EAT MOVE SLEEP
หนังสือเล่มนี้รวบรวมงานวิจัยนับพันชิ้นเพื่อยืนยันว่า การกินตามใจปาก การนอนผิดวิธี การไม่เคลื่อนไหวร่างกาย เป็นเหตุให้สุขภาพย้ำแย่และเป็นภัยร้ายกลืนกินชีวิตยิ่งกว่าโรคร้ายใดๆ ผู้อ่านที่สนใจและต้องการดูแลตัวเอง จะได้รับประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างยิ่ง
รายการอ้างอิง
แร็ธ, ทอม. (2558). กินหลับขยับตัว : เคล็ด(ไม่)ลับเปลี่ยนชีวิตแบบพลิกฝ่ามือ. (ดลพร รุจิรวงศ์ ผู้แปล). กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์.
หนังสือ เรื่อง “ราชสุดาอาศิรพาทพิสิฐ : แนวคิดเรื่องขัตติยนารีและกลวิธีการใช้คำประพันธ์ในกวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ 60 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน 2558 และเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2558 โดยคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 4 บทได้แก่
เก๋ แดงสกุล. (2558). ราชสุดาอาศิรพาทพิสิฐ : แนวคิดเรื่องขัตติยนารีและกลวิธีการใช้คำประพันธ์ในกวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. กรุงเทพฯ : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหาภารัตคดี เฉลิมขัตติยานีสิรินธร
หนังสือ เรื่อง “มหาภารัตคดี เฉลิมขัตติยานีสิรินธร” จัดทำโดย ชมรมบาลี-สันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญพระฉายาลักษณ์ตราสัญลักษณ์ฉลองพระชนมายุ 5 รอบ และบทความ “มหาภารตะในฐานะวรรณคดีสำคัญของโลก” พิมพ์ลงในหนังสือนี้
เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ มาจากบทความจากการประชุมวิชาการเรื่อง “มหากาพย์มหาภารตะ : ความสัมพันธ์ที่มีต่อวัฒนธรรมไทย” ซึ่งชมรมบาลี-สันสกฤตได้จัดขึ้น ครั้งที่ 1 วันที่ 25-26 ตุลาคม 2533 และครั้งที่ 2 วันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2543 รวมทั้งบทความที่เกี่ยวกับมหาภารตะของคณาจารย์สาขาบาลี-สันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดพิมพ์อยู่ในหนังสือต่างๆ รวมบทความในหนังสือนี้ 20 บทความ โดยแบ่งเป็น 6 ตอน คือ
แม่ชีสุภาพรรณ ณ บางช้าง (บก). (2558). มหาภารัตคดี เฉลิมขัตติยานีสิรินธร. กรุงเทพฯ : ชมรมบาลี-สันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิลป์สิริธร์ ศิลปินสยาม
คณะกรรมการมูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติได้จัดทำหนังสือ “ศิลป์สิริธร์ ศิลปินสยาม” เฉลิมพระเกียรติในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา รวมเรื่องราวเกี่ยวกับพระอัจริยภาพด้านศิลปะที่ทรงสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องนับแต่ทรงพระเยาว์ตราบจนปัจจุบัน โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของศิลปะแต่ละด้านที่ทรงรังสรรค์ ซึ่งเรียบเรียงโดยผู้ที่เคยศึกษาและติดตามผลงานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดังนี้
มูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ และ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน). (2558). ศิลป์สิริธร์ ศิลปินสยาม. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสร้างเอกลักษณ์ของชาติ.
อยู่มานาน กาลเวลาพาสุข (Happiness that Long Life Brings)
หนังสือรวมภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างปี 2557-2558 ที่จัดแสดงในนิทรรศการชื่อเดียวกันระหว่างวันที่ 11 ธันวาคม – 6 มีนาคม 2559 ณ หอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร ขออัญเชิญพระราชนิพนธ์ที่ทรงไว้ในคำนำ “ปีนี้เป็นปีที่ข้าพเจ้าอายุ 60 ปี ตั้งแต่ปีที่แล้วใครๆ พากันให้ขนมเค้กแบบต่างๆ มาถึงตอนนี้มีถึง 115 ก้อน (สถิติถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2558) ในนิทรรศการนี้ ผู้จัดจึงเลือกรูปเค้กหลายรูป”
นับตั้งแต่ปี 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ เพื่อนำมาจัดแสดงนิทรรศการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นความรู้แก่นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป เริ่มตั้งแต่นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “แสงคือสี สีคือแสง” ในปี 2550 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง” ในปี 2551 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง” ในปี 2552 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “สี แสง แสดงชีวิต” ในปี 2553 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “อุปบัติ ณ โลกี” ในปี 2554 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “ควงกล้องท่องโลก” ในปี 2555 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “รูปยาตรา ภาพทัศนาจร” ในปี 2556 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “อันมีทิพเนตรส่องไป” ในปี 2557 และในปี 2558 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เพื่อจัดนิทรรศการในหัวข้อ “อยู่มานาน กาลเวลามีสุข”
รายการอ้างอิง เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. (2558). อยู่มานาน กาลเวลาพาสุข (Happiness that Long Life Brings). กรุงเทพฯ : ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป.
หนังสือแพทย์แผนจีน ฉบับภาษาไทย ประกอบด้วย
หนังสือแพทย์แผนจีน ฉบับภาษาไทย
ติดตามอ่านและดาวน์โหลดได้ที่ http://www.tcmat.or.th/index.php?mo=59&id=1022946 จากเว็บไซต์ สมาคมแพทย์แผนจีนในประเทศไทย
วัชรปิยชาติ
หนังสือ “วัชรปิยชาติ” หรือ “ผู้เป็นที่รักประดุจเพชร” จัดทำขึ้นโดยชาวเพชรบุรี เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาญ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา วันที่ 2 เมษายน 2558
เนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้ มีจำนวน 9 ตอน รวม 61 เรื่อง จากผู้เขียนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเพชรบุรี กล่าวถึงความซาบซึ่งในพระจริยวัตรอันงดงาม พระอัจฉริยภาพอันสูงส่ง พระบารมี พระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานให้แก่จังหวัดเพชรบุรีและชาวเมืองเพชร
ขออัญเชิญบทพระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บางส่วนจากาพย์ขับไม้กล่อมช้างสำคัญสามเชือก ณ จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2521
เพชรบุรีรุ่งรัตน์เรื้อง เรืองรมย์ เกิดเกษตรการควรชม เชิดไว้ สกุลช่างน่านิยม เยี่ยมยวด ประวัติศาสตร์ว่าไว้ เด่นพร้อมแต่บูรพ์
เมืองเพชรบุรีงาม เลื่องชื่อลือนาม ไป่เปรียบใดปูน ป่าดงพงเนา ทะเลขุนเขา ซับซ้อนเพิ่มพูน เรือกสวนเกื้อกูล เลี้ยงสัตว์มากพูน เกิดพัฒนา เขื่อนเพชรมีนาน เพิ่มน้ำเจืดจาน ผลิตผลพา ทั้งการประมง โป๊ะจับปลาดง ได้มีราคา สหกรณ์ลือชา ชนหลายเหล่ามา ก็ต่างชื่นชม มีทั้งเรือนร้าน สถานที่ราชการ เลิศล้ำนิยม ผู้คนหญิงชาย ไปมาค้าขาย มากมายอุดม วัดวาน่าชม ชาวบุรีรมย์ เก่งทางช่างศิลป์
รายการอ้างอิง สมพร ประกอบชาติ. (บก). (2558). วัชรปิยชาติ. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
แหล่งรวมธรรมนิพนธ์ ธรรมบรรยายอิเล็กทรอนิกส์ (ของ พระพรหมคุณาภรณ์) ที่จัดทำขึ้นโดย วัดญาณเวศกวัน เพื่อเป็นธรรมทาน และเพื่อความสะดวกของผู้ศึกษาค้นคว้า ซึ่งถ้าท่านใดสนใจพิมพ์เผยแพร่ สามารถติดต่อ ได้ ระบบการสืบค้น สามารถหาหัวข้อธรรมะที่สนใจ ได้จาก ธรรมนิพนธ์ ธรรมบรรยาย และ ด้วยคำถามนำ ซึ่งจะโยงไปถึงธรรมนิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ นับว่าเป็นแหล่งหนังสือธรรมะ ที่ใช้เป็นแหล่งศึกษาธรรมะได้อีกทางหนึ่ง
เว็บไซต์ วัดญาณเวศกวัน
ถ้าเอ่ยชื่อ บางพลี บางบ่อ หนองงูเห่า คนส่วนใหญ่ก็จะคุ้นหูและรู้ว่า แต่ละชื่อ มีความเด่นหรือดังในด้านใด เช่น ปลาสลิดอร่อยๆ ก็ต้องเป็นปลาสลิดบางบ่อ หนองงูเห่า ก็เป็นชื่อเรียกแต่เดิมก่อนจะมาเป็นสนามบินสุวรรณภูมิ ทั้ง 3 ชื่อนี้ล้วนอยู่ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ทั้งสิ้น
แผนที่จังหวัดสมุทรปราการ ใน การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
อำเภอบางพลี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ ชุมชนบางพลีในอดีต ใช้คลองสำโรงซึ่งขุดขึ้นในรัชสมัยของอารยธรรมขอมโบราณ ระหว่าง พ.ศ. 978 ถึง 1700 เป็นเส้นทางหลักในการสัญจรและการค้าขายที่สำคัญ และยังมีคลองซอยต่างๆ อีกประมาณ 100 คลอง ด้วยความเจริญทางวัตถุที่แผ่ขยายเข้ามา ทำให้คลองที่เคยทำหน้าที่ระบายน้ำถูกปรับเปลี่ยนสภาพเป็นถนน หรือเป็นเพียงคูน้ำเล็กๆ ที่เหลือเพียงชื่อที่สะท้อนเรื่องราวความสำคัญของตัวตนคนบางพลี พิธีกรรม ประเพณี วัฒนธรรม ของชุมชนบางพลี
การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ (A Study of Folklore : A Determinant of Names of the Canals and Villages in Bangplee District, Samutprakarn Province) โดย พรรณศิริ แจ่มอรุณ วุฒิพงษ์ ทองก้อน และ กชพร ขวัญทอง คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ศึกษา รวบรวม และเรียบเรียง ชื่อของหมู่บ้านและลำคลองของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งจะสัมพันธ์กับแง่มุมของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วรรณกรรม ภูมิศาสตร์ และชาติพันธุ์ ตามความเชื่อ ความรู้ ประสบการณ์ ตามคำบอกเล่าของคนในท้องถิ่นซึ่งสามารถบอกเล่าเรื่องราวในอดีตและถ่ายทอดได้อย่างตรงไปตรงมา ประสานกับข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาติ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ ที่บันทึกโดยหน่วยงานราชการ Read the rest of this entry »
พอ : หลักธรรมแห่งความพอเพียง
พอ : หลักธรรมแห่งความพอเพียง ธรรมนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก จัดพิมพ์โดย ชมรมศิษย์กรรมฐานพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ถวายพระราชกุศลเนื่องในมหามงคลสมัย 88 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม 2558 และ ถวายสักการะฉลองพระชันษาชาตกาล 102 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เป็นธรรมคำสอนในชีวิตประจำวันให้รู้จักความพอเพียง ความสันโดษ ประกอบด้วยหลักธรรมคำสอนที่น่าศึกษาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตประจำวัน ได้แก่ Read the rest of this entry »