การดิจิไทซ์หนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักหอสมุดแห่งชาติ กับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยดิจิไทซ์หนังสือพิมพ์จีน ตั้งแต่ฉบับปี 2464 เป็นต้นมา และปัจจุบัน ดิจิไทซ์จนถึง ปี พ.ศ. 2530 และมีการให้บริการฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ผู้สนใจ นักวิจัยต้องการใช้ฐานข้อมูลฯ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ
ข้อมูลเกี่ยวกับความร่วมมือดังกล่าว และฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน มีการเขียนไว้ในหลายๆ บทความ ใน KM Blog ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้แก่
1. ความร่วมมือระหว่างศูนย์บรรณสารสนเทศกับหอสมุดแห่งชาติ 2. สื่อดิจิทัล/สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ 3. ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน 4. 中文报纸数据库 (ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน) 5. ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพเอกสารไฟล์ดิจิทัลหนังสือพิมพ์จีน 6. หนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
ผู้เขียนมีหน้าที่ในการดิจิไทซ์หนังสือพิมพ์จีน หลังการที่ทำการถ่ายภาพสำเนาหนังสือพิมพ์จีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้าย คือการตกแต่งไฟล์รูปภาพให้สวยงาม โดยการตกแต่งไฟล์จะใช้โปรแกรม Advtiffeditor โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ Read the rest of this entry »
การจัดกิจกรรมบริการชุมชนในแต่ละครั้งที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้ออกแบบป้ายกิจกรรมการจัดงาน เพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรได้มาร่วมกิจกรรมกับทางห้องสมุด ซึ่งผู้เขียนจะใช้แอป PicsArt เป็นหลักในการออกแบบผ่านหน้าจอมือถือ
ตัวอย่างป้ายกิจกรรมที่ใช้แอปพลิเคชั่น PicsArt ในการออกแบบ
Read the rest of this entry »
ในการซ่อมหนังสือ จะมีกรณีที่ต้องฉีกปกเดิมออก เนื่องจากมีการชำรุด หรือเสียหายมาก จนต้องพิจารณาดึงหน้าปกหนังสือเดิม ออก เมื่อมีการซ่อมโดยทำหน้าปกใหม่ ถ้าภาพของหน้าปกเดิมยังมีสภาพดี ผู้มีหน้าที่ซ่อม ก็จะนำภาพหน้าปกเดิมมาติดไว้ตามเดิม กรณีที่หน้าปกเดิมมีความชำรุด เสียหาย ไม่สามารถนำมาติดไว้ตามเดิมหลังจากซ่อมได้ การที่จะให้ผู้ใช้ทราบว่า หนังสือเล่มที่หน้าปกนี้หายไป มีชื่อเรื่องว่าอะไร ผู้ซ่อมจะใช้ปากกาไฟฟ้า เขียนไว้ที่หน้าปกบนผ้าแรกซีนหุ้มปก
วิธีการทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
อุปกรณ์
1.ปากกาไฟฟ้า. 2.เทปสำหรับเขียนสัน
เมื่อส่ง e-mail อาจมีการส่งข้อความผิดพลาด อาจลืมแนบเอกสาร หรือพิมพ์ข้อความตกหล่น หรือมีการสะกดคำผิด ทาง Gmail และ Outlook มีวิธีการยกเลิกได้ทันทีเมื่อกดส่งข้อความไปแล้วภายในเวลาสูงสุดถึง 30 วินาที วิธีการยกเลิกนั้นจำเป็นต้องมีการตั้งค่า มีขั้นตอนดังนี้
วิธีการตั้งค่าการยกเลิกการส่ง เข้า Login สู่หน้า Gmail คลิกที่เครื่องมือตั้งค่า ด้านขวามือโดยจะเป็นรูปฟันเฟือง
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบรรยากาศภายในอาคารให้เกิดความรู้สึกสบาย ผ่อนคลายมากขึ้น และพยายามสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการ เห็นหนังสือที่น่าสนใจ ที่เข้ามาใหม่ๆ อยู่เสมอ ๆ โดยการทำกิจกรรม Link หนังสือโดนใจ เพื่อติด QR Code แนะนำหนังสือตามชั้นหนังสือ แต่ได้เพิ่มความน่าสนใจ สะดุดตา โดยการนำเหล็กกั้นที่ชั้นหนังสือ มาทดลองดัดแปลงเพื่อให้เกิดประโยชน์ จากเหล็กกั้นหนังสือธรรมดา สามารถนำมาเป็นที่จัดแสดงหนังสือในมุมมองที่แปลกตาขึ้นจากเดิม โดยการปรับเปลี่ยน ดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ ก็จะได้รูปลักษณ์ใหม่ๆ ที่ดูน่าสนใจมากขึ้น
ขั้นตอนการดัดเหล็กกั้นหนังสือ มีดังนี้
1. จากเหล็กกั้นหนังสือแบบดั้งเดิม ดังภาพ
ขอแนะนำวิธีการทำงานในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Less Paper ต่อนะคะ ในส่วนของการออกเลขส่งหนังสือกลับไปยังหน่วยงานต้นเรื่อง (กรณีใช้บันทึกต้นเรื่องเดิม)
เมื่อมีหน่วยงานอื่น (หน่วยงานภายใน ) ส่งเรื่องมาหาหน่วยงานของเราเพื่อให้พิจารณาดำเนินการ และต้องส่งเรื่องตอบกลับ มีขั้นตอน คือสารบรรณของหน่วยงานที่รับเรื่อง ดำเนินการ เสนอ ผู้บังคับบัญชา และผู้บังคับบัญชาเกษียนหนังสือ พร้อมลงนามสั่งการ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนการนำเสนอเรื่องจะ กลับมายังสารบรรณ ดังนี้
ภาพประกอบ 1
ภาพประกอบ 2
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นด้านคุณธรรม 6 ประการ คือ ขยัน อดทน ประหยัด เมตตา ซื่อสัตย์ และ กตัญญู มีการส่งเสริมให้นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ มีคุณธรรมทั้ง 6 ประการในการปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิต รวมทั้งยึดถือเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยอีกแนวทางหนึ่ง
ศูนย์บรรณสารสนเทศเป็นหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้า การวิจัย จึงได้รวบรวมสารสนเทศด้านคุณธรรม เพื่อใช้เป็นแหล่ง สารสนเทศทางด้านคุณธรรม เน้นในด้านความซื่อสัตย์ ประหยัด รับใช้สังคม มีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
1. วางแผนค้นหาข้อมูลด้านคุณธรรมประกอบด้วย ความซื่อสัตย์ ประหยัด รับใช้สังคม
2. ค้นหาจากแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ เช่น ระบบห้องสมุด ฐานข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้ง สารสนเทศที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต
3. รวบรวมข้อมูลที่สืบค้นได้ ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น หนังสือ บทความ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อออนไลน์ เป็นต้น
4. เขียนข้อมูลที่รวบรวมได้เป็นการลงรายการทางบรรณานุกรมแบบ APA
5. นำสารสนเทศด้านคุณธรรมเผยแพร่ขึ้นเว็บไซต์ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/index.php/virtue
นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มเติมเว็บไซต์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศแต่ละด้านไว้ด้วย
ศูนย์บรรณสารสนเทศมีการลงรายการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) ที่แจกฟรีเข้าระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) โดยพิจารณาเนื้อหาที่สอดคล้องกับการเรียนการสอน การเสริมทักษะ ความรู้ทั่วไป เพื่อต้องการให้ระบบห้องสมุดของศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นแหล่งรวมบรรณานุกรมจากทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายประเภท และสามารถสืบค้นได้จากที่เดียว จึงได้มีแนวคิดในการลงรายการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการอ่านฟรี ดาวน์โหลดฟรี เข้าในระบบห้องสมุด และด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้ เป็นการผลิตของหน่วยงาน องค์กร ต่างๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นการเผยแพร่ฟรี หรือให้ดาวน์โหลดไปอ่านได้โดยเสรี และต้องเคารพในเรื่องลิขสิทธิ์และจำนวนในการเข้าถึง จึงใส่ link เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้น ๆ
ขั้นตอนการลงรายการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่แจกฟรี เข้าระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS
การลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีวิธีการเดียวกับการลงรายการหนังสือฉบับพิมพ์ อาจจะมีบางเขตข้อมูลหรือรายละเอียดบางอย่างที่แตกต่างไปบ้างตามลักษณะของการเป็นอิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์
จากการที่ได้ปฏิบัติงาน Acquisition module ในระบบ WorldShare Management Services (WMS) ได้ตัดงบประมาณ ในส่วนของ ตัวเล่มหนังสือ และให้บริการตัวเล่มหนังสือเป็นหลักตลอดมา แต่มาช่วงปี 2562 ได้มีซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มากขึ้น ดังนั้น จึงขอเขียนขั้นตอนงานตัดงบประมาณของ E-Product ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนการสร้างใบ Invoice
– คลิกที่ Acquisition module
– คลิกที่ Invoice และกดเลือกที่ New Invoice
– ใส่รายละเอียด Invoice Number, Vender, Tax Handling ตามรูป และกด Save
เลือก Receive and Invoice
*** ส่วนของ Processing Type ให้เลือกที่ E-Product
ส่วนของ Action เลือก Receive and Invoice
ส่วนของ Vender ใส่ Vender
ส่วนของ Invoice Number ใส่เลขที่ใบส่งของ จากนั้นกดที่ View Items
ผู้เขียนได้มีโอกาสเรียบเรียงเนื้อหาแนะนำหอจดหมายเหตุหน่วยงาน และเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ ประเภทภาพถ่าย ชื่อชุดพิธีเฉลิมพระเกียรติและสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ นับเป็นครั้งแรกที่หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมในครั้งนี้ เนื่องจากเป็นสมาชิกเครือข่ายสมาคมจดหมายเหตุไทย โดยการเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการเสมือนจริง เรื่อง หอจดหมายเหตุ : พลังแห่งความรู้ (Archives: Empowering Knowledge Societies) เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันจดหมายเหตุแห่งชาติสากล ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน และวันแห่งการสถาปนาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี
สื่อประชาสัมพันธ์ Cr. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ในปี พ.ศ. 2563 หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้มีโอกาสเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการดังกล่าว ประกอบด้วยกัน 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนแรก รู้จักภาคีเครือข่ายจดหมายเหตุ เป็นการแนะนำหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้กล่าวถึงการจัดตั้งหอจดหมายเหตุและพิธีเปิดหอจดหมายเหตุ โดยอธิการบดี ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดยมีเนื้อหาพอสังเขป “…หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นหน่วยงานสนับสนุนหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นในวาระครบรอบ 80 ปี ของ “มูลนิธิฮั่วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง” ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลจีนที่ใหญ่ที่สุดในสังคมไทย เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และมีความหมายต่อชาวจีนที่เข้ามาอยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารเป็นอย่างยิ่ง ด้วยประวัติการก่อตั้ง… วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งหอจดหมายเหตุ และข้อมูลการติดต่อ…” Read the rest of this entry »