SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ห้องสมุดที่เคยเป็นและห้องสมุดในอนาคต
ก.ค. 4th, 2016 by navapat

ห้องสมุดที่เคยเป็นและห้องสมุดในอนาคต

เป็นบทความรวบรวม ความคิดเห็นของบรรณารักษ์  สถาปนิก และนักวิชาการจากหลายสาขา ซึ่งมารวมตัวกันที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology, MIT) เพื่อให้ความเห็น และชี้ให้เห็นอนาคตของห้องสมุด

นอกเหนือจากการเป็นคลังหนังสือแล้ว ห้องสมุดเก่าแก่แห่งเมืองอเล็กซานเดรีย ยังเป็นแหล่งค้นคว้าทางวิชาการให้กับบรรดานักวิชาการ   คำว่า “Mouseion” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า สถานที่ทำงานของเทพเจ้า Muses (เทพ Muses เป็นเทพแห่งวรรณกรรม และศิลปะ เป็นธิดาของเทพ Zeus ในตำนานกรีก : ผู้แปล)  ด้วยเหตุนี้ในห้องสมุดในสมัยแรกเริ่ม จึงประกอบไปด้วย  ห้องสอนหนังสือ (Exedra) โรงรับประทานอาหาร (Oinks) และ ทางเดินแบบมีหลังคา (Peripatos)  เมื่อสรุปรวมกันจึงแปลได้ว่า เป็นสถานที่นักวิชาการใช้สำหรับค้นคว้า และสนทนาทางวิชาการ  นักวิชาการ สามารถเดินถือตำราไปไหนมาไหนหรือรับประทานอาหาร ภายใต้ร่มเงานั้นได้ แม้ว่า ปัจจุบันเราอยู่ในยุคดิจิทัลแล้วก็ตาม แต่ความหมายโดยรวมของมันยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก

นับเป็นเวลา 1,000 ปีมาแล้ว ที่ห้องสมุด ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ และภาวะของสังคม ซึ่งแน่นอนว่า ข้อมูล และสภาวะทางสังคม ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ เช่น การเปลี่ยนจากโต๊ะดินเหนียว ไปเป็นตู้แบบที่มีล้อเลื่อน และกลายเป็นการสืบค้นแบบเข้ารหัส และเข้าสู่ยุคดิจิทัลในยุคปัจจุบัน ห้องสมุดจึงมีการปรับเปลี่ยน การอ่านออกเขียนได้ กลายเป็นมาตรฐาน เช่นเดียวกับ เหล่านักวิชาการ มีการรวมตัวกันมากขึ้น นิสัยการอ่านก็เปลี่ยนแปลง  มีวิธีการที่จะเข้าถึงข้อมูล หลายหมื่นข้อความ ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดมีการพัฒนา  มันได้เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางด้านข้อมูล และพฤติกรรมทางสังคม รวมทั้งนิสัยการอ่าน การเรียน  ล้วนแต่มีผลต่อรากฐานของห้องสมุด Read the rest of this entry »

สาเหตุการเกิดกลิ่นของหนังสือเก่าและหนังสือใหม่
มี.ค. 22nd, 2016 by navapat

What Causes the Smell of New & Old Books?

What Causes the Smell of New & Old Books?

เมื่อวัันก่อนอ่าน FB ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แนะนำบทความเรื่อง What Causes the Smell of New & Old Books?  แล้วรู้สึกว่าน่าสนใจเลยขอเก็บความมาเล่าดังนี้

เคยรู้สึกหรือไม่ เวลาที่เข้าไปหอสมุดที่ค่อนข้างเก่าแก่โบราณ  หรือเข้าไปตามร้านขายหนังสือมือสอง มักจะได้กลิ่นของหนังสือเก่า ที่มีกลิ่นสาบๆ เหมือนเต็มไปด้วยสารพิษ  หรือในเวลาที่ซื้อหนังสือเล่มใหม่มาอ่าน  ขณะที่พลิกหน้ากระดาษแต่ละหน้า  มักจะมีกลิ่นฉุนๆ ของสารเคมีอะไรสักอย่างโชยขึ้นมา เตะจมูก ซึ่งไม่แน่ใจว่ากลิ่นนั้นโชยมาจากเนื้อกระดาษ หรือกลิ่นน้ำหมึกที่ใช้พิมพ์กันแน่    แล้วกลิ่นเหล่านี้ ใช้เวลานานแค่ไหน กว่ามันจะจาง หรือหมดไป  ช่างเป็นคำถามที่ตอบยากทีเดียว  ทำไมนะหรือ?

ประเด็นที่หนึ่ง  ดูเหมือนว่าจะขาดแคลนผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ ที่มุ่งค้นคว้าถึงสาเหตุนี้โดยตรง

ประเด็นที่สอง น้ำยาเคมีที่ถูกผสมลงไปในเนื้อกระดาษที่แต่ละโรงงานหรือแต่ละโรงพิมพ์ ล้วนแต่ใช้แตกต่างชนิดกัน  ซึ่งหากต้องการหาสารประกอบทางเคมีจากหนังสือ คงต้องทำการทดลองหาสารประกอบเหล่านั้น ชนิดเล่มต่อเล่มทีเดียว Read the rest of this entry »

Vellum คืออะไร?
ก.พ. 17th, 2016 by navapat

หนังลูกวัว

หนังลูกวัว

จากบทความเรื่อง Why is the UK still printing its laws on vellum? ที่อังกฤษ ยังคงใช้หนังสัตว์บันทึกหรือจารตัวกฎหมาย โดยในบทความได้ให้อธิบายเกี่ยวกับคำว่า vellum ไว้ว่า Vellum คือสิ่งที่ทำมาจากหนังวัว  คำคำนี้มีที่มาจากรากศัพท์คำว่า “Veal”   ซึ่งเป็นศัพท์เก่าแก่ของฝรั่งเศส  “Velin” (ตามดิกชั่นนารีของ คอลลิน)  หรือ “veelin” (Petit Robert)

Patricia Lovett นักแกะตัวอักษรและนักปราชญ์ กล่าวว่า Vellum เกิดจากการนำเอาหนังลูกวัวไปแช่ไว้ในน้ำมะนาว  น้ำมะนาวจะทำให้รูขุมขนของหนังลูกวัวขยายตัว ทำให้ง่ายต่อการขูดขนและไขมันออกจากชั้นผิวหนัง โดยใช้มีดโค้งๆ ที่เรียกว่า “scudder” ขุดออก

ขั้นตอนการเตรียมหนัง ต้องทำความสะอาดด้วยการล้าง และขึงหนังให้ยึดออก โดยยึดติดกับกรอบไม้  หลังจากนั้น ทำการโกนผิวหน้าอีกครั้งด้วย มีดทรงมนเพื่อปลุกผิวให้พอง และเป็นการเพิ่มความหนาให้หนัง และท้ายสุด ก็ตากหนังให้แห้ง โดยดูจาก ระยะเวลาขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิ ที่เหมาะสม  ความชื้น และคุณภาพของหนังวัวของแต่ละอัน

รายการอ้างอิง
Why is the UK still printing its laws on vellum? (2016). Retrieved 16 Feb 2016 from http://www.bbc.com/news/magazine-35569281

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa