SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การบริหาร : การสร้างแรงจูงใจในที่ทำงาน
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

การบริหาร : การสร้างแรงจูงใจในที่ทำงาน

บทคัดย่อ:

ความต้องการและแรงจูงใจเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ ดังนั้น ผู้บริหารจึงมีความจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวนี้ เพื่อการบริหารที่มุ่งหวังผลจากความสามัคคีของบุคคลในองค์การ ตลอดจนการสร้างแรงเสริมและความกระตือรือร้น จากหลักการบริหารที่กล่าวว่าองค์การเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนและงาน องค์การจึงเป็นความเกี่ยวข้องระหว่างคนและงาน ทั้งนี้ เพราะคนเป็นผู้สร้างงานขึ้น นั่นคือ การที่คนได้สร้างองค์การขึ้นมานั่นเอง ในขณะที่งาน ซึ่งเป็นระบบที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในการที่คนใช้เป็นต้นแบบในการทำงาน ดังนั้น งานจึงเป็นสิ่งที่ควบคุมคนด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้คนและงานจึงเอื้อประโยชน์ต่อกัน เพราะคนเป็นผู้สร้างงาน ในขณะที่งานเป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมพฤติกรรมของคนให้สอดคล้องกันในการทำงานร่วมกัน จากความสัมพันธ์ดังกล่าวทั้งหมดนี้ จึงจะเห็นได้ว่า หากบุคลากรในองค์การ ได้รับแรงจูงใจในการทำงานให้เขาเหล่านั้น ได้บรรลุถึงความต้องการของตนเองแล้ว ก็จะก่อให้เกิดประสิทธิผลในการทำงาน และประสิทธิผลโดยรวมขององค์การ

สถาพร ปิ่นเจริญ. (2547). การบริหาร : การสร้างแรงจูงใจในที่ทำงาน. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 45-50.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่สอบคัดเลือกด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือก
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่สอบคัดเลือกด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือก

A Comparison of Learning Achievement Between Huachiew Chalermprakiet University Students Who Gained Admission Through the Ministry of University Affairs and Those Who Were Admitted by the University Directly

บทคัดย่อ:

การวิจัย เรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่สอบคัดเลือกด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือก ซึ่งใช้วิธีการจับคู่ (Matching) ของนักศึกษาทั้งสองประเภท โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรที่ศึกษาในชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2544-2545 ทั้งหมดรวม 6 คณะ คือ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะเภสัชศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะกายภาพบำบัด และคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสิ้น 558 คน จำแนกเป็นนักศึกษาชาย 20 คน และนักศึกษาหญิง 538 คน การสุ่มตัวอย่างจากประชากรดังกล่าวคำนึงถึงสถานภาพส่วนตัว คือ เพศ อายุ แผนกวิชา ที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คณะหรือสาขาวิชาที่กำลังศึกษาอยู่ และสถานภาพทางครอบครัว คือ ภูมิลำเนา อาชีพบิดา (มารดา) การเลือกตัวอย่างแบบจับคู่โดยให้แต่ละคู่มีลักษณะใกล้เคียงกันมากที่สุด เพื่อเพิ่มความเที่ยง (precision) ในการเปรียบเทียบค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียนของนักศึกษาทั้งสองประเภท

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีสมมติฐานว่า ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียนของนักศึกษาที่สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือกไม่แตกต่างกัน โดยใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความแปรปรวน ในกรณีข้อมูลมีการจำแนกสองทางโดยมีความเกี่ยวพัน (ANOVA- Two Ways Classification with Interaction) ผลการวิจัยพบว่า

นักศึกษาที่สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือกมีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียนไม่แตกต่างกัน เมื่อทดสอบอิทธิพลของคณะ ปรากฏว่า มีผลต่อค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียนของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 แต่ไม่พบว่าอิทธิพลร่วมของคณะกับประเภทการสอบเข้ามหาวิทยาลัยมีผลต่อค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมทางการเรียน

 

ชัยรถ หมอเมือง. (2547). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่สอบคัดเลือกด้วยวิธีมหาวิทยาลัยคัดเลือกเองกับทบวงมหาวิทยาลัยคัดเลือก. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 32-44.

อ่านบทความฉบับเต็ม

REHABCO and recovery signal : a retrospective analysis
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

REHABCO and recovery signal : a retrospective analysis

บทคัดย่อ:

An investigation of the REHABCOûs financial position and performance using the Altman
model as a retrospective analysis is conducted. Original Altmanûs cutoff points are set out to quantify a recovery signal of the ailing firms. Results indicate that, on average, those ailing firms in the REHABCO still have poor performance and financial position. There are only two companies with the Z-score greater than the higher cutoff point, that means they are, theoretically, in the safe area. However, at the end of the year 2003 the two healthier firms are still in the REHABCO . This can be interpreting that the result of the Altman model is only a guideline of the recovery investigation, and the companies still need special treatments in order to reach strong financial position and performance on continuous basis.

Worasith Jackmetha. (2547). REHABCO and recovery signal : a retrospective analysis. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 25-31.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นกับบรรษัทข้ามชาติไทย
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นกับบรรษัทข้ามชาติไทย

A Comparative Study on Activities of Human Resource Development between Japanese and Thai Transnational Corporations.

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติไทย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบลำดับความสำคัญของกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติไทย และเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรในบรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติไทยต่อกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทกลุ่มตัวอย่าง คือ บรรษัทข้ามชาติญี่ปุ่นจำนวน 76 บริษัท และบรรษัทข้ามชาติไทยจำนวน 10 บริษัท ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม 2 ชุด ชุดที่ 1 สำหรับผู้จัดการฝ่ายบุคคล ชุดที่ 2 สำหรับผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารระดับล่าง และผู้ปฏิบัติการ แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยทั้งสิ้นจำนวน 344 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Read the rest of this entry »

พระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจ ในฐานะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในการสร้างความเจริญวัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ประเทศชาติ
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

พระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจ ในฐานะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในการสร้างความเจริญวัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ประเทศชาติ

บทคัดย่อ:

พระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในการสร้างความเจริญวัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ประเทศชาตินั้น ประกอบด้วยประเด็นหลัก 3 ประการด้วยกัน กล่าวคือ พระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจในฐานะนักปกครอง นักการศึกษา และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยในฐานะที่ทรงเป็นนักปกครอง พระองค์ได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถเป็นที่ประจักษ์ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในฐานะนักการศึกษา พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่เป็นคุณูปการแก่การศึกษาของชาติ ทั้งการส่งเสริมการศึกษา โครงการศิลปาชีพ และการให้การอบรมพระราชโอรสธิดา (จนทรงสามารถเป็นนักศึกษาศาสตร์และนักวิชาการของชาติ) และในฐานะนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการสำคัญๆ เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นอเนกประการ

ประพนธ์ โอสถสัมพันธ์สุข. (2547). พระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจ ในฐานะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในการสร้างความเจริญวัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ประเทศชาติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 5-12.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

การเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ

Aerobic Dance for Health

บทคัดย้อ:

การเต้นแอโรบิก (aerobic dance) เพื่อสุขภาพเป็นการออกกำลังกายอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยพัฒนด้านความแข็งแรง ความอดทน ความมีพลัง นอกจากนี้ยังเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจ ปอด กล้ามเนื้อ ข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย อีกทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อน ครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน ประกอบกับช่วยพัฒนาทางด้าน จิตใจ อารมณ์ และสังคม ช่วยให้มีสุขภาพที่ดี ปฏิบัติภาระหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีบุคลิกภาพที่ดี จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของการเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ คือ ก่อให้เกิดความสนุกสนานควบคู่ไปกับเสียงเพลง โดยมีจังหวะดนตรีเป็นเครื่องกำหนดการเคลื่อนไหวร่างกาย ถ้าจะให้ได้ผลด้านสุขภาพและสมรรถภาพจะต้องมีการจัดโปรแกรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผู้ที่จะออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก ทำให้การเต้นแอโรบิกเป็นกิจกรรมบริหารร่างกายที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาบได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้นโดยเฉพาะการออกกำลังกายที่เรียกว่า การเต้นแอโรบิก (aerobic dance)

อังคะนา ศรีตะลา. (2547). การเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 88-101.

อ่านบทความฉบับเต็ม

จิตวิญญาณ : การดูแล
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

จิตวิญญาณ : การดูแล

บทคัดย่อ:

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คำนิยาม คำว่า สุขภาพ หมายถึง ภาวะที่เป็นสุขทางกาย ภาวะที่เป็นสุขทางใจ ภาวะที่เป็นสุขทางสังคม และภาวะที่เป็นสุขทางจิตวิญญาณ ซึ่งทั้งสี่มิตินี้มิได้แยกจากกันหากแต่เชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องในกันและกันอย่างแยกไม่ออก แต่บุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลภาวะสุขภาพของผู้มารับบริการมักจะละเลยมิติทางจิตวิญญาณของผู้รับบริการ ซึ่งอาจเนื่องจากการยึดติดกับรูปแบบการรักษาแบบแยกส่วน ทำให้ขาดการมองบุคคลในรูปแบบองค์รวม หรือจากการที่บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญของมิติจิตวิญญาณของผู้รับบริการ แต่หลีกเลี่ยงไม่กล้าสัมผัส เนื่องจากขาดความรู้ที่ถูกต้อง ในที่นี้ได้อธิบายความหมายของจิตวิญญาณ เสนอแนวทางการพัฒนาตนเองของบุคลากรในการเข้าถึงซึ่งจิตวิญญาณของผู้รับบริการ เช่น การประเมินสุขภาวะด้านจิตวิญญาณของบุคคล แนวทางการพยาบาลเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านจิตวิญญาณ และวิธีประเมินผลว่าผู้รับบริการได้รับการตอบสนองด้านจิตวิญญาณแล้วหรือไม่

ชนิกา เจริญจิตต์กุล. (2547). จิตวิญญาณ : การดูแล. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 78-87.

อ่านบทความฉบับเต็ม

แธลเล็ทส์ ภัยใกล้ตัว
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

แธลเล็ทส์ ภัยใกล้ตัว

บทคัดย่อ:

สารแธลเล็ทส์ (phthalates) เป็นชื่อกลุ่มสารเคมีที่มีสูตรโครงหลักเป็นแธลเล็ทส์เอสเทอร์ (phathalates ester) ซึ่งสารกลุ่มนี้จัดเป็นพลาสติไซเซอร์ (plasticizer) ชนิดหนึ่ง นิยมใช้เติมในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์ความงามต่างๆ จากการที่มีการใช้สารแธลเล็ทส์อย่างแพร่หลาย จึงได้มีการศึกษาความเป็นพิษของสารแธลเล็ทส์ พบว่าสารเหล่านี้แสงดความเป็นพิษเรื้อรัง เป็นอันตรายต่ออวัยวะหลายชนิดของสัตว์ทดลอง เช่น อวัยะสืบพันธุ์ สมอง หัวใจ และตับ เป็นต้น ก่อให้เกิดมะเร็ง และทำให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ผิดปกติ นอกจากนี้ยังพบว่าสารแธลเล็ทส์ สามารถถ่ายเทไปสู่สิ่งแวดล้อมได้ ทั้งทางน้ำและดิน ซึ่งทำให้เกิดมลภาะและรบกวนระบบนิเวศน์

พัชรี ภคกษมา. (2547). แธลเล็ทส์ ภัยใกล้ตัว. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 58-65.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือน
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือน

บทคัดย่อ:

ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือนสามารถแบ่งได้กว้างๆ 4 กลุ่ม คือ 1. ผลิตภัณฑ์ป้องกัน กำจัดแมลงและยุง 2. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ 3. ผลิตภัณฑ์ลบคำผิดและตัวทำละลาย 4. ผลิตภัณฑ์ซักผ้าขาวและซักแห้ง ในการกำจัดแมลงและยุงที่ผลิตภัณฑ์แบบสเปรย์ฉีดพ่นเป็นละอองฝอย มีฤทธิ์กำจัดแมลงและยุงได้เพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลงสาบแบบเหยื่อที่มีประสิทธิภาพ ทำให้แมลงสาบตายได้ทั้งรัง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ ที่เพียงเทราดน้ำยาทิ้งไว้ก็สามารถทำความสะอาดได้ หรือ ผลิตภัณฑ์ซักผ้าขาวที่ซักแล้วทำให้ผ้าขาวเหมือนใหม่ ผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างผลิตภัณฑ์บางส่วนที่ใช้ในครัวเรือนซึ่งจะเกิดประโยชน์ได้มากจริงหรือ และเป็นผลิตภัณฑ์อันตรายสำหรับผู้บริโภคหรือไม่ ผู้บริโภคควรมีความรู้และเข้าใจสัญลักษณ์ที่มีในผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งการเก็บรักษาอย่างไรให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม

ศรมน สุทิน. (2547). ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือน. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 42-57.

อ่านบทความฉบับเต็ม

สารพิษเตโตรโดท็อกซินในปลาปักเป้า
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

สารพิษเตโตรโดท็อกซินในปลาปักเป้า

บทคัดย่อ:

ปลาปักเป้าเป็นปลาชนิดหนึ่งที่พบได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม ซึ่งมีมากมายหลายชนิด และพบว่าปลาปักเป้าบางชนิดทำให้เกิดพิษได้ โดยในประเทศไทยมีปลาปักเป้าที่มีพิษอยู่ประมาณ 20 ชนิด ซึ่งการทำให้เกิดพิษของปลาปักเป้านี้ เนื่องมาจากสารพิษชนิดหนึ่งที่อยู่ภายในอวัยวะชองปลาปักเป้าเรียกสารพิษนี้ว่า “เตโตรโดท็อกซิน” (tetrodotoxin) สารพิษนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์จะมีผลต่อระบบการทำงานของช่องโซเดียมและโพแทสเซียมของร่างกาย ซึ่งจะส่งผลต่อไปยังการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอาการชาและเป็นอัมพาตได้ แต่อย่างไรก็ตาม ปลาปักเป้าก็สามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้ เช่น ชาวญี่ปุ่น จะชอบรับประทานเนื้อปลาปักเป้าหรือเรียกว่าปลา “ฟุกุ”(fugu) มาก โดยในการจะรับประทานปลาปักเป้านั้นจะต้องรู้วิธีการนำอวัยวะที่มีสารพิษนี้ออกไปเสียก่อน สำหรับในประเทศไทยพบว่า ได้เกิดเหตุการณ์รับประทานปลาเนื้อไก่เข้าไปแล้วเกิดอาการเป็นพิษ เมื่อกระทรวงสาธารณสุขได้นำปลาเนื้อไก่ มาตรวจสอบแล้ว จึงพบว่า อาการเป็นพิษที่เกิดขึ้นมาจากสารพิษเตโตรท็อกซิน ดังนั้นปลาเนื้อไก่ก็คือ “ปลาปักเป้า” นั่นเอง

สุวรรณี สายสิน. (2547). สารพิษเตโตรโดท็อกซินในปลาปักเป้า. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 33-41.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa