SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
เก้าอี้ กิ๊บเก๋ ในห้องสัมมนากลุ่ม ชั้น 4
มี.ค. 4th, 2016 by supaporn

ตอนนี้ผู้ใช้ห้องสมุด (ศูนย์บรรณสารสนเทศ) อาจจะกำลังเห็นการเปลี่ยนแปลงในห้องสัมมนากลุ่ม ชั้น 4 ศูนย์บรรณสารสนเทศ พี่ๆ กำลัง ซ่อมเก้าอี้ด้วยลวดลายของผ้าขาวม้า ออกมาได้กิ๊บเก๋ ทีเดียว ประหยัดงบประมาณ และเป็นการนำสิ่งของที่เหลือใช้มาใช้ประโยชน์ให้สมกับการเข้าสู่ Green Office หรือห้องสมุดสีเขียว

สภาพเก้าอี้ที่ต้องส่งซ่อม

สภาพเก้าอี้ที่ต้องส่งซ่อม

Read the rest of this entry »

วารสาร (Periodicals) นิตยสาร (Magazines) ออกเป็นวาระเหมือนกัน แต่ไฉนเรียกชื่อต่างกัน
ก.พ. 25th, 2016 by pakawat

ท่านที่เป็นผู้อ่านทั่ว ๆไปอาจจะเคยนึกสงสัยว่า วารสาร นิตยสาร   แตกต่างกันอย่างไร เดี๋ยวชื่อนั้นขึ้นต้นด้วยวารสาร อีกชื่อขึ้นต้นด้วยนิตยสาร จริงแล้วทั้งวารสารและนิตยสารต่างก็จัดเป็นประเภทสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials) เหมือนกัน ผมจะขออธิบายดังนี้ครับ                     

สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials) เป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนึ่ง เป็น สิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกสม่ำเสมอ เช่น รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน รายสองเดือน ฯลฯ แต่ละฉบับมีหมายเลขแสดงความต่อเนื่อง เช่น ปีที่ (volume) ฉบับที่ (number) วัน เดือน ปีพ.ศ. (ค.ศ.) ไว้ด้วย เนื้อหาในสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องประกอบด้วยบทความต่างๆ ที่ให้ความรู้ ข่าวสาร ข้อมูล ในสาขาใดสาขาหนึ่งซึ่งผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์มาแล้ว ทำให้ผู้อ่านสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นข้อมูลในการศึกษา ได้เป็นอย่างดี ซึ่งสิ่งพิมพ์ดังกล่าวนี้ เรียกชื่อว่า วารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ Read the rest of this entry »

กฤตภาค (Clipping)
ก.พ. 25th, 2016 by อุไรรัตน์ ผาสิน

ความหมายของกฤตภาค   กฤตภาค คือ ข้อความต่างๆ ที่ตัดจากหนังสือพิมพ์ วารสาร และสิ่งตีพิมพ์ อื่นๆ แล้วนำมาผนึกบนกระดาษ และให้หัวเรื่อง รวมจัดเข้าแฟ้ม ห้องสมุดมักจะติดตามข่าวและตัดข้อความที่มีประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า ไว้เพื่อให้บริการ หรือเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย

การคัดเลือกเนื้อหาที่ควรคัดเก็บไว้ ควรจะเป็นเนื้อหาที่หาไม่ได้ในหนังสือทั่วไป เช่น

  • ชีวประวัติบุคคลสำคัญ
  • เรื่องราว หรือภาพเกี่ยวกับประเทศ  หรือเรื่องทางด้านธรรมชาติศึกษา และสถานที่ต่างๆ ที่หาไม่ได้ในหนังสือ
  • บทความที่มีคุณค่าทางวิชาการ
  • ทางด้านการเมือง การปกครอง
  • ภาพและข่าวเกี่ยวกับท้องถิ่น  สุขภาพอนามัย หรือกิจกรรมภายในสถานศึกษา ที่ห้องสมุดนั้นๆ สังกัดตั้งอยู่
  • บทความสารคดีเรื่องต่างๆ ซึ่งไม่อาจหาได้จากที่อื่นอีก เป็นต้น

Read the rest of this entry »

งานบริการรับแจ้งหนังสือหาย
ก.พ. 20th, 2016 by kityaphat

แผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทำหน้าที่ในการให้บริการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การศึกษา ค้นคว้า ของมหาวิทยาลัย ภารกิจส่วนที่สำคัญที่สุดของการบริการ คือ การให้บริการยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศ โดยครอบคลุมการให้ยืมและคืนทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งเมื่อมีการยืมก็มักจะมีเหตุการณ์ที่ผู้ใช้บริการทำหนังสือหาย งานบริการยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งให้บริการอยู่ที่ ชั้น 1 จึงมีหน้าที่ในการรับแจ้งหนังสือหาย และดำเนินการต่างๆ โดยมีข้อปฏิบัติ ดังนี้

1. สมาชิกที่ยืมหนังสืออกจากศูนย์บรรณสารสนเทศ เมื่อทำหนังสือหายต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่ ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ชั้น 1 ทันที เพื่อดำเนินการหยุดค่าปรับรายวัน ถ้าแจ้งหายหลังวันกำหนดส่ง สมาชิกต้องเสียค่าปรับเกินกำหนด วันละ 5 บาท/เล่ม หรือชำระค่าปรับสูงสุดไม่เกิน 300 บาท/เล่ม

2. กรอกแบบฟอร์มการแจ้งหนังสือหาย โดยให้สมาชิกหาซื้อหนังสือที่ทำหายมาทดแทนภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันที่มาแจ้งหายไว้ และสมาชิกต้องเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินการแจ้งหนังสือหาย จำนวน 50 บาท/เล่ม

3. หากสมาชิกไม่สามารถหาซื้อหนังสือตามชื่อเรื่องที่ทำหายมาทดแทนได้ ให้ซื้อหนังสือที่อยู่ในสาขาวิชาเดียวกัน หรือหนังสือที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันมาทดแทน ทั้งนี้ราคาหนังสือต้องไม่ต่ำกว่าเล่มที่สมาชิกแจ้งหายไว้ และต้องเป็นฉบับพิมพ์ปีล่าสุด

4. หากเลยกำหนด 14 วัน หลังจากแจ้งหนังสือหายไว้แล้ว สมาชิกไม่มาติดต่อ หรือไม่นำหนังสือมาทดแทนต้องเสียค่าปรับอีก วันละ 5 บาท/เล่ม จนกว่าจะหาหนังสือมาทดแทนได้

Read the rest of this entry »

การจัดการหนังสือหายาก ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 18th, 2016 by dussa

หนังสือหายาก (Rare Book) หมายถึง หนังสือที่มีคุณค่าทั้งในด้านเนื้อหา ความหมายในด้านการพิมพ์ ไม่สามารถหาซื้อจากร้านหนังสือทั่วไป นอกจากร้านค้าหนังสือเก่า และมีราคาแพง หรือร้านขายของโบราณ

คุณค่าของหนังสือดูจากเกณฑ์ เช่น ความหายากซึ่งอาจเกิดจากลักษณะพิเศษ เช่น การพิมพ์ด้วยตัวแกะไม้ (blockbooks) หนังสือที่ผลิตโดยการเรียงพิมพ์คุณค่าด้านความเป็นเอกสารปฐมภูมิด้านประวัติการพิมพ์ คุณค่าด้านความเป็นหนังสือที่มีจำนวนพิมพ์จำกัด หนังสือที่พิมพ์ครั้งแรก หนังสือที่มีความเด่น เช่น เป็นผลงานเรื่องเดียวหรือส่วนน้อยที่แตกต่างไปจากผลงานส่วนมากของนักเขียนสามัญ เรื่องที่ปลอมแปลงขึ้น หนังสือเก่าที่สวยงาม หนังสือที่มีประวัติการครอบครอง เช่น มีหนังสือทีมีขนาดและรูปเล่มต่างไปจากรูปแบบธรรมดาทั่วไป ลายมือชื่อหรือป้ายบรรณสิทธิ์ของเจ้าของ เป็นหนังสือที่ใช้วัสดุมีค่าจัดทำอย่างประณีตสวยงาม เช่น ใช้หนัง แพร ไหม แผ่นทองแทนกระดา หรือจัดพิมพ์จำนวนจำนวน (Limited edition) เป็นต้น

20160205_101839

หนังสือที่พิมพ์ในช่วง พ.ศ. 2459-2505

Read the rest of this entry »

คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ก.พ. 4th, 2016 by dussa

ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งยุคสมัยเปลี่ยนก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย และการก้าวสู่ยุคสมัยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นรูปการณ์หลักก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อโลกใบนี้ทุกด้าน ไม่เว้นแม้แต่การดำรงอยู่ของห้องสมุดทั้ง ๆ ที่เป็นคลังความรู้ของมนุษยชาติมายาวนานก็ยังไม่อาจต้านความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากกระจายตัวของข้อมูลความรู้ และพฤติกรรมของผู้คนในการเข้าถึงหรือสแสวงหาข้อมูลความรู้ ห้องสมุดเราจึงต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง มิฉะนั้นเราอาจล้าหลังไม่ทันกับโลกในทศวรรษที่ 21 ดังนั้น หนังสือ “คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”  เล่มนี้จึงนำเสนอเนื้อหาในหลายมิติ เช่น

  • อนาคตห้องสมุด : องค์ความรู้  ประกอบด้วย ความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านห้องสมุด จากองค์กรเน้นคลังหนังสือ และข้อมูลไปสู่องคกรที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง ฯลฯ
  • กระบวนทัศน์ใหม่ : ปรากฎการณ์  ตามไปดู 4 จังหวัดขับเคลื่อนการอ่าน องค์ความณุ้จากระบวนการทำงานเชิงพื้นที่ ฯลฯ
  • ห้องสมุดอนาคต : กรณีศึกษา , ห้องสมุดแนวใหม่ก้าวข้ามแหล่งให้บริการยืมคืนหนังสือ ฯลฯนับว่าเป็นหนังสือที่น่าสนใจในการแสวงหาความรู้เพื่อต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง สามารถอ่านตัวเล่มได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ นะคะ เลขหมู่ Z665 ค431 2558

2046

รายการอ้างอิง
คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (2558). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้.

 

การจัดซื้อหนังสือ ของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 4th, 2016 by ratchanee

12674834_722882964513330_1543121936_o

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีภารกิจอย่างหนึ่งในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้า วิจัย ของนักศึกษา อาจารย์และบุคลากร  ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ นั้น จะหมายรวมถึง การจัดซื้อ และการได้รับหนังสือเป็นอภินันทนาการ หรือได้รับบริจาค หรือจากการขอรับหนังสือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนหนังสือระหว่างห้องสมุด หรือหน่วยงานอื่นๆ สำหรับในส่วนการจัดซื้อหนังสือนั้น มีวิธีการจัดซื้อ 3 วิธี คือ

  1. ร้านค้า/สำนักพิมพ์ โดยร้านค้า หรือสำนักพิมพ์จะนำหนังสือ หรือ Catalog หนังสือมาเสนอที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อคัดเลือก
  2. อาจารย์พิจารณาคัดเลือกหนังสือ ที่ร้านค้า/หรือสำนักพิมพ์ ด้วยตนเอง
  3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด โดยติดต่อกับทางร้านค้า/สำนักพิมพ์มาออกร้าน และเชิญอาจารย์ บุคลากรมาพิจารณาคัดเลือกเพื่อเสนอซื้อต่อไป

Read the rest of this entry »

New Developments and Innovations in Academic Libraries
ม.ค. 31st, 2016 by supaporn

สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) จัดการบรรยายเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการบริการในห้องสมุด โดย Mr. John Hickok บรรณารักษ์จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตฟูลเลอร์ตัน (CAL State Fullerton)และประธานฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ สมาคมห้องสมดแห่งชาติอเมริกัน (ALA International Relations Round Table) ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม 2558 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้อง 1-801 ชั้น 8 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลยรังสิต

ในการบรรยายดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 หัวข้อ

หัวข้อที่ 1 New Developments and Innovations in Academic Libraries วิทยากรนำเสนอนวัตกรรมและการพัฒนาการบริการในห้องสมุดมหาวิทยาลัย ทั้งในงานด้านเทคนิคห้องสมุด (Technical services) และงานด้านบริการผู้ใช้ (User services)

หัวข้อที่ 2 Innovative Practices of Libraries in Southease Asia วิทยากรนำเสนอผลการสำรวจนวัตกรรมและแนวปฏิบัติที่ดีต่างๆ ในห้องสมุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา

อ่านรายละเอียดได้ที่ http://library.rsu.ac.th/pdf/hickock_presentation.pdf

华侨崇圣大学图书馆 (ห้องสมุดภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ)
ม.ค. 30th, 2016 by suwat

华侨崇圣大学的创办人是泰国著名侨领,有意创办这所有着中国文化方面特征的大学,并致力于让学校成为领导泰国汉语言文学、商务汉语、中医学以及中国文化等方面的大学和中国学数据库集聚之地。

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีน จึงมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่มีเอกลักษณ์ด้านจีนแห่งนี้ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้นำด้านภาษาจีน ธุรกิจจีน การแพทย์แผนจีน ตลอดจนเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ด้านจีนศึกษาทุกมิติ

华侨崇圣大学华文图书馆位于学校图书馆5楼。于1994年(佛历2537)建立,馆藏有众多媒体资源、期刊、当代华文报纸(共5家报社:京华日报、世界日报、新中源报、星暹日报、中华日报)和关于汉语教材、人文社会、中国文化、历史等等书籍,在教学方面,不仅为本校师生师提供借阅,还可以为各国的学生、研究者提供服务。多年以来,各种社会组织、社团集团、政府单位以及私人珍藏的珍贵书籍源源不断的捐赠至本校成为本馆藏书,使得华侨崇圣大学华文图书馆成为了泰国最大的华文图书馆。

ห้องสมุดภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการที่ชั้น 5 อาคารบรรณสารสนเทศ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) ประกอบด้วยทรัพยากรสารสนเทศในรูปของหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ (จำนวน 5 ชื่อเรื่อง ได้แก่ เกียฮั้ว จีนสากล ซิงจงเอี๋ยน ซินเสียนเยอะเป้า และตงฮั้ว) และตำราที่เกี่ยวกับศาสตร์ทางด้านภาษาจีน ตลอดจนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและวัฒนธรรมจีน ให้บริการเพื่อสนับสนุนการเรียน การสอน ไม่เฉพาะแต่นักศึกษา อาจารย์ของมหาวิทยาลัยเท่านั้น ห้องสมุดภาษาจีนแห่งนี้ ยังได้ให้บริการนักศึกษา นักวิจัย จากต่างประเทศอีกด้วย เพียงการสืบค้นจากระบบฐานข้อมูลที่สืบค้นด้านหนังสือจีนในประเทศไทย ด้วยการพยายามจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ และการได้รับบริจาคหนังสืออันทรงคุณค่าจากบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทำให้ห้องสมุดจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นห้องสมุดภาษาจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

华侨崇圣大学华文图书馆的镇馆之宝是一套由台湾商务印书馆出版发行的影印版《文渊阁四库全书》,全泰国仅此一套。《四库全书》是在乾隆皇帝的主持下,由纪昀等360多位高官、学者编撰,2800多人抄写,耗时十三年编成的丛书,分经、史、子、集四部,故名四库,被称为19世纪最伟大的文学作品。

นอกจากนี้ที่ห้องสมุดภาษาจีนมีหนังสือที่มีคุณค่าชุด “ซื่อคู่ฉวนซู” ที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย (Si Ku Quan Shu) ซึ่งเรียบเรียงโดยบัณฑิตแห่งสำนักหันหลินกว่า 2800 คน ในสมัยจักรพรรดิเฉียงหลง โดยใช้เวลาเรียบเรียง 10 ปี (ค.ศ. 1793) “ซื่อคู่ฉวนซู” เป็นตำราที่ประมวลวิชาความรู้อันล้ำลึกไว้ทุกประเภท หนังสือชุดนี้ได้มีผู้กล่าวไว้ว่าเป็นตำราที่ยิ่งใหญ่ในด้านวรรณคดี ในศตวรรษที่ 18

中文报纸数据库 (ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน)
ม.ค. 30th, 2016 by suwat

自2008年9月29号始,华侨崇圣大学图书馆与泰国国家图书馆合作协办泰国百年中文报纸电子版制作项目。把自1917年起在泰国出版发行的所有中文日刊、两日刊、星期刊等中文报纸制作成为电子文档并上传至数据库,以维护和保存这些珍贵文献,并使得这些珍藏得以展现在世人面前, 供人们研究学习。

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดย ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้มีความร่วมมือกับหอสมุดแห่งชาติ ในการทำสำเนาหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2551 ในการนำหนังสือพิมพ์ภาษาจีนเก่าทุกฉบับที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย ทั้งรายวัน รายสองวัน และรายสัปดาห์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นเอกสารอันมีคุณค่า เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสงวนรักษาหนังสือพิมพ์จีน และเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย โดยศูนย์บรรณสารฯ ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูล Thailand Digital Chinese Newspaper (TDCN) เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง

若有兴趣使用中文报纸数据库,请联系华侨崇圣大学图书馆。

ท่านที่สนใจใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน

中文报纸数据库

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa