SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
中文报纸数据库 (ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน)
ม.ค. 30th, 2016 by suwat

自2008年9月29号始,华侨崇圣大学图书馆与泰国国家图书馆合作协办泰国百年中文报纸电子版制作项目。把自1917年起在泰国出版发行的所有中文日刊、两日刊、星期刊等中文报纸制作成为电子文档并上传至数据库,以维护和保存这些珍贵文献,并使得这些珍藏得以展现在世人面前, 供人们研究学习。

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดย ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้มีความร่วมมือกับหอสมุดแห่งชาติ ในการทำสำเนาหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2551 ในการนำหนังสือพิมพ์ภาษาจีนเก่าทุกฉบับที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย ทั้งรายวัน รายสองวัน และรายสัปดาห์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นเอกสารอันมีคุณค่า เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสงวนรักษาหนังสือพิมพ์จีน และเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย โดยศูนย์บรรณสารฯ ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูล Thailand Digital Chinese Newspaper (TDCN) เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง

若有兴趣使用中文报纸数据库,请联系华侨崇圣大学图书馆。

ท่านที่สนใจใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน

中文报纸数据库

การอบรมการใช้ฐานข้อมูล ScienceDirect และ Search Talk
ม.ค. 29th, 2016 by supaporn

วันที่ 29 มกราคม 2559 เวลา 9.00-11.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดการอบรมการใช้ฐานข้อมูล ScienceDirect ให้แก่นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 149 คน ณ ห้อง 4-207 อาคารโภชนาการ

ก่อนนำเข้าการอบรมฐานข้อมูล ScienceDirect วิทยากรจากศูนย์บรรณสารฯ ได้อธิบายสารสนเทศต่างๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์ใหม่ของศูนย์บรรณสารฯ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th เพื่อเป็นการแนะนำแหล่งสารสนเทศต่างๆ เครื่องมือ และช่องทางการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศที่สนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย รวมทั้งฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับเป็นสมาชิก เช่น ScienceDirect ซึ่งได้อธิบายการใช้งานอย่างละเอียด และการนำภาพ สมการ จากฐานข้อมูลไปใช้ประกอบในการทำรายงานต่อไป รวมทั้งการอ้างอิงอย่างถูกต้อง เนื่องจากนักศึกษาพยาบาล เป็นผู้ใช้ ScienceDirect ในการเรียนอยู่เสมอ การเข้าใช้ฐานข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่คุ้นเคย ทีมงานวิทยากร จึงได้เตรียมการฝึกปฏิบัติการ “Search Talk” เพื่อให้นัักศึกษาพยาบาล ได้ฝึกฝนการคิดคำค้น กลวิธีในการสืบค้น จากโจทย์ที่เตรียมไว้ให้จำนวน 8 ข้อ และเพื่อจะได้นำคำค้น กลวิธีในการสืบค้น มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน อันจะเป็นประโยชน์ในการสืบค้น ประกอบการทำรายงาน การค้นคว้าต่อไป Read the rest of this entry »

รู้ทันสแปม
ม.ค. 29th, 2016 by supaporn

อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าเรื่องสแปมเมลที่หลอกดูดเงินของเรา  ไม่ว่าจะใช้เงินล่อ ใช้ความสงสาร หรือ การข่อให้กลัว อาจารย์ให้วิธีลดสแปมให้น้อยลง และวิธีสนุกๆ ในการเล่นงานคนส่งสแปม เชิญอ่านได้ที่ http://www.dailynews.co.th/it/376076

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ แก่นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ
ม.ค. 27th, 2016 by supaporn

วันที่ 27 มกราคม 2559 เวลา เวลา 9.30-11.30 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรมสิ่งเสริมการเรียนรู้ ให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาโลจิสติกส์ สาขาการบัญชี สาขาการจัดการ สาขาการตลาดและสาขาธุรกิจระหว่างประเทศ รวม 90 คน และเวลา 13.30-15.30 น. ให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาธุรกิจจีน สาขาการเงิน และสาขาการตลาด รวม 54 คน โดยแนะนำการสืบค้นผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับจากต่างประเทศ การใช้ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ การใช้ฐานข้อมูลวิชาการ รวมทั้งแหล่งสารสนเทศต่างๆ ที่ศูนย์บรรณสารฯ นำมาเผยแพร่ไว้ที่หน้าเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารฯ ที่ https://lib-km.hcu.ac.th

บรรยากาศการอบรม

บรรยากาศการอบรม

บรรยากาศการอบรม

บรรยากาศการอบรม

ในการอบรมครั้งนี้ มีการเน้นในเรื่องการเขียนรายการอ้างอิงอย่างถูกต้อง เนื่องจากจะเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ และถือว่าไม่จริยธรรมในทางวิชาการ และในปัจจุบันสามารถใช้โปรแกรม Plagiarism Check‎er ในการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน การเขียนรายการอ้างอิง ให้มีการสอบถามอาจารย์ที่มอบหมายว่าจะให้ใช้หลักเกณฑ์หรือรูปแบบใด ซึ่งที่หน้าเว็บของศูนย์บรรณสารฯ ได้นำข้อมูล การอ้างอิงตามหลักการทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระของมหาวิทยาลัย ข้อมูลการเขียนการอ้างอิงรูปแบบต่างๆ เช่น Citation Styles (http://www.plagiarism.org/citing-sources/citation-styles) A Research Guide for Students (http://www.aresearchguide.com/) และ การอ้างอิงและการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ตามแบบ APA ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 (แปลและเรียบเรียง โดย นันทพร ธนะกูลบริภัณฑ์ สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ แก่นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ
ม.ค. 26th, 2016 by supaporn

วันที่ 26 มกราคม 2559 เวลา 9.30-11.30 น.  ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ จำนวน 28 คน และเวลา 13.30-15.30 น. นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชั้นปีที่3 จำนวน 52 คน และคณะบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี สาขาการจัดการ สาขาการตลาด จำนวน 87 คน ณ ห้องสื่อประสม อาคารบรรณสาร

วิทยากรบรรยาย การส่งเสริมการเรียนรู้ แก่นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ

วิทยากรบรรยาย การส่งเสริมการเรียนรู้ แก่นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ

กิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากจะแนะนำการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดผ่านระบบฐานข้อมูลห้องสมุด ตามสาขาวิชาของนักศึกษาแล้ว ยังได้มีการเน้นเรื่องการใช้ฐานข้อมูล ScienceDirect โดยแนะนำวิธีการสืบค้น การจำกัดการสืบค้น การดูผลการสืบค้น การดาวน์โหลดข้อมูล รวมทั้งการดึงข้อมูลในบทความมาใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น รูปภาพ สูตรสมการ เป็นต้น และการแนะนำการใช้เครื่องมือในการดึงข้อมูลทางรายการบรรณานุกรมของการอ้างอิงออกมาจากฐานข้อมูลด้วย ทั้งนี้ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ และฐานข้อมูลวิชาการเป็นอีก 2 ฐานข้อมูลที่นักศึกษาให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้มีการสาธิตการสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของ ThaiLIS และฐานข้อมูลงานวิจัย TNRR และได้มีการเน้นในการค้นหาวิทยานิพนธ์ของ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจากรายการวิทยานิพนธ์ทั้งหมดที่ศูนย์บรรณสารฯ ให้บริการที่หน้าเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารฯ ที่ https://lib-km.hcu.ac.th (1) โดยรวบรวมไว้ในรูปแบบของเอ็กเซล (2) และศูนย์บรรณสารฯ ได้อำนวยความสะดวกให้คลิกรายการวิทยานิพนธ์ที่้ต้องการและเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของ ThaiLIS ได้ทันที (3) ก็จะสามารถคลิกดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มมาดูได้ทันที

ขั้นตอนการค้นหาวิทยานิพนธ์ มฉก. อย่างง่ายๆ

ขั้นตอนการค้นหาวิทยานิพนธ์ มฉก. อย่างง่ายๆ

ราชสุดาอาศิรพาทพิสิฐ : แนวคิดเรื่องขัตติยนารีและกลวิธีการใช้คำประพันธ์ในกวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ม.ค. 26th, 2016 by supaporn

หนังสือ เรื่อง “ราชสุดาอาศิรพาทพิสิฐ : แนวคิดเรื่องขัตติยนารีและกลวิธีการใช้คำประพันธ์ในกวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ 60 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน 2558 และเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2558 โดยคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 4 บทได้แก่

  • บทนำ และพระราชประวัติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • แนวคิดเรื่องขัตติยนารีที่ปรากฏในกวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • กลวิธีการเลือกใช้รูปแบบคำประพันธ์ในกวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจ้าฟ้าผู้ทรงเป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจ ของปวงชนชาวไทย

รายการอ้างอิง

เก๋ แดงสกุล. (2558). ราชสุดาอาศิรพาทพิสิฐ : แนวคิดเรื่องขัตติยนารีและกลวิธีการใช้คำประพันธ์ในกวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. กรุงเทพฯ : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

มหาภารัตคดี เฉลิมขัตติยานีสิรินธร
ม.ค. 26th, 2016 by supaporn

มหาภารัตคดี เฉลิมขัตติยานีสิรินธร

มหาภารัตคดี เฉลิมขัตติยานีสิรินธร

หนังสือ เรื่อง “มหาภารัตคดี เฉลิมขัตติยานีสิรินธร” จัดทำโดย ชมรมบาลี-สันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญพระฉายาลักษณ์ตราสัญลักษณ์ฉลองพระชนมายุ 5 รอบ และบทความ “มหาภารตะในฐานะวรรณคดีสำคัญของโลก” พิมพ์ลงในหนังสือนี้

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ มาจากบทความจากการประชุมวิชาการเรื่อง “มหากาพย์มหาภารตะ : ความสัมพันธ์ที่มีต่อวัฒนธรรมไทย” ซึ่งชมรมบาลี-สันสกฤตได้จัดขึ้น ครั้งที่ 1 วันที่ 25-26 ตุลาคม 2533 และครั้งที่ 2 วันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2543 รวมทั้งบทความที่เกี่ยวกับมหาภารตะของคณาจารย์สาขาบาลี-สันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดพิมพ์อยู่ในหนังสือต่างๆ รวมบทความในหนังสือนี้ 20 บทความ โดยแบ่งเป็น 6 ตอน คือ

  • ตอนที่ 1 ปาฐกถานำ มหาภารตะในฐานะวรรณคดีสำคัญของโลก โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยายถึงโครงสร้างเนื้อหาของมหากาพย์ภารตะ และความสัมพันธ์ที่มีต่อวัฒนธรรมไทยด้านต่างๆ ตลอดจนคุณลักษณะที่ทำให้วรรณคดีที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียเรื่องนี้เป็นวรรณคดีสำคัญของโลก
  • ตอนที่ 2 มหาภารตะในอินเดีย
  • ตอนที่ 3 ธรรมะในมหาภารตะ
  • ตอนที่ 4 ความงามทางวรรณคดีของมหาภารตะ
  • ตอนที่ 5 ความสัมพันธ์ของมหาภารตะที่มีต่อวรรณคดีไทย
  • ตอนที่ 6 ความสัมพันธ์ของมหาภารตะที่มีต่อวัฒนธรรมไทย

รายการอ้างอิง

แม่ชีสุภาพรรณ ณ บางช้าง (บก). (2558). มหาภารัตคดี เฉลิมขัตติยานีสิรินธร. กรุงเทพฯ : ชมรมบาลี-สันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิลป์สิริธร์ ศิลปินสยาม
ม.ค. 26th, 2016 by supaporn

ศิลป์สิริธร์ ศิลปินสยาม

ศิลป์สิริธร์ ศิลปินสยาม

คณะกรรมการมูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติได้จัดทำหนังสือ “ศิลป์สิริธร์ ศิลปินสยาม” เฉลิมพระเกียรติในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา รวมเรื่องราวเกี่ยวกับพระอัจริยภาพด้านศิลปะที่ทรงสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องนับแต่ทรงพระเยาว์ตราบจนปัจจุบัน โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของศิลปะแต่ละด้านที่ทรงรังสรรค์ ซึ่งเรียบเรียงโดยผู้ที่เคยศึกษาและติดตามผลงานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดังนี้

  • กว่าจะเป็น “ศิลป์สิรินธร์ ศิลปินสยาม” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ญาดา อารัมภีร
  • “The Making of a Siamese Royal Talent – Sirindhorn” by Assist. Prof. Dr. Yada Arunaveja Arampee ; Translator: Varee Tanthulakorn
  • ศิลปกรรมรังสรรค์ โดย ศาตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร
  • วรรณศิลป์สุนทรีย์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ญาดา อารัมภีร
  • แสง สี เงาฉาย โดย นิติกร กรัยวิเชียร

รายการอ้างอิง

มูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ และ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน). (2558). ศิลป์สิริธร์ ศิลปินสยาม. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสร้างเอกลักษณ์ของชาติ.

อยู่มานาน กาลเวลาพาสุข (Happiness that Long Life Brings)
ม.ค. 26th, 2016 by supaporn

อยู่มานาน กาลเวลาพาสุข (Happiness that Long Life Brings)

อยู่มานาน กาลเวลาพาสุข (Happiness that Long Life Brings)

หนังสือรวมภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างปี 2557-2558 ที่จัดแสดงในนิทรรศการชื่อเดียวกันระหว่างวันที่ 11 ธันวาคม – 6 มีนาคม 2559 ณ หอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร ขออัญเชิญพระราชนิพนธ์ที่ทรงไว้ในคำนำ “ปีนี้เป็นปีที่ข้าพเจ้าอายุ 60 ปี ตั้งแต่ปีที่แล้วใครๆ พากันให้ขนมเค้กแบบต่างๆ มาถึงตอนนี้มีถึง 115 ก้อน (สถิติถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2558) ในนิทรรศการนี้ ผู้จัดจึงเลือกรูปเค้กหลายรูป”

นับตั้งแต่ปี 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ เพื่อนำมาจัดแสดงนิทรรศการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นความรู้แก่นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป เริ่มตั้งแต่นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “แสงคือสี สีคือแสง” ในปี 2550 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง” ในปี 2551 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง” ในปี 2552 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “สี แสง แสดงชีวิต” ในปี 2553 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “อุปบัติ ณ โลกี” ในปี 2554 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “ควงกล้องท่องโลก” ในปี 2555 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “รูปยาตรา ภาพทัศนาจร” ในปี 2556 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “อันมีทิพเนตรส่องไป” ในปี 2557 และในปี 2558 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เพื่อจัดนิทรรศการในหัวข้อ “อยู่มานาน กาลเวลามีสุข”

รายการอ้างอิง
เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. (2558). อยู่มานาน กาลเวลาพาสุข (Happiness that Long  Life Brings). กรุงเทพฯ : ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป.

คลังความรู้ด้านการแพทย์แผนจีน (Huachiew TCM E-Library)
ม.ค. 26th, 2016 by supaporn

คลินิกหัวเฉียวไทย-จีน แพทย์แผนไทย โดยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้จัดทำเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่กิจกรรมและองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนจีน มีการจัดหมวดหมู่ออกเป็น

  • ทฤษฎีการแพทย์แผนจีน
  • ฝังเข็มและรมยา
  • อายุรกรรม
  • กระดูกและทุยหนา
  • เกร็ดความรู้

เป็นเว็บไซต์ที่น่าสนใจ และน่าติดตามสำหรับผู้อ่านที่สนใจด้านการแพทย์แผนจีนค่ะ ลองแวะเข้าไปอ่านดูนะคะที่ http://huachiewtcm.com/learning.php

คลังข้อมูลการแพทย์แผนจีน (Huachiew TCM E-Library)

คลังข้อมูลการแพทย์แผนจีน (Huachiew TCM E-Library)

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa