เป็นตอนสุดท้ายของคำทำนายของบริษัทการ์ดเนอร์ (Gartner) โดย อ. ดร. ยรรยง เต็งอำนวย คือ มุมมองใหม่ไอที (New IT Reality) ซึ่งมีสี่ด้าน คือ ป้องภัยใส่ใจ (Adaptive Security Architecture) ระบบขั้นเทพ (Advanced Systems Architecture) แหแห่งบริการ (Mesh App & Service Architecture) และเน็ตสิ่งของ (IoT Architecture & Platforms) อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/387541
รายการอ้างอิง ยรรยง เต็งอำนวย. (2559). เทคปีลิง ตอนที่ 5 มุมมองใหม่ไอที. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2559 จาก http://www.dailynews.co.th/it/387541
ที่ผ่านมา Pantip ให้เจ้าของกระทู้เป็นฝ่ายเลือกแท็กให้กระทู้เอง ปัญหาที่พบคือ 1) ใส่แท็กไม่เป็น 2) สแปมแท็ก อยากให้คนเห็นเยอะๆ เลยตั้งแท็กหว่านๆ
ทางแก้ของ Pantip คือต้องมีทีมงานตรวจสอบกระทู้อย่างละเอียด และแก้ไขแท็กให้ถูกต้อง ปัจจุบันมีกระทู้ใหม่วันละ 5,000 กระทู้ ถือเป็นงานหนัก ต้องใช้ทีมเว็บมาสเตอร์หลายสิบคนช่วยกันมอนิเตอร์ เปลืองแรงมาก จึงมีระบบเข้ามาช่วยแยกแยะข้อความในกระทู้ เพื่อนำเสนอแท็กให้ผู้ใช้งาน อ่านรายละเอียดได้ที่ https://www.blognone.com/node/79057
อ่านปัญหาของ Pantip แล้วทำให้นึกถึงเวลาที่บรรณารักษ์ให้คำสำคัญ ให้หัวเรื่อง ระยะหลังๆ ใช้เป็น tag และเปิดโอกาสให้คนอ่านเข้ามาใส่ tag เองในลักษณะที่เรียกว่า Folksonomies ที่นี้ก็จะเปิดปัญหาที่ว่าเนื้อหาลักษณะเดียวกัน มีการให้คำสารพัดคำที่จะใส่ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษก็มีทั้งเป็นเอกพจน์ พหูพจน์ เพื่อจะให้เข้าถึงได้หมดไม่ว่าจะค้นด้วยคำไหน แต่ก็จะเกิดปัญหาเนื้อหาอย่างเดียวกัน บางคนใส่คำนี้ บางคนไม่ใส่ การค้นจึงได้ผลลัพธ์ไม่เท่ากัน พลาดข้อมูลบางรายการ จะสามารถใช้ Auto Tag แบบนี้ได้บ้างก็จะดี
รายการอ้างอิง mk. (2559). Pantip.com จับมือ ม.เกษตร เปิดตัวระบบ Auto Tag ด้วย Machine Learning. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2559 จาก https://www.blognone.com/node/79057
ตั้งแต่เดือนมกราคม เป็นต้นมาจนจะสิ้นสุดเดือนมีนาคม ที่ประชาชนคนไทยที่มีหน้าที่ในการเสียภาษีให้แก่รัฐ เพื่อนำเงินภาษีไปพัฒนาประเทศต่อไปนั้น ผู้เขียนซึ่งทำหน้าที่ของพลเมืองที่ดี ในการยื่นแบบการเสียภาษีมาทุกๆ ปี ตั้งแต่ยังต้องกรอกรายการเสียภาษี รายการการลดหย่อน งง มาก งง น้อย จนเกิดความชำนาญ จนมาถึงมีการยื่นแบบภาษีผ่านทางอินเทอร์เน็ต ชีวิต Happy ขึ้นเยอะเลย ศึกษาวิธีการกรอกไปเรื่อย เพราะกรมสรรพากร ก็ไม่ได้หยุดนิ่ง ปรับเปลี่ยนแบบฟอร์มการกรอกอยู่เสมอๆ เหมือนกัน
เป็นประจำทุกปี ที่มักจะยื่นการเสียภาษี เกือบจะหมดเวลาการยื่น คนรอบข้างทั้งลูกน้อง เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ต่างได้รับเงินคืนภาษี จนพูดว่าเอาเงินที่ได้จากการคืนภาษีไปใช้หมดแล้ว บ้างก็บอกว่า ถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่ม 2 ปีที่แล้วยื่นวันสุดท้ายเลย กลัวอยู่เหมือนกัน เพราะคนก็จะเฮโลยื่นทางออนไลน์วันนั้นกันเยอะ อาจจะทำให้ระบบเกิดปัญหาได้ ปีนี้ ได้จังหวะว่าง เลยได้ยื่นภาษีไปเมื่อวันก่อน เห็นซองเอกสารการเสียภาษี ที่เก็บไว้ในแต่ละปี เขียนกำกับหน้าซองไว้เรียบร้อย แถม save เก็บเป็นไฟล์ไว้ในคอมพิวเตอร์อีกต่างหาก จัดเก็บเป็นโฟลเดอร์เรียงตามลำดับ เลยให้เอะใจว่า ตกลงเราต้องเก็บเอกสารหลักฐานพวกนี้ กี่ปี จึงจะทำลายหรือลบได้ สอบถามไปในกลุ่มไลน์ได้มาหลายคำตอบ สุดท้ายมีน้องส่งคำตอบจากระบบสารานุกรมภาษี http://wiki.mof.go.th/mediawiki/index.php/ความรู้เกี่ยวกับภาษี_J มาให้อ่าน ในเว็บระบบสารานุกรมภาษี เขียนไว้ว่า “ตามกฏหมายภาษี – กำหนดให้ผู้เสียภาษีต้องเก็บเอกสารทางบัญชีและภาษีไม่น้อยกว่า 5 ปี ภายใต้เงื่อนไขต้องยื่นแบบทุกปี ทั้งนี้ไม่ว่าผู้เสียภาษี จะยื่นแบบภาษีถูกหรือยื่นผิดก็ตาม โดยปกติเจ้าพนักงานมีสิทธิประเมินย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี (ไม่นับปีปัจจุบัน) เช่น ถ้าปัจจุบันปี 2550 ก็ย้อน หลังได้คือปี 48 – 49 เป็นต้น แต่ถ้าตรวจสอบแล้วพบว่ามีการหลีกเลี่ยงภาษี เจ้าพนักงานสรรพากรมีอำนาจประเมินขยายระยะเวลาได้ถึง 5 ปี ดังนั้น ผู้เสียภาษีจึงควรเก็บเอกสารให้เกิน 5 ปี (ทำลายเอกสารในปีที่หก) แต่ถ้าผู้เสียภาษีไม่เคยยื่นแบบเลย สรรพากรสามารถประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี” ถึงบางอ้อ
รายการอ้างอิง ระบบสารานุกรมภาษี. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2559 จาก http://wiki.mof.go.th/mediawiki/index.php/ความรู้เกี่ยวกับภาษี_J
วันก่อนคุยกับบรรณารักษ์ภาษาจีน ทึ่งมากกว่าจะทำรายการหนังสือภาษาจีนเข้าระบบห้องสมุดได้แต่ละเล่ม แถมพี่บรรณารักษ์ภาษาจีนยังบอกอีกว่า ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ยากกว่าอีก โอ้โห! เลยต้องค้นๆ ดู เจอเว็บการจัดอันดับภาษาที่เรียนรู้ยาก สำหรับผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ จริงๆ ด้วย ภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อยู่ในกลุ่มยากสุดเลย
ในเว็บนี้ แบ่งกลุ่มภาษาที่ต้องใช้เวลาเรียน ออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มแรกใช้เวลา 23-24 สัปดาห์ หรือ 575-600 ชั่วโมง เช่น ภาษาฝรั่งเศส ดัชท์ สเปน เป็นต้น กลุ่มที่สอง ใช้เวลาเรียน 30 สัปดาห์ หรือ 750 ชั่วโมง ได้แก่ ภาษาเยอรมัน กลุ่มที่สาม ใช้เวลาเรียน 36 สัปดาห์ หรือ 900 ชั่วโมง ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสวาฮีลี กลุ่มที่สี่ ใช้เวลาเรียน 44 สัปดาห์หรือ 1100 ชั่วโมง กลุ่มนี้มีจำนวนมากเลย เช่น เนปาลี พม่า เวียดนาม ไทยก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ส่วนกลุ่มที่ยากสุด ใช้เวลาเรียน 88 สัปดาห์หรือ 2200 ชั่วโมง มี ภาษาอาระบิค ภาษาจีน (ทั้ง Cantonese และ Mandarin) ภาษาญี่ปุ่น และ ภาษาเกาหลี ติดตามอ่านได้ที่ http://www.effectivelanguagelearning.com/language-guide/language-difficulty
จากการพยากรณ์เรื่องเทคโนโลยีของบริษัทการ์ดเนอร์ (Gartner) ที่ อ. ดร. ยรรยง เต็งอำนวย สรุปมาเล่าให้ฟังนั้น มาถึงตอนที่ 4 เครื่องจักรติดปัญญา คือ ทุกสิ่งมีสาร (ระ) (Information Everything) เรียนรู้ขั้นเทพ (Advanced Machine Learning) และสรรพสิ่งคิดเองทำเอง (Autonomous Agents & Things) มีรายละเอียดที่ อาจารย์สรุปมาแบ่งปันให้อ่าน ติดตามเองเลยดีกว่า มีครบรสกว่าที่จะสรุปให้อ่านค่ะ http://www.dailynews.co.th/it/384827
รายการอ้างอิง ยรรยง เต็งอำนวย. (2559). เทคปีลิง ตอนที่ 4 เครื่องจักรติดปัญญา. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2559 จาก http://www.dailynews.co.th/it/384827
ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย วิเคราะห์ไว้ว่า สำหรับประเทศไทย มีมหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ในลำดับที่ 44 ของโลก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ในลำดับที่ 53 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อยู่ในลำดับที่ 99 และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ในลำดับที่ 143 การที่มหาวิทยาลัยของไทยไม่อยู่ในอันดับที่ 1-40 ถ้ามหาวิทยาลัย คือ หัวสมองของประเทศ จะมีปัจจัยใดที่ก้าวสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำได้ มีนักการศึกษาที่เคยวิเคราะห์ไว้ ว่ามี 3 ปัจจัย คือ
ติดตามชมการวิเคราะห์ได้ที่ http://tdri.or.th/multimedia/thinkx2-138/
รายการอ้างอิง
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2559). คิดยกกำลังสอง: มหาวิทยาลัยไทย อยู่ที่ไหนในเวทีโลก?. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2559 จาก http://tdri.or.th/multimedia/thinkx2-138/
หลักวิธีการสอนภาษาจีน เขียนโดย อาจารย์เบญจวรรณ ศิริคันธรส คณะภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เขียนบทความโดยคัดเลือกเนื้อหาบางส่วนและจากการแปลตำรา เรื่อง เทคนิคจัดการเรียนรู้ภาษาจีนในชั้น 325 ตัวอย่าง และ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนสากล บทความนี้ ประกอบด้วยวิธีการสอนแบบสมัยเก่าและสมัยใหม่ทั้งหมด 5 วิธีคือ วิธีสอนภาษาแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์และแปล วิธีสอนภาษาแบบเน้นทักษะพูดและฟัง วิธีสอนภาษาแบบเน้นเพื่อการสื่อสาร วิธีสอนภาษาแบบเน้นภาระงาน และ วิธีสอนภาษาเน้นการตอบสนองด้วยท่าทาง ติดตามอ่านแต่ละวิธีสอนได้ที่นี่
เบญจวรรณ ศิริคันธรส. หลักวิธีการสอนภาษาจีน. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2559 จาก http://clc.hcu.ac.th/page_academic/9/หลักและวิธีการสอน%20:%20%汉语教学法
เป็นตอนที่ 3 แล้วสำหรับการคาดการณ์ของ การ์ดเนอร์ (Gartner) ที่ อ. ดร. ยรรยง เต็งอำนวย นำมาสรุปให้อ่านกัน ในตอนนี้จะประกอบด้วย แหสิ่งของ (device mesh) ใช้งานรอบตัว (ambient user exerience) และเครื่องพิมพ์สามมิติ
คำว่า แห (mesh) คือ การที่สิ่งของรอบตัวเรา มีสมองเล็กๆ ในตัว มีวงจรสื่อสารถึงกันผ่านเน็ตได้ จึงเกิดโยงใยเป็นแห (ที่มองไม่เห็น) อำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ได้ เช่น เดินไปที่ขอบทางเท้าในถนน ปฏิทินในมือถือรู้ว่าต้องไปประชุมที่นั่นที่นี่ก็ “โบก” รถแท็กซี่ให้ (ส่งข้อความไปขึ้นที่จอภาพในแท็กซี่แถวนั้น) คันไหนสนใจก็โฉบมารับ เวลาลงก็หักเงินค่าโดยสารกันไป ทั้งนี้ไม่ต้องแตะ_หยิบ_จับสิ่งของใด ๆ ให้เป็นที่เอิกเกริกเลยยิ่งอ่านยิ่งสนุกและเข้าใจได้อย่างง่าย ติดตามอ่านต่อค่ะ ได้ที่ : http://www.dailynews.co.th/it/383454
รายการอ้างอิง ยรรยง เต็งอำนวย. (2559). เทคปีลิง (3) แหดิจิตอล. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2559 จาก http://www.dailynews.co.th/it/383454
ตอนนี้ผู้ใช้ห้องสมุด (ศูนย์บรรณสารสนเทศ) อาจจะกำลังเห็นการเปลี่ยนแปลงในห้องสัมมนากลุ่ม ชั้น 4 ศูนย์บรรณสารสนเทศ พี่ๆ กำลัง ซ่อมเก้าอี้ด้วยลวดลายของผ้าขาวม้า ออกมาได้กิ๊บเก๋ ทีเดียว ประหยัดงบประมาณ และเป็นการนำสิ่งของที่เหลือใช้มาใช้ประโยชน์ให้สมกับการเข้าสู่ Green Office หรือห้องสมุดสีเขียว
สภาพเก้าอี้ที่ต้องส่งซ่อม
Read the rest of this entry »
นิทรรศการพระสาทิสลักษณ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2558
กระทรวงวัฒนธรรม สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร่วมเฉลิมฉลองจัดงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลสมัยแห่งพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ด้วยการจัดกิจกรรมเขียนพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 77 ภาพ โดยเชิญศิลปินทั่วประเทศร่วมแสดงความจงรักภักดีผ่านภาพเขียน และได้จัดพิมพ์หนังสือนิทรรศการพระสาทิสลักษณ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2558 เล่มนี้ ขึ้นด้วย เพื่อจะได้ชื่นชมพระบารมีอย่างเต็มที่ และเกิดความสุนทรีย์ทางศิลปะโดยทั่วกัน
รายการอ้างอิง สายไหม จบกลศึก สมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ และ เบญจมาส แพทอง, บรรณาธิการ. (2558). นิทรรศการพระสาทิสลักษณ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2558. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม.