SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
คู่มือและขั้นตอนการเบิก-จ่ายพัสดุ สำนักงานเลขานุการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ
ก.พ. 21st, 2016 by chanunchida

ขั้นตอนการเบิกจ่าย-วัสดุ

ตัวอย่างใบเบิกวัสดุสำรองคลัง

ตัวอย่างใบเบิกวัสดุสำรองคลัง


การเบิกจ่ายวัสดุสำรองคลัง

  1. ให้แต่ละแผนกเขียนรายการวัดสุที่จะเบิกลงในแบบฟอร์มใบเบิกวัสดุ ส่งมายังสำนักงานเลขานุการ
  2. ตรวจสอบว่าวัสดุที่เบิกอยู่ในงบประมาณของปีนั้น
  3. ส่งใบเบิกเสนอผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อลงนามอนุมัติการเบิก
  4. ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ อนุมัติการเบิกวัสดุแล้ว ส่งใบเบิกวัสดุไปยังผู้อำนวยการกองพัสดุ
  5. การส่งใบเบิกวัสดุส่งเบิกไม่เกินวันที่ 1 ของทุกเดือน และรับวัสดุในวันศุกร์ที่ 2 ของเดือน
  6. การรับวัสดุ รับวัสดุได้ที่ศูนย์หนังสื มฉก. เมื่อรับวัสดุแล้ว จะจ่ายให้กับแผนก และมีผู้ลงนามการเบิกวัสดุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในการเบิก
  7. ตัดงบประมาณวัสดุตามใบเบิกตลอดปีงบประมาณ สรุปผลเสนอ  ผู้อำนวยการ

Read the rest of this entry »

งานบริการรับแจ้งหนังสือหาย
ก.พ. 20th, 2016 by kityaphat

แผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทำหน้าที่ในการให้บริการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การศึกษา ค้นคว้า ของมหาวิทยาลัย ภารกิจส่วนที่สำคัญที่สุดของการบริการ คือ การให้บริการยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศ โดยครอบคลุมการให้ยืมและคืนทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งเมื่อมีการยืมก็มักจะมีเหตุการณ์ที่ผู้ใช้บริการทำหนังสือหาย งานบริการยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งให้บริการอยู่ที่ ชั้น 1 จึงมีหน้าที่ในการรับแจ้งหนังสือหาย และดำเนินการต่างๆ โดยมีข้อปฏิบัติ ดังนี้

1. สมาชิกที่ยืมหนังสืออกจากศูนย์บรรณสารสนเทศ เมื่อทำหนังสือหายต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่ ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ชั้น 1 ทันที เพื่อดำเนินการหยุดค่าปรับรายวัน ถ้าแจ้งหายหลังวันกำหนดส่ง สมาชิกต้องเสียค่าปรับเกินกำหนด วันละ 5 บาท/เล่ม หรือชำระค่าปรับสูงสุดไม่เกิน 300 บาท/เล่ม

2. กรอกแบบฟอร์มการแจ้งหนังสือหาย โดยให้สมาชิกหาซื้อหนังสือที่ทำหายมาทดแทนภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันที่มาแจ้งหายไว้ และสมาชิกต้องเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินการแจ้งหนังสือหาย จำนวน 50 บาท/เล่ม

3. หากสมาชิกไม่สามารถหาซื้อหนังสือตามชื่อเรื่องที่ทำหายมาทดแทนได้ ให้ซื้อหนังสือที่อยู่ในสาขาวิชาเดียวกัน หรือหนังสือที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันมาทดแทน ทั้งนี้ราคาหนังสือต้องไม่ต่ำกว่าเล่มที่สมาชิกแจ้งหายไว้ และต้องเป็นฉบับพิมพ์ปีล่าสุด

4. หากเลยกำหนด 14 วัน หลังจากแจ้งหนังสือหายไว้แล้ว สมาชิกไม่มาติดต่อ หรือไม่นำหนังสือมาทดแทนต้องเสียค่าปรับอีก วันละ 5 บาท/เล่ม จนกว่าจะหาหนังสือมาทดแทนได้

Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการทำงานของ Acquisition and Fund Accounting Module
ก.พ. 19th, 2016 by ladda

Acquisition module เป็น 1 ในอีกหลายโมดูล ที่ประกอบกันเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ แต่นับว่าเป็นโมดูลแรกเริ่มของการทำงานในห้องสมุด เพราะเป็นโมดูลเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด สำหรับศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ใช้ระบบ Virtua (VTLS) ซึ่งมีฟังก์ชั่นในการใช้งาน Acquisition module ดังนี้

  • จัดการข้อมูลของรายการการสั่งซื้อ ผู้ขาย ข้อมูลด้านบัญชี ใบส่งของ ใบรับของและรายการ Claim ได้
  • ตรวจสอบรายการสั่งซื้อ แก้ไข หรือลบรายการ หรือยับยั้งการสั่งซื้อบางรายการได้ก่อนการสั่งซื้อ
  • ยกเลิกรายการสั่งซื้อได้ และปรับปรุงข้อมูลบัญชีโดยอัตโนมัติ
  • สั่งซื้อสามารถดึงข้อมูลบรรณานุกรมจากฐานข้อมูลบรรณานุกรม
  • รับหนังสือ อาจจะได้รับเฉพาะบางรายการในใบสั่งซื้อ
  • พิมพ์ Payment และปรับปรุงข้อมูลบัญชีโดยอัตโนมัติ
  • เปลี่ยนหน่วยเงินตราต่างประเทศได้
  • สร้างฐานข้อมูลผู้ขาย เพื่อเก็บรายละเอียดของผู้ขาย
  • ดูสถานะของหนังสือที่กำลังซื้อจาก OPAC
  • สร้างรายงานต่างๆ  ได้แก่

Read the rest of this entry »

การจัดการหนังสือหายาก ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 18th, 2016 by dussa

หนังสือหายาก (Rare Book) หมายถึง หนังสือที่มีคุณค่าทั้งในด้านเนื้อหา ความหมายในด้านการพิมพ์ ไม่สามารถหาซื้อจากร้านหนังสือทั่วไป นอกจากร้านค้าหนังสือเก่า และมีราคาแพง หรือร้านขายของโบราณ

คุณค่าของหนังสือดูจากเกณฑ์ เช่น ความหายากซึ่งอาจเกิดจากลักษณะพิเศษ เช่น การพิมพ์ด้วยตัวแกะไม้ (blockbooks) หนังสือที่ผลิตโดยการเรียงพิมพ์คุณค่าด้านความเป็นเอกสารปฐมภูมิด้านประวัติการพิมพ์ คุณค่าด้านความเป็นหนังสือที่มีจำนวนพิมพ์จำกัด หนังสือที่พิมพ์ครั้งแรก หนังสือที่มีความเด่น เช่น เป็นผลงานเรื่องเดียวหรือส่วนน้อยที่แตกต่างไปจากผลงานส่วนมากของนักเขียนสามัญ เรื่องที่ปลอมแปลงขึ้น หนังสือเก่าที่สวยงาม หนังสือที่มีประวัติการครอบครอง เช่น มีหนังสือทีมีขนาดและรูปเล่มต่างไปจากรูปแบบธรรมดาทั่วไป ลายมือชื่อหรือป้ายบรรณสิทธิ์ของเจ้าของ เป็นหนังสือที่ใช้วัสดุมีค่าจัดทำอย่างประณีตสวยงาม เช่น ใช้หนัง แพร ไหม แผ่นทองแทนกระดา หรือจัดพิมพ์จำนวนจำนวน (Limited edition) เป็นต้น

20160205_101839

หนังสือที่พิมพ์ในช่วง พ.ศ. 2459-2505

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa