การพยาบาลผู้ใหญ่
  • การพยาบาลเด็ก
  • การพยาบาลมารดาฯ
  • การพยาบาลอนามัยฯ
  • การพยาบาลสุขภาพจิตฯ
  • การพยาบาลผู้สูงอายุ
  • กฎหมายและจรรยาบรรณ

Read the rest of this entry »

ทำอย่างไรให้ห้องสมุดมีชีวิต
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

ทำอย่างไรให้ห้องสมุดมีชีวิต

บทคัดย่อ:

กล่าวถึงความหมายของห้องสมุดชีวิต วิธีทำให้ห้องสมุดมีชีวิตในด้านต่างๆ เช่น ด้านการบริหาร ด้านการบริการ ด้านบุคลากร ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ด้านระเบียบการใช้บริการ ด้านอาคาสถานที่ ด้านครุภัณฑ์และฐานข้อมูล ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านผู้ใช้บริการ เป็นต้น และการสนองตอบนโยบาย

ฤทธิชัย เตชะมหัทธนันท์. (2548). ทำอย่างไรให้ห้องสมุดมีชีวิต. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (16), 58-71.

อ่านบทความฉบับเต็ม

คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ก.พ. 4th, 2016 by dussa

ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งยุคสมัยเปลี่ยนก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย และการก้าวสู่ยุคสมัยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นรูปการณ์หลักก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อโลกใบนี้ทุกด้าน ไม่เว้นแม้แต่การดำรงอยู่ของห้องสมุดทั้ง ๆ ที่เป็นคลังความรู้ของมนุษยชาติมายาวนานก็ยังไม่อาจต้านความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากกระจายตัวของข้อมูลความรู้ และพฤติกรรมของผู้คนในการเข้าถึงหรือสแสวงหาข้อมูลความรู้ ห้องสมุดเราจึงต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง มิฉะนั้นเราอาจล้าหลังไม่ทันกับโลกในทศวรรษที่ 21 ดังนั้น หนังสือ “คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”  เล่มนี้จึงนำเสนอเนื้อหาในหลายมิติ เช่น

  • อนาคตห้องสมุด : องค์ความรู้  ประกอบด้วย ความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านห้องสมุด จากองค์กรเน้นคลังหนังสือ และข้อมูลไปสู่องคกรที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง ฯลฯ
  • กระบวนทัศน์ใหม่ : ปรากฎการณ์  ตามไปดู 4 จังหวัดขับเคลื่อนการอ่าน องค์ความณุ้จากระบวนการทำงานเชิงพื้นที่ ฯลฯ
  • ห้องสมุดอนาคต : กรณีศึกษา , ห้องสมุดแนวใหม่ก้าวข้ามแหล่งให้บริการยืมคืนหนังสือ ฯลฯนับว่าเป็นหนังสือที่น่าสนใจในการแสวงหาความรู้เพื่อต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง สามารถอ่านตัวเล่มได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ นะคะ เลขหมู่ Z665 ค431 2558

2046

รายการอ้างอิง
คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (2558). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้.

 

泰国通史 (The History of Thailand)
ธ.ค. 5th, 2015 by supaporn

泰国通史 (The History of Thailand)

泰国通史 (The History of Thailand)

ศูนย์บรรณสารสนเทศฯ ขอแนะนำหนังสือจีน เรื่อง 泰国通史  โดย 段立生 หรือมีชื่อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษว่า The History of Thailand เป็นหนังสือในชุด World History and Culture series กล่าวถึงอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทย ก่อนที่จะมีการตั้งอาณาจักรไทย คือ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา กรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์  ติดต่อหาอ่านได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 5 ห้องสมุดภาษาจีนค่ะ เลขหมู่ DS571 D667T 2014

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa