หนังสือ เรื่อง “ราชสุดาอาศิรพาทพิสิฐ : แนวคิดเรื่องขัตติยนารีและกลวิธีการใช้คำประพันธ์ในกวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ 60 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน 2558 และเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2558 โดยคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 4 บทได้แก่
รายการอ้างอิง
เก๋ แดงสกุล. (2558). ราชสุดาอาศิรพาทพิสิฐ : แนวคิดเรื่องขัตติยนารีและกลวิธีการใช้คำประพันธ์ในกวีนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. กรุงเทพฯ : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหาภารัตคดี เฉลิมขัตติยานีสิรินธร
หนังสือ เรื่อง “มหาภารัตคดี เฉลิมขัตติยานีสิรินธร” จัดทำโดย ชมรมบาลี-สันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญพระฉายาลักษณ์ตราสัญลักษณ์ฉลองพระชนมายุ 5 รอบ และบทความ “มหาภารตะในฐานะวรรณคดีสำคัญของโลก” พิมพ์ลงในหนังสือนี้
เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ มาจากบทความจากการประชุมวิชาการเรื่อง “มหากาพย์มหาภารตะ : ความสัมพันธ์ที่มีต่อวัฒนธรรมไทย” ซึ่งชมรมบาลี-สันสกฤตได้จัดขึ้น ครั้งที่ 1 วันที่ 25-26 ตุลาคม 2533 และครั้งที่ 2 วันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2543 รวมทั้งบทความที่เกี่ยวกับมหาภารตะของคณาจารย์สาขาบาลี-สันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดพิมพ์อยู่ในหนังสือต่างๆ รวมบทความในหนังสือนี้ 20 บทความ โดยแบ่งเป็น 6 ตอน คือ
แม่ชีสุภาพรรณ ณ บางช้าง (บก). (2558). มหาภารัตคดี เฉลิมขัตติยานีสิรินธร. กรุงเทพฯ : ชมรมบาลี-สันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิลป์สิริธร์ ศิลปินสยาม
คณะกรรมการมูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติได้จัดทำหนังสือ “ศิลป์สิริธร์ ศิลปินสยาม” เฉลิมพระเกียรติในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา รวมเรื่องราวเกี่ยวกับพระอัจริยภาพด้านศิลปะที่ทรงสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องนับแต่ทรงพระเยาว์ตราบจนปัจจุบัน โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของศิลปะแต่ละด้านที่ทรงรังสรรค์ ซึ่งเรียบเรียงโดยผู้ที่เคยศึกษาและติดตามผลงานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดังนี้
มูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ และ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน). (2558). ศิลป์สิริธร์ ศิลปินสยาม. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสร้างเอกลักษณ์ของชาติ.
อยู่มานาน กาลเวลาพาสุข (Happiness that Long Life Brings)
หนังสือรวมภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างปี 2557-2558 ที่จัดแสดงในนิทรรศการชื่อเดียวกันระหว่างวันที่ 11 ธันวาคม – 6 มีนาคม 2559 ณ หอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร ขออัญเชิญพระราชนิพนธ์ที่ทรงไว้ในคำนำ “ปีนี้เป็นปีที่ข้าพเจ้าอายุ 60 ปี ตั้งแต่ปีที่แล้วใครๆ พากันให้ขนมเค้กแบบต่างๆ มาถึงตอนนี้มีถึง 115 ก้อน (สถิติถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2558) ในนิทรรศการนี้ ผู้จัดจึงเลือกรูปเค้กหลายรูป”
นับตั้งแต่ปี 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ เพื่อนำมาจัดแสดงนิทรรศการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นความรู้แก่นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป เริ่มตั้งแต่นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “แสงคือสี สีคือแสง” ในปี 2550 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง” ในปี 2551 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง” ในปี 2552 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “สี แสง แสดงชีวิต” ในปี 2553 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “อุปบัติ ณ โลกี” ในปี 2554 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “ควงกล้องท่องโลก” ในปี 2555 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “รูปยาตรา ภาพทัศนาจร” ในปี 2556 นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “อันมีทิพเนตรส่องไป” ในปี 2557 และในปี 2558 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เพื่อจัดนิทรรศการในหัวข้อ “อยู่มานาน กาลเวลามีสุข”
รายการอ้างอิง เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. (2558). อยู่มานาน กาลเวลาพาสุข (Happiness that Long Life Brings). กรุงเทพฯ : ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป.
คลินิกหัวเฉียวไทย-จีน แพทย์แผนไทย โดยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้จัดทำเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่กิจกรรมและองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนจีน มีการจัดหมวดหมู่ออกเป็น
เป็นเว็บไซต์ที่น่าสนใจ และน่าติดตามสำหรับผู้อ่านที่สนใจด้านการแพทย์แผนจีนค่ะ ลองแวะเข้าไปอ่านดูนะคะที่ http://huachiewtcm.com/learning.php
คลังข้อมูลการแพทย์แผนจีน (Huachiew TCM E-Library)
วันที่ 25 มกราคม 2559 เวลา 13.30-15.30 น. ณ ห้องสื่อประสม อาคารบรรณสาร ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ ให้กับนักศึกษา 3 สาขาวิชา ของคณะบริหารธุรกิจ ได้แก่ สาขาโลจิติกส์ สาขาการจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ โดยแนะนำฐานข้อมูลต่างๆ ตั้งแต่ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศที่ศูนย์บรรณสารฯ เพื่อสืบค้นข้อมูลประกอบการเรียน การสอน การค้นคว้า การทำสหกิจศึกษา การให้บริการต่างๆ ของศูนย์บรรณสารฯ รวมทั้งการแนะนำฐานข้อมูลออนไลน์ที่มีการบอกรับจากต่างประเทศ เช่น ScienceDirect และการติดตั้ง VPN เพื่อการเข้าใช้ฐานข้อมูลออนไลน์เมื่ออยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย การแนะนำฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ฐานข้อมูลวิชาการ เช่น ฐานข้อมูลงานวิจัย จากหลายๆ แหล่ง โดยใช้คำค้นที่เกี่ยวข้องในแต่ละสาขาเป็นคำค้น กลวิธีต่างๆ ในการสืบค้น ทั้งในการสืบค้นแบบพื้นฐาน และการสืบค้นแบบขั้นสูง
ระหว่างการบรรยาย
สภาพบรรยากาศของนักศึกษาให้ความสนใจในการเรียนรู้
นอกจากนี้ ได้เน้นให้นักศึกษาตระหนักถึงการคัดลอกผลงานของคนอื่น การอ้างอิงอย่างถูกต้อง ในลักษณะการเขียนรายการอ้างอิงด้วยตนเอง ตามรูปแบบต่างๆ ของแต่ละสาขาวิชา หรือการใช้เครื่องมือต่างๆ เป็นตัวช่วย การใช้ฟังก์ชั่นของฐานข้อมูลที่มีให้บริการในการดึงข้อมูลรายการอ้างอิงในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้แหล่งทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ การสืบค้นได้อย่างถูกวิธี การนำไปใช้อย่างมีจริยธรรม
Gartner ได้ชี้ว่า 10 เทคโนโลยีที่มีแนวโน้มในปี 2016 นั้นมีดังนี้ค่ะ
Top 10 Strategic Technology Trends 2016
ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.gartner.com/newsroom/id/3143521 หรือดู slideshare ได้ที่ http://www.slideshare.net/denisreimer/gartner-top-10-strategic-technology-trends-2016
Gartner. 2015. Gartner Identifies the Top 10 Strategic technology Trends for 2016. Retrieved 25 January 2016 from http://www.gartner.com/newsroom/id/3143521
หนังสือแพทย์แผนจีน ฉบับภาษาไทย ประกอบด้วย
หนังสือแพทย์แผนจีน ฉบับภาษาไทย
ติดตามอ่านและดาวน์โหลดได้ที่ http://www.tcmat.or.th/index.php?mo=59&id=1022946 จากเว็บไซต์ สมาคมแพทย์แผนจีนในประเทศไทย
เว็บไซต์ของบลูมเบิร์ก ได้ประกาศดัชนีเศรษฐกิจตัวใหม่เรียกว่า ดัชนีความทุกข์เวทนา (misery index) โดยวัดความทุกขเวทนาที่มากับเศรษฐกิจ คือ ทุกข์จากภาวะเงินเฟ้อ และทุกข์จากภาวะตกงาน ประเทศไหน มี misery index ต่ำ คือ มีความทุกข์จากเศรษฐกิจน้อย หรือกลับกัน คือ ไม่มีความทุกข์จากสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ ได้มีการวิเคราะห์ misery index ของชาวโลก แล้วพบว่า 15 เขตเศรษฐกิจที่มีความทุกข์จากสภาพเศรษฐกิจน้อยที่สุดในโลก ตามลำดับคือ
ตารางเปรียบเทียบ misery index (ภาพจาก BloombergBusiness)
ปรากฏว่าอันดับ 1 ที่มีความทุกข์น้อยจากเศรษฐกิจน้อยที่สุดในโลก คือ ไทยแลนด์ ได้คะแนน 1.6 ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.bloomberg.com/news/articles/2015-03-03/the-15-happiest-economies-in-the-world
ศูนย์บรรณสารสนเทศฯ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศให้แก่นักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ สาขาจุลชีววิทยาอุตสาหการ ชั้นปีที่ 3 จำนวน จำนวน 38 คนวันพุธที่ 20 มกราคม 2559 เวลา 13.30 -15.30 น. ณ ห้องสื่อประสม อาคารบรรณสาร
ทีมวิทยากรจากศูนย์บรรณสารฯ ได้แนะนำเว็บไซต์ เพื่อให้ทราบถึงช่องทางในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศต่างๆ ที่จัดหาไว้ให้ เช่น การสืบค้นผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ แหล่งสารสนเทศแบบเปิด ฐานข้อมูลประเภทอื่นๆ เช่น วิทยานิพนธ์ ทั้งที่เป็นฐานข้อมูลในประเทศไทย และต่างประเทศ ฐานข้อมูลวิชาการ ฐานข้อมูลออนไลน์ที่มหาวิทยาลัยบอกรับเป็นสมาชิก รวมทั้งการติดตั้ง VPN เพื่อให้สามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลที่บอกรับได้จากทางบ้าน
นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอการทำ Pathfinder เพื่อให้นักศึกษาทราบวิธีการสืบค้นสารสนเทศในหลายๆ ประเภท เพื่อใช้เป็นเส้นทางในการหาสารสนเทศต่อไป และนำไปสู่สารสนเทศ นักศึกษาได้นำสารสนเทศเหล่านี้มาอ่าน และศึกษาจนเกิดการตกผลึก และสามารถเรียบเรียงเป็นสำนวนการเขียนของตนเอง และสามารถเขียนการอ้างอิงสารสนเทศต่างๆ ที่นำมาใช้ประกอบการเขียนรายงานได้อย่างถูกต้อง ซึ่งได้แนะนำวิธีการสืบค้นฐานข้อมูลที่มีเครื่องมือในการดึงรายการอ้างอิง และคู่มือการเขียนรายการอ้างอิงในรูปแบบต่างๆ และได้มีการสร้างความตระหนักในเรื่องของการลักลอกผลงานทางวิชาการให้แก่นักศึกษาอีกด้วย ซึ่งอาจารย์และนักศึกษาที่ร่วมการอบรมให้ความสนใจหัวข้อต่างๆ เป็นอย่างยิ่ง
กิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ ชั้นปีที่ 3 สาขาจุลชีววิทยาอุตสาหการ คณะวิทยาศาสตร์
บรรยากาศระหว่างการอบรม