ตามอ่านตอนที่ 2 ของ อ. ดร. ยรรยง เต็งอำนวย ที่สรุปเทคโนโลยีปี 2016 ที่บริษัทการ์ดเนอร์ (Gartner) ทำนาย การ์ดเนอร์วางเทคโนโลยีไว้เป็น สามกลุ่ม คือ Digital mesh, Smart machines และ New IT reality อ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.dailynews.co.th/it/381955
บทความที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยีปี 2016 (ตอนที่ 1)
รายการอ้างอิง ยรรยง เต็งอำนวย. (2559). เทคปีลิง (2) สามสหายไฮเทค. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 จาก http://www.dailynews.co.th/it/381955
บริษัทการ์ดเนอร์ ทำนายอนาคตเทคโนโลยีด้านไอทีทุกปี ในปี 2016 อ. ยรรยง เต็งอำนวย จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สรุปให้อ่านง่ายๆ สไตล์ของอาจารย์ แค่ชื่อก็มันแล้ว “เทคปีลิง ว่าด้วยกระเจิงเทค” โดยการ์ดเนอร์ ใช้คำว่า disruptive trends คือเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มว่าจะมีผลมหาศาลต่อวงการเรียกว่าฉีกหน้าวงการอุตสาหกรรม ต่าง ๆ กันกระจุยกระจายเลย อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/380433
เทคบทความที่เกี่ยวข้องปีลิง ตอนที่ 2 สามสหายไฮเทค
รายการอ้างอิง ยรรยง เต็งอำนวย. (2559). เทคปีลิง (1) ว่าด้วยกระเจิงเทค. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 จาก http://www.dailynews.co.th/it/380433
ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ 2 เมษายน 2534 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จึงได้จัดพิมพ์หนังสือเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 โดยคัดเลือกหนังสือด้านศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าและหายากมาจัดพิมพ์
ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ ได้เลือก “ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม” พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นฉบับที่พระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี โปรดให้พิมพ์ในงานเฉลิมพระชันษา พ.ศ. 2468 มาจัดพิมพ์ เพราะเป็นหนังสือที่มีคุณค่าและให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือว่าเป็นประเทศแรกในโลกตะวันออกที่มีการสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (คำนำ)
รายการอ้างอิง
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. (2558). ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน).
ตำราฟ้อนรำ ฉบับเรียบเรียงในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร
หนังสือเล่มแรกที่คัดเลือกมาจัดพิมพ์ คือ หนังสือ “ตำราฟ้อนรำ” ฉบับเรียบเรียงในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร ซึ่งเป็นฉบับที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ในปี พ.ศ. 2466 ว่าด้วยอธิบายตำนานการฟ้อนรำ ว่าด้วยตำรารำของไทยและว่าด้วยท่าโขน ซึ่งเป็นตำรานาฏยศาสตร์อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของไทย ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ได้รับต้นฉบับจาก ม.ร.ว. ศุภวัฒย์ เกษมศรี (คำนำ)
ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน). (2558). ตำราฟ้อนรำ. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน).
ทำไมอังกฤษ จึงยังคงการบันทึกกฎหมายในแบบเดิม หรือบนหนังสัตว์ที่ทำจากหนังลูกวัว หรือหนังแพะ เพราะหนังสัตว์เหล่านี้ สามารถเก็บไว้ได้ในระยะยาว แม้แต่ Magna Carta ต้นฉบับ ที่มีอายุมากกว่า 800 ปี ก็ยังมีสภาพคงอยู่
คำตอบง่ายๆ คือ ไม่อาจเดาได้ว่า สื่อดิจิทัล จะสามารถเก็บเอกสารเหล่านี้ไว้ได้ในระยะยาวได้เหมือนหนังสัตว์หรือไม่ ด้วยสื่อดิจิทัล จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ต้องมีการเปลี่ยนถ่าย ถ่ายโอน ไปยังสื่อบันทึกอยู่ตลอดตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป อ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.bbc.com/news/magazine-35569281
รายการอ้างอิง Why is the UK still printing its laws on vellum? (2016). Retrived 16 Feb 2016 from http://www.bbc.com/news/magazine-35569281
การแปรรูปวรรณกรรม เป็นหนังสือชุด ที่ระลึก เนื่องใน งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 และ วาระครบ 20 ปี ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับพระราชทาน พระเกี้ยวทองคำ ในฐานะสถาบันส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น พุทธศักราช 2537 โดยแบ่งเนื้อหาเป็น 3 เล่ม คือ
Read the rest of this entry »
การที่จีนเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก และมีแนวโน้มของประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ผู้วิจัย โดย ธีระ สินเดชารักษ์ และคณะ จึงศึกษา การดำเนินงานและกิจกรรมทางสังคมที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุจีนมีบทบาทในเชิงบวกในลักษณะใดบ้าง และมีปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมใดที่ช่วยผลักดันให้เกิดกิจกรรมทางสังคมดังกล่าวได้ เพื่อจะได้เห็นถึงจุดอ่อนจุดแข็งของการจัดกิจกรรมทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาปรับใช้ในสถานการณ์สังคมสูงอายุของประเทศไทย น่าจะสนใจทีเดียว เพราะสังคมผู้สูงอายุ เพิ่มมากขึ้นในทุกประเทศ
ผู้สูงอายุในสังคมจีน: การจัดสวัสดิการต้นแบบการดูแลและกิจกรรมทางสังคม
งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นงานวิจัยชิ้นที่ 2 ต่อจากงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาอุตสาหกรรมของจีนและการปรับตัวของชนบท: บทเรียนสำหรับประเทศไทย” เป็นส่วนหนึ่งในชุดโครงการวิจัย “จีนศึกษา” ที่มีวัตถุประสงค์สำคัญในการเรียนรู้จากประเทศจีนในมิติต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศไทยโดยอาศัยการถอดบทเรียนที่สำคัญจากประเทศจีน (คำนำ)
รายการอ้างอิง ธีระ สินเดชารักษ์ และคณะ. (2558). ผู้สูงอายุในสังคมจีน: การจัดสวัสดิการต้นแบบการดูแลและกิจกรรมทางสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
คู่มือ Cyber Security สำหรับประชาชน
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้จัดทำ คู่มือ Cyber Security สำหรับประชาชน เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ เพราะทุกวันนี้เรามีพฤติกรรมอยู่บนโลกออนไลน์ หรือไซเบอร์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีประโยชน์ แต่ในทางกลับกันก็เป็นช่องทางให้อันตรายต่างๆ ที่เรานึกไม่ถึง เข้ามาถึงตัวเราหรืออุปกรณ์ต่างๆ รอบตัวเรา โดยที่เราไม่เห็นหรือไม่ทันระวังตัว หัวข้อหรือประเด็นมากมายที่เราอาจจะสงสัยว่า มีคนรู้ข้อมูลส่วนตัวเราได้อย่างไร ในคู่มือนี้มีคำตอบ เช่น ท่องเว็บก็โดนเก็บข้อมูลไม่รู้ตัว เปิดเผยเรื่องส่วนตัวแค่ไหนให้พอดี ระวังอันตรายเรื่องข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ ระวังอันตรายจากการหลอกลวงรูปแบบต่างๆ การ Chat, Comment, Like และ Share อย่างไรให้ปลอดภัย เป็นต้น ดาวน์โหลดได้ที่ http://ictthailand.org/research/usermanual-cyber-security/
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) ได้จัดอบรมหลักสูตร Research Development with Elsevier Platforms ณ ห้องคอมพิวเตอร์ (LAB A) อาคารบรรณสาร โดยวิทยากร จาก Elsevier มาบรรยายให้กับอาจารย์ นักวิจัย ของ มฉก. โดยแนะนำวิธีการสืบค้นเชิงลึกจากฐานข้อมูล ScienceDirect การนำผลงานที่สืบค้นมาต่อยอดในการพิมพ์และใช้โปรแกรม Mendeley ในการบริหารจัดการบรรณานุกรมและแฟ้มข้อมูล PDF
วิทยากรจาก บริษัท Elsevier
อาจารย์และนักวิจัยให้ความสนใจ
การพัฒนาสบูเหลวจากสมุนไพรไทยและทดสอบฤทธิ์เบื้องตนในการตานทาน ตอเชื้อสแตฟฟโลคอกคัสออเรียสที่ดื้อยาเมทิซิลิน (MRSA)
Development of Thai herbal liquid soap and screening of antimicrobial activity of Thai herbs against methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA)
ปานทิพย รัตนศิลปกัลชาญ เกตุแกว จันทรจำรัส ภรณทิพย นราแหวว และ อุมาภรณ ผองใส. (2557). การพัฒนาสบูเหลวจากสมุนไพรไทยและทดสอบฤทธิ์เบื้องตนในการตานทาน ตอเชื้อสแตฟฟโลคอกคัสออเรียสที่ดื้อยาเมทิซิลิน (MRSA). วารสาร มฉก. วิชาการ 18 (35), 47-60.
อ่านบทความฉบับเต็ม