SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
สนุกกับภาษาเขมร : ภาษาร่วมรากภาษาไทย
ก.พ. 2nd, 2016 by sirinun

20130903113500_4929

สนุกกับภาษาเขมร

ภาษาเขมรเป็นภาษาเก่าแก่ที่เคยใช้อย่างแพร่หลายในอุษาคเนย์ มีคำในภาษาไทย  จำนวนมากหยิบยืมมาจากภาษาเขมรทั้ง  อักษรขอมโบราณยังส่งผลต่อรูปแบบอักษร  ไทยก่อนพัฒนามาสู่ปัจจุบัน หนังสือ “สนุกกับภาษาเขมร ภาษาร่วมกับรากภาษาไทย” จึงเป็นหนังสือที่สนุกกับคำศัพท์ง่าย ๆ อาทิ คำทักทาย คำเรียกเครือญาติ อวัยวะ อาหาร ข้าวของเครื่องใช้ ดอกไม้ สัตว์ ยานพาหนะ ดินฟ้าอากาศ ไปจนถึงสำนวน-สุภาษิต และเพลงชาติ

รายการอ้างอิง
พลอย แสงลอย. (2556). สนุกกับภาษาเขมร : ภาษาร่วมรากภาษาไทย. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์.

ประวัติศาสตร์และพื้นฐานการออกแบบภาพเคลื่อนไหว (History and basic of animation)
ก.พ. 2nd, 2016 by sirinun

download

HISTORY AND BASIC OF ANIMATION

ประวัติศาสตร์และพื้นฐานการออกแบบภาพเคลื่อนไหว [History and basic of animation] มีเนื้อหาที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วนในเรื่องพื้นฐาน การออกแบบภาพเคลื่อนไหว มีการเรียบเรียงนำเสนอความรู้พื้นฐานที่สำคัญอย่างชัดเจน ทันสมัยตามความก้าวหน้าและเป็นประโยชน์ทางวิชาการ สามารถนำเอาความรู้ในหนังสือมาใช้อ้างอิง ทั้งหมดมีเนื้อหาครอบคลุมด้านความหมาย ประวัติศาสตร์ เทคนิควิธีการ กระบวนการทำงาน ตลอดจนแนวทางการสังเคราะห์ วิเคราะห์สัญลักษณ์ ความหมายในภาพยนตร์การ์ตูนและภาพเคลื่อนไหว เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจค้นคว้าและสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานตั้งแต่ระดับนักเรียน นิสิตนักศึกษา นักออกแบบ นักวิชาการและผู้อ่านทั่วไปที่สนใจเรื่อง Animation

รายการอ้างอิง

วิสิฐ จันมา. (2558). ประวัติศาสตร์และพื้นฐานการออกแบบภาพเคลื่อนไหว (History and basic of animation). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

 

กินหลับขยับตัว : เคล็ด (ไม่)ลับเปลี่ยนชีวิตแบบพลิกฝ่ามือ
ก.พ. 2nd, 2016 by sirinun

EAT MOVE SLEEP

EAT MOVE SLEEP

หนังสือเล่มนี้รวบรวมงานวิจัยนับพันชิ้นเพื่อยืนยันว่า การกินตามใจปาก การนอนผิดวิธี การไม่เคลื่อนไหวร่างกาย เป็นเหตุให้สุขภาพย้ำแย่และเป็นภัยร้ายกลืนกินชีวิตยิ่งกว่าโรคร้ายใดๆ ผู้อ่านที่สนใจและต้องการดูแลตัวเอง จะได้รับประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างยิ่ง

รายการอ้างอิง

แร็ธ, ทอม. (2558). กินหลับขยับตัว : เคล็ด(ไม่)ลับเปลี่ยนชีวิตแบบพลิกฝ่ามือ. (ดลพร รุจิรวงศ์ ผู้แปล). กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์.

สาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ก.พ. 2nd, 2016 by supaporn

เป็นเว็บไซต์ของสาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียน การสอนภาษาจีน เครื่องมือเกี่ยวกับการเรียนการสอน คลังข้อมูล/คลังภาษา และสาระความรู้อื่นๆ รวมทั้งความบันเทิง

เว็บไซต์สาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์สาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถานีวิทยุซีอาร์ไอ (China Radio International)
ก.พ. 2nd, 2016 by supaporn

เป็นสถานีวิทยุของรัฐบาลจีน เพื่อแนะนำจีนกับประชาชนโลก เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจและกระชับมิตรภาพระหว่างประชาชนจีนกับประชาชนโลก ปัจจุบัน สถานีวิทยุซีอาร์ไอออกอากาศและเผยแพร่ด้วย 59 ภาษาสู่ทั่วโลก ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น มองโกล เกาหลี ฮินดี เนปาล อูรดู ทมิฬ สิงหล บังคลาเทศ เวียดนาม ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย ไทย ตุรกี พาซโต อาหรับ เปอร์เซีย เฮาซา สวาฮีลี รัสเซีย เช็ก เซอร์เบีย โรมาเนีย แอลเบเนีย บัลแกเรีย ฮังการี โปแลนด์ ยูเครน โครเอเทียเยอรมัน สเปน ฝรั่งเศส เอสเปรันโต อิตาลี โปรตุเกส ฟินแลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก ไบโลรัสเซีย กรีซ ฮีบรู เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ ภาษาจีนกลาง และภาษาจีนท้องถิ่น 4 ภาษา ได้แก่ ภาษากวางตุ้ิง แคะ ฮกเกี้ยน และภาษาแต้จิ๋ว ตลอดจนภาษาชนกลุ่มน้อยของจีนอีกหลายภาษา เช่น ภาษาชนชาติอุยกูร์ คาซัก คีร์กิซ และภาษาทิเบต เป็นต้น นับว่าเป็นเว็บไซต์ที่ให้สาระความรู้เกี่ยวกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน การเรียนภาษาจีน เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม รวมทั้ง กีฬา  บันเทิง และดนตรี เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ http://thai.cri.cn/index.htm

สถานีวิทยุซีอาร์ไอ (China Radio International)

สถานีวิทยุซีอาร์ไอ (China Radio International)

อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว เยี่ยมชมห้องสมุดภาษาจีน ศูนย์บรรณสารฯ
ก.พ. 2nd, 2016 by supaporn

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 11.30 น. อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว จำนวน 5 คน เข้าเยี่ยมชมห้องสมุดภาษาจีน ห้องสมุดการแพทย์แผนจีน ห้องทรงอักษร หอเอกสาร ดร. อุเทน  เตชะไพบูลย์ ในการนี้ บรรณารักษ์ภาษาจีนให้การต้อนรับร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว ระหว่างการเยี่ยมชมห้องทรงอักษร

อธิการบดีและคณะจากมหาวิทยาลัยอู่โจว ระหว่างการเยี่ยมชมห้องทรงอักษร

ให้ความสนใจกับโต๊ะทรงอักษร

ให้ความสนใจกับโต๊ะทรงอักษร

ระหว่างฟังการบรรยาย

ระหว่างฟังการบรรยาย

20160202-Visit4

ลงนามในสมุดเยี่ยม

ปุ่มลัดของคีย์บอร์ด
ก.พ. 1st, 2016 by wanvason

คีย์บอร์ดที่เห็นๆ กัน มีฟังก์ชันช่วยการทำงานมากมาย

คีย์บอร์ดของเรามีฟังก์ชันต่างๆ ซ่อนอยู่  เพียงแต่เราไม่รู้เท่านั้น

ซึ่งบางฟังก์ชันอาจจะมีประโยชน์ต่อเรา  ถ้าอยากรู้ว่ามีฟังก์ชันอะไรที่เป็น ประโยชน์กับคุณบ้าง คลิ๊กเลย

รายการอ้างอิง

รู้แล้วจะอึ้ง! ถ้าได้รู้ว่าคีย์บอร์ดมีฟังก์ชั่นนี้ซ่อนอยู่! อย่างนี้ก็คือ ใช้ไม่เป็นมาตลอด…. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2559 จาก http://www.todayza.com/40690/

 

 

พิธีประสาทปริญญา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ม.ค. 30th, 2016 by supaporn

ปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ในปี พ.ศ. 2535 เป็นปีแรกมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติของการเปิดการสอนในระดับอุดมศึกษา จวบจนปัจจุบันมีการผลิตบัณฑิตเพื่อรับใช้สังคมเป็นจำนวนมาก แต่ก่อนหน้านั้น มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีพัฒนาการที่สามารถแบ่งออกเป็นช่วงสำคัญได้ 3 ยุค ได้แก่

  • โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย โรงพยาบาลหัวเฉียว (พ.ศ. 2485-2534)
    เป็นหน่วยงานหนึ่งของโรงพยาบาลหัวเฉียว ผลิตนักเรียนผดุงครรภ์ทั้งสิ้น 34 รุ่น
  • วิทยาลัยหัวเฉียว (พ.ศ. 2524-2534)
    โรงเรียนผดุงครรภ์ ได้รับการยกวิทยฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยหัวเฉียว เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2524 เปิดหลักสูตรการศึกษาการพยาบาล ในระดับปริญญาตรี นับได้ว่าคณะพยาบาลศาสตร์เป็นคณะวิชาคณะแรกของวิทยาลัย และเป็นคณะพยาบาลของวิทยาลัยเอกชน แห่งแรกในกรุงเทพฯ ต่อมาได้เพิ่มคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ในปีการศึกษา 2533
  • มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน)
    ในปีการศึกษา 2535 เป็นปีแรกของการเปิดการสอนในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยได้เปิดสอน 5 คณะวิชา และในปัจจุบันได้เปิดสอนระดับปริญญาตรี 13 คณะ และระดับบัณฑิตวิทยาลัยจำนวน 9 หลักสูตร 13 สาขาวิชา

Read the rest of this entry »

บัณฑิตรางวัลกาญจนาภิเษก ประจำปีการศึกษา 2557
ม.ค. 30th, 2016 by supaporn

รางวัลกาญจนาภิเษกเป็นรางวัลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดตั้งกองทุนเพื่อมอบเป็นรางวัลให้กับนักศึกษาที่ศึกษาครบทุกรายวิชาในระยะเวลา ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรโดยไม่มีการลาพักการศึกษา มีผลการเรียนเป็นผู้ที่สอบได้แต้มเฉลี่ย สะสมตั้งแต่ 3.75 ขึ้นไป มีความประพฤติดีจนเป็นที่ประจักษ์ ได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยด้วยความตั้งใจ จริงใจ และเสียสละอย่างแท้จริง Read the rest of this entry »

华侨崇圣大学图书馆 (ห้องสมุดภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ)
ม.ค. 30th, 2016 by suwat

华侨崇圣大学的创办人是泰国著名侨领,有意创办这所有着中国文化方面特征的大学,并致力于让学校成为领导泰国汉语言文学、商务汉语、中医学以及中国文化等方面的大学和中国学数据库集聚之地。

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีน จึงมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่มีเอกลักษณ์ด้านจีนแห่งนี้ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้นำด้านภาษาจีน ธุรกิจจีน การแพทย์แผนจีน ตลอดจนเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ด้านจีนศึกษาทุกมิติ

华侨崇圣大学华文图书馆位于学校图书馆5楼。于1994年(佛历2537)建立,馆藏有众多媒体资源、期刊、当代华文报纸(共5家报社:京华日报、世界日报、新中源报、星暹日报、中华日报)和关于汉语教材、人文社会、中国文化、历史等等书籍,在教学方面,不仅为本校师生师提供借阅,还可以为各国的学生、研究者提供服务。多年以来,各种社会组织、社团集团、政府单位以及私人珍藏的珍贵书籍源源不断的捐赠至本校成为本馆藏书,使得华侨崇圣大学华文图书馆成为了泰国最大的华文图书馆。

ห้องสมุดภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการที่ชั้น 5 อาคารบรรณสารสนเทศ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) ประกอบด้วยทรัพยากรสารสนเทศในรูปของหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ (จำนวน 5 ชื่อเรื่อง ได้แก่ เกียฮั้ว จีนสากล ซิงจงเอี๋ยน ซินเสียนเยอะเป้า และตงฮั้ว) และตำราที่เกี่ยวกับศาสตร์ทางด้านภาษาจีน ตลอดจนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและวัฒนธรรมจีน ให้บริการเพื่อสนับสนุนการเรียน การสอน ไม่เฉพาะแต่นักศึกษา อาจารย์ของมหาวิทยาลัยเท่านั้น ห้องสมุดภาษาจีนแห่งนี้ ยังได้ให้บริการนักศึกษา นักวิจัย จากต่างประเทศอีกด้วย เพียงการสืบค้นจากระบบฐานข้อมูลที่สืบค้นด้านหนังสือจีนในประเทศไทย ด้วยการพยายามจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ และการได้รับบริจาคหนังสืออันทรงคุณค่าจากบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทำให้ห้องสมุดจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นห้องสมุดภาษาจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

华侨崇圣大学华文图书馆的镇馆之宝是一套由台湾商务印书馆出版发行的影印版《文渊阁四库全书》,全泰国仅此一套。《四库全书》是在乾隆皇帝的主持下,由纪昀等360多位高官、学者编撰,2800多人抄写,耗时十三年编成的丛书,分经、史、子、集四部,故名四库,被称为19世纪最伟大的文学作品。

นอกจากนี้ที่ห้องสมุดภาษาจีนมีหนังสือที่มีคุณค่าชุด “ซื่อคู่ฉวนซู” ที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย (Si Ku Quan Shu) ซึ่งเรียบเรียงโดยบัณฑิตแห่งสำนักหันหลินกว่า 2800 คน ในสมัยจักรพรรดิเฉียงหลง โดยใช้เวลาเรียบเรียง 10 ปี (ค.ศ. 1793) “ซื่อคู่ฉวนซู” เป็นตำราที่ประมวลวิชาความรู้อันล้ำลึกไว้ทุกประเภท หนังสือชุดนี้ได้มีผู้กล่าวไว้ว่าเป็นตำราที่ยิ่งใหญ่ในด้านวรรณคดี ในศตวรรษที่ 18

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa