WordPress สร้างบล็อกอัจฉริยะก้าวก่อนใครในโลกออนไลน์
ในโลกของอินเทอร์เน็ตได้พัฒนาไปไกล เราคงเคยได้ยินคำว่า “บล็อก” (Blog) ปัจจุบันบล็อกเข้ามามีบทบาทสำคัญในโลกอินเทอร์เน็ต มีบล็อกเกิดใหม่ทุกวัน หลาย ๆ คนหันมาสร้างบล็อกของตัวเอง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ เกิดคลังข้อมูลขนาดใหญ่ที่เราสามารถเข้าไปหาความรู้ได้อย่างไม่จำกัดบล็อกไม่เพียงใช้เป็นพื้นที่เผยแพร่บทความหรือข้อเขียนของเจ้าของบล็อกเท่านั้น แต่ยังประยุกต์ใช้สำหรับการโฆษณาขายสินค้า การทำธุรกิจออนไลน์ หรือใช้งานในลักษณะอื่น ๆ ตามความต้องการ ผู้อ่านที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ เขียนโดย อนุชา ลีวรกุล จะได้รู้จักความหมาย และเข้าใจวิธีการสร้าง “บล็อก” (Blog) ได้อย่างง่าย ๆ และมีบล็อกที่มีหน้าตาสวยงามไม่ต่างจากมืออาชีพและสามารถปรับแต่งบล็อกได้ทุกอย่างตามความต้องการ เราสามารถใช้ WordPress สร้างบล็อก โดยใช้เทคนิคการสร้างที่มีประสิทธิภาพ และมีเคล็ดลับน่ารู้จากหนังสือเล่มนี้ ผู้อ่านสามารถหาอ่านได้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ หนังสือทั่วไปชั้น 4 หมวดหมู่ TK5105.8884 อ187ว 2551
พระสังฆราชาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก และสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระสังฆราชาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก และสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดย กรุงเทพมหานคร จัดพิมพ์หนังสือนี้ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปรินายก (เจริญ สุวฑฒนมหาเถร) วันที่ 18 ธันวาคม 2558 ต่างเครื่องสักการบูชาพระกรุณาธิคุณ และเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์ ในเล่มประกอบด้วยพระประวัติ สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 19 พระองค์ พร้อมภาพประกอบสวยงาม ติดตามอ่านได้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เลขหมู่ BQ843 พ411 2558 ค่ะ
รายการอ้างอิง กรุงเทพมหานคร. (2558). พระสังฆราชาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปรินายก และสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร.
ชีวิตพอเพียง หมอเกษม วัฒนชัย
เป็นหนังสือที่อ่านแล้ว ต้องบอกต่อๆ ว่า เป็นหนังสือที่ควรอ่าน เป็นหนังสือชีวประวัติของ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นพ. เกษม วัฒนชัย องคมนตรี หรืออาจจะคุ้นเคยเรียกนามท่านว่า อาจารย์หมอเกษม หนังสือประเภทชีวประวัติ มักจะเป็นหนังสือที่จะให้มุมมอง แง่คิดของบุคคล ๆ นั้น ของอาจารย์หมอเกษม มีเรื่องราวที่ชวนให้ติดตามอ่านตั้งแต่หน้าปกใน เลยทีเดียว ที่ได้นำแนวคิด 3 ประการของอาจารย์หมอเกษม มาไว้
” 1. หาความสุขใกล้ตัว จากความอบอุ่นของครอบครัวและญาติมิตร จากความเอื้ออาทรของเพื่อนบ้านและชุมชน จากความงามที่ยั่งยืนของธรรมชาติ
2. ลดความอยากในวัตถุลงให้เหลือเท่าที่จำเป็น เพื่อจิตใจจะได้เป็นอิสระอย่างแท้จริง
3. ลดอัตตาลงให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อที่จะได้เรียนรู้จากผู้อื่นให้ได้มากที่สุด” Read the rest of this entry »
บิล เกตส์ เป็นคนชอบอ่านหนังสือ และมักจะ review หนังสือที่เขาอ่านไว้ สำหรับหนังสือ 6 เล่ม โปรดประจำปีนี้ของ เกตส์ คือ Read the rest of this entry »
17 นายกรัฐมนตรีไทยเชื้อสายจีน
ชาวไทยเชื้อสายจีนในสังคมไทย ได้ผสมผสานกลมกลืนกันอย่างแนบแน่นกับสังคมส่วนรวม บุคคลเหล่านี้ได้มีส่วนในการแสดงบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจลและสังคมรวมทั้งการเมืองในระดับชาติ ดังปรากฏในหนังสือ “17 นายกรัฐมนตรีไทยเชื้อสายจีน” จากผลงานการวิจัยของ วิววัฒนา ไทยสม จากการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้พบว่า นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีรวมทั้งสิ้น 28 ท่าน ในจำนวนนี้มีนายกรัฐมนตรีที่มีเชื้อสายจีนถึง 17 ท่าน (หน้าคำนำ) Read the rest of this entry »
泰国通史 (The History of Thailand)
ศูนย์บรรณสารสนเทศฯ ขอแนะนำหนังสือจีน เรื่อง 泰国通史 โดย 段立生 หรือมีชื่อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษว่า The History of Thailand เป็นหนังสือในชุด World History and Culture series กล่าวถึงอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทย ก่อนที่จะมีการตั้งอาณาจักรไทย คือ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา กรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์ ติดต่อหาอ่านได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 5 ห้องสมุดภาษาจีนค่ะ เลขหมู่ DS571 D667T 2014
ซื่อคู่ฉวนซู
หนังสือ “ซื่อคู่ฉวนซู” เป็นหนังสือสำคัญยิ่งของจีนชุดหนึ่ง ซึ่งขณะนี้มีอยู่ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นหนังสือที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกล่าวถึงหนังสือ “ซื่อคู่ฉวนซู” ไว้ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง “ไอรัก คืออะไร” [1] หน้า 14 ในหัวข้อ “ดูพิพิธภัณฑ์ของห้องสมุด” ดังนี้
หนังสือ ซื่อคู่ฉวนซู เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้สี่ประเภทของจีน ได้แก่
และหน้า 18 ในหัวข้อ “ดูหนังสือโบราณ”
หนังสือนี้รวมทั้งหมดเป็นพันๆ เล่ม จักรพรรดิ์เฉียนหลงมีพระราชโองการให้รวบรวมเขียนด้วยลายมือทั้งหมด (ทั้งๆ ที่ในเวลานั้นมีการพิมพ์แล้ว) สร้างไว้ 7 ชุด ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 3 ชุด เก็บรักษาไว้ที่ปักกิ่ง ไต้หวัน และหลานโจว ตอนกบฏไท้เผ็ง ถูกทำลายไป 3 ชุด เมื่อตอนที่กองทัพผสม 8 ชาติเข้าเผาวังหยวนหมิงหยวน ถูกทำลายไปอีกชุดหนึ่ง เขาบอกว่าธรรมดาไม่ให้คนอื่นดูคัมภีร์นี้ตัวจริง ผู้ที่ต้องการศึกษาต้องอ่านจากไมโครฟิล์ม คนที่จับหนังสือต้องใส่ถุงมือ Read the rest of this entry »