SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
อาคารบรรณสาร โดย ศูนย์บรรณสารสนเทศ เข้ารับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว
ก.ค. 1st, 2016 by supaporn

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้มอบหมายศูนย์บรรณสารสนเทศ ในการเป็นผู้ดำเนินการหลักของอาคารบรรณสาร เข้าร่วมประกวดโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) ซึ่งดำเนินการโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีเกณฑ์ในการประเมิน 7 หมวด ได้แก่

1. การบริหารจัดการองค์การ (Organization Management)
2. การดำเนินงาน Green Office
3. การใช้พลังงานและทรัพยากร (Energy and Resource)
4. การจัดการของเสีย (Waste and Waste Water Management)
5. สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสำนักงาน (Indoor & Outdoor Environmental)
6. การจัดซื้อจัดจ้าง (Green Procurement)
7. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement)

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อรองรับการตรวจประเมินรอบแรก เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2559 โดยผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจประเมิน 4 ท่าน ดังนี้ Read the rest of this entry »

คลินิกเทคนิคการแพทย์ ม.หัวเฉียวฯ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกในประเทศไทยที่ผ่านการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ตามมาตรฐานระดับสากล
มิ.ย. 11th, 2016 by supaporn

คลินิกเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.)

คลินิกเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.)

คลินิกเทคนิคการแพทย์ ม.หัวเฉียวฯ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกในประเทศไทยที่ผ่านการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ตามมาตรฐานระดับสากล ISO 15189:2012 และ ISO 15190:2003 จากสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

การรับรองความสามารถทางห้องปฏิบัติการทดสอบด้านการแพทย์หรือชันสูตรสาธารณสุขตามมาตรฐาน ISO 15189:2012

การรับรองความสามารถทางห้องปฏิบัติการทดสอบด้านการแพทย์หรือชันสูตรสาธารณสุขตามมาตรฐาน ISO 15189:2012

ความปลอดภัย ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ISO 15190:2003

ความปลอดภัย ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ISO 15190:2003

คลินิกเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) ได้รับการรับรองความสามารถทางห้องปฏิบัติการทดสอบด้านการแพทย์หรือชันสูตรสาธารณสุขตามมาตรฐาน ISO 15189:2012 และ ความปลอดภัย ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ISO 15190:2003 ตามข้อกำหนดเงื่อนไขของสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2559 ถึงวันที่ 27 เมษายน 2561 ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกในประเทศไทยที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน มหาวิทยาลัยที่ผ่านการรับรองทั้งหมดจะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาล เช่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว คลินิกเทคนิคการแพทย์ ม.หัวเฉียวฯ ก็เป็นคลินิกภายในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรอง

คลินิกเทคนิคการแพทย์ ม.หัวเฉียวฯ สามารถรองรับผู้เข้ามาใช้บริการในการตรวจสุขภาพ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจอุจจาระ การบริการทางวิชาการภายนอก การตรวจสุขภาพก่อนเข้างานและการตรวจสุขภาพประจำปีของบริษัท และโรงงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยมีบริษัทชั้นนำที่ไว้วางใจมารับบริการตรวจสุขภาพ อาทิ บริษัท บาจา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อีซูซุ เมนูเฟคเจอริ่ง จำกัด บริษัท 3M (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ส.ขอนแก่น จำกัด บริษัท เอ็ม เค เรสโตรอง กรุ๊ป จำกัด และ กลุ่มบริษัทในเครือซัมมิท เป็นต้น

อาจารย์กาญจนา วิจิตรธรรมรส ผู้จัดการคลินิกหัวเฉียว และอาจารย์ประจำ คณะเทคนิคการแพทย์ กล่าวว่า ห้องปฏิบัติการ คลินิกเทคนิคการแพทย์ ของ ม.หัวเฉียวฯ มีอุปกรณ์ทางเทคนิคการแพทย์ที่ทันสมัย เช่นเครื่องตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เครื่องตรวจสารเคมีในเลือดและ เครื่องตรวจปัสสาวะ สามารถวิเคราะห์ผลการตรวจแบบอัตโนมัติ ด้วยบาร์โค๊ด เชื่อมต่อระบบ Laboratory Information System (LIS) ซึ่งผลที่ได้ จะเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูลของผู้เข้ารับบริการทำให้ทราบผลได้รวดเร็วและถูกต้อง ลดความผิดพลาดในการป้อนข้อมูลและสลับตัวอย่างตรวจ ทั้งนี้ อาจารย์กาญจนา ยังได้รับรางวัลสูงสุดของผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ปี 2014 และ 2015 2 ปีซ้อน

คลินิกเทคนิคการแพทย์ ม.หัวเฉียวฯ เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป และหน่วยงานที่ต้องการตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงาน ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2312-6300 ต่อ 1542

Knowledge Sharing เรื่อง การแนะนำศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
มิ.ย. 11th, 2016 by supaporn

วันที่ 3 มิถุนายน 2559 มีการจัดกิจกรรม Knowledge Sharing ให้กับหัวหน้าแผนกบริการสารสนเทศ และนักวิชาการจดหมายเหตุ ในการแนะนำหน่วยงานหรือองค์กร ควรมีการเตรียมพร้อมทั้งในด้านผู้ที่ทำหน้าที่ในการแนะนำ การนำชม และข้อมูลที่จะนำเสนอ

ผู้ที่ทำหน้าที่ในการแนะนำ ควรมีการเตรียมพร้อมในเรื่อง

  1. การแต่งกายให้เหมาะสม สุภาพ และเป็นการให้เกียรติกับผู้ที่มาเยี่ยมชม
  2. การฝึกบุคลิกภาพในการเป็นผู้นำชม ทั้งในเรื่องท่าทาง กิริยา และการพูด
  3. การพูด ควรพูดแนะนำด้วยความฉะฉาน คล่องแคล่ว แม่นเรื่องข้อมูลและตัวเลข
  4. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ผู้นำชมควรจะเป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี เพราะในการทำหน้าที่นำชม อาจจะมีปัญหาฉุกเฉินบางประการ ต้องมีการตัดสินใจในการดำเนินการบางอย่างได้ทันที และในบางกรณีที่อาจจะหาคำตอบให้ผู้ถาม ไม่ได้ในทันที อาจจะหาวิธีการใช้คำพูดที่เหมาะสมในการตอบ
  5. การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อโสตทัศนวัสดุ ถ้ามีความสามารถในการใช้เครื่องคอมพิเตอร์ ตลอดจนอุปกรณ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ จะทำให้สามารถดำเนินการนำเสนอหรือแนะนำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. การแนะนำหน่วยงาน สามารถจัดแบ่งเป็นกลุ่มๆ กรณีที่ผู้มาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก โดยสามารถต้อนรับและฉายสไลด์แนะนำหน่วยงานในภาพรวมในห้องประชุมที่สามารถจุผู้ที่มาเยี่ยมชมได้อย่างพอเหมาะ จากนั้น จัดแบ่งกลุ่ม ไปตามจุดต่างๆ โดยมีการจัดลำดับการนำชม

Read the rest of this entry »

ปรารภ กวีนิพนธ์ เรื่อง พระรามชาดก
มิ.ย. 6th, 2016 by supaporn

หนังสือ ปรารภ กวีนิพนธ์ เรื่อง พระรามชาดก จัดทำโดย กองทุนพระมหาชนก มหาวิทยาลัยขอนแก่น แปลจาก หนังสือ พระลัก พระลาม หรือ พระลามชาดก (ซึ่ง ดร. สัจจิดานันดะ สะหาย เรียบเรียงไว้เป็นภาษาลาว และจัดพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1973 โดยสถานเอกอัครราชทูตอินเดีย  ณ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)  เพื่อจัดพิมพ์เป็นที่ระลึก งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558

ปรารภ กวีนิพนธ์ เรื่อง พระรามชาดก

ปรารภ กวีนิพนธ์ เรื่อง พระรามชาดก

การประหยัดพลังงานด้วยคุณธรรม จนเป็นอาคารประหยัดพลังงานชนะเลิศ
มิ.ย. 3rd, 2016 by supaporn

MEA Energy Saving Building 2015

MEA Energy Saving Building 2015

จากหนังสือ MEA Energy Saving Building 2015 โครงการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร ป่ี 3 ของการไฟฟ้านครหลวง ได้แนะนำอาคารประหยัดพลังงานที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ  โดยมีการบันทึกถึงมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติซึ่งชนะเลิศอาคารประหยัดพลังงาน ปี 2015 ประเภทมหาวิทยาลัย ไว้ดังนี้

ขอให้ทำมหาวิทยาลัยแห่งนี้ให้ดี

ขอให้ทำมหาวิทยาลัยแห่งนี้ให้ดี

Read the rest of this entry »

มอบหนังสือให้กับศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสาร ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข
พ.ค. 17th, 2016 by supaporn

วันนี้ (17 พ.ค. 2559) ศูนย์บรรณสารสนเทศ โดยแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้นำหนังสือมาบริจาคให้กับศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสาร ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการนำไปบริจาคต่อให้กับห้องสมุดหรือหน่วยงานที่มีต้องการต่อไป ศูนย์บรรณสารสนเทศ ขอขอบคุณ ศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสาร ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เป็นอย่างยิ่ง มา ณ โอกาสนี้ด้วย

 

175014

ความร่วมมือกับสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ค. 17th, 2016 by supaporn

วันที่ 17 พฤษภาคม 2559 รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ รองอธิการบดี ให้การต้อนรับ รองศาสตราจารย์ ดร.อมร เพชรสม ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร และคณะในโอกาสหารือและเจรจาความร่วมมือ การใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ และการใช้ฐานข้อมูลงานวิจัยร่วมกัน  ในการนี้ ผู้อำนวยการและผู้ช่วยศูนย์บรรณสารสนเทศ เข้าร่วมการหารือในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารอำนวยการ มฉก. บางพลี

HUC-CU-1                                                                                      HCU-CU-3

HCU-CU-2

HCU-CU-4

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพวารสารสู่ประชาคมอาเซียน
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2559 เวลา 9.00-16.00 น. บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพวารสารสู่ประชาคมอาเซียน ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ อาคาร 2 ชั้น 8 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เพื่อจะได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของการจัดทำคุณภาพวารสารวิชาการของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thailand Citation Index – TCI) เพื่อจะได้มีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพวารสารของไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการหรือผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดทำวารสาร เพื่อพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยต่อไป

ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thailand Citation Index – TCI) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐาน TCI ขึ้น 3 รอบ ในปี พ.ศ. 2555, 2556 และ 2558 ดังนั้น วารสารวิชาการที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ประเมินของ TCI นั้น ประกอบด้วย Read the rest of this entry »

Knowledge Sharing “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.”
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันที่ 25 เมษายน 2559 เวลา 9.00-12.00 น. แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม Knowledge sharing หัวข้อ “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.” โดยผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำหน้าที่เป็น Facilitator ในการจัดการความรู้เกี่ยวกับการรับไฟล์วิทยานิพนธ์ งานวิจัยของ มฉก. จากเดิม ซึ่งอาจจะมีกระบวนการที่ไม่เป็นระบบ นำมาหารือและจัด work flow ของการไหลของงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม โดย

1. ประสานงานกับบัณฑิตวิทยาลัย และสำนักพัฒนาวิชาการในการส่งไฟล์วิทยานิพนธ์และงานวิจัยอย่างสม่ำเสมอ หรือกำหนดเป็นระยะเวลาที่แน่นอน

2. ตัวเล่มของวิทยานิพนธ์ งานวิจัย ส่งมายังแผนกจัดหาและวิเคราะห์ ผ่านหัวหน้าแผนกฯ เพื่อส่งต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายในการลงรายการบรรณานุกรมในระบบห้องสมุดและลงรายการเมทาดาทาของ THAILIS

3. ส่งไฟล์ไปยังแผนกทรัพยากรการเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของไฟล์ การลงเมทาดาทาในไฟล์ การใส่ watermark รวมทั้งการทำเป็น PDF/A

4. ส่งไฟล์เข้าระบบ THAILIS

ส่วนแผ่นซีดีที่บันทึกวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยนั้น ให้ทำลายก่อนการทิ้ง

ในส่วนของ Collection สิ่งพิมพ์พิเศษ มฉก. นั้น เนื่องจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการผลิตสิ่งพิมพ์ในวาระและโอกาสต่าง ๆ จึงเห็นสมควรที่จะมีการเก็บเป็นสิ่งพิมพ์พิเศษ เฉพาะของมหาวิทยาลัย โดยมีการกำหนดประเภทของสิ่งพิมพ์ตามเนื้อหาและกำหนดรหัสตามเนื้อหา แบ่งตามคณะ หน่วยงานที่ออกสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือที่ระลึก มีรหัสเป็น 1 งานวิจัย กำหนดรหัสเป็น 15 เป็นต้น เพื่อให้สามารถรวบรวมสิ่งพิมพ์ มฉก. ไว้ในที่เดียวกันและได้รับการจัดประเภทและหมวดหมู่ของสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วในบางส่วนเป็นตัวอย่าง

Knowledge Sharing รู้จัก เข้าใจ วางแผน และประเมินผล
เม.ย. 30th, 2016 by supaporn

วันที่ 21 เมษายน 2559 เวลา 9.00-12.00 น. แผนกบริการสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม Knowledge sharing สำหรับบุคลากรแผนกกิจกรรม เพื่อรับฟังประสบการณ์ และแนวทางที่ควรจะเป็นสำหรับการให้บริการ โดย นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำหน้าที่เป็น Facilitator จากหัวข้อ รู้จัก เข้าใจ วางแผน และประเมินผล

แบ่งกลุ่มแต่ละ Generation

แบ่งกลุ่มแต่ละ Generation

ในช่วงแรก ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับคนในแต่ละ Generation เนื่องจากในแต่ละ Generation นั้น อยู่ในช่วงอายุใด มีความสนใจ มีความต้องการอะไร เพื่อจะได้เทียบเคียงกับผู้ใช้บริการที่มีหลากหลาย แต่กลุ่มผู้ใช้กลุ่มใหญ่ คือ นักศึกษา ซึ่งเป็น Gen Y และผู้ใช้บริการที่เป็นกลุ่มอาจารย์ที่อาจจะอยู่ใน Gen อื่น ๆ จึงควรจะต้องมีความเข้าใจกลุ่มคนในแต่ละ Gen เพื่อให้สามารถจัดการ วางแผนการให้บริการให้ตรงหรือเหมาะสมกับผู้ใช้ในแต่ละ Gen ได้ ได้มีการจัดกลุ่มของบุคลากรแผนกบริการสารสนเทศ และผู้ที่ต้องหมุนมาปฏิบัติหน้าที่ในส่วนงานบริการ ในบางช่วงเวลา เพื่อให้ทราบว่า อยู่ใน generation ใด เพื่อเทียบเคียงกับกลุ่มผู้ใช้บริการ

 

เสนอบริการใหม่

เสนอบริการใหม่

ในช่วงที่สอง ได้เริ่มให้เข้าใจงานบริการมากขึ้น การออกแบบการให้บริการ ประกอบด้วย content และสื่อต่างๆ ในการเข้าถึง มีการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสนอ บริการใหม่ ๆ และนำมาแลกเปลี่ยนกันถึง สาเหตุของการเสนอบริการนั้น ๆ และควรจะจัดบริการนั้น ออกมาในรูปแบบใด ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง เพื่อจะได้ให้บุคลากรเรียนรู้ในการวางแผนการจัดบริการ และขั้นตอนสุดท้าย ต้องมีการประเมินผลการให้บริการ เพื่อตัดสินใจว่า งานบริการนั้น ควรให้บริการต่อหรือไม่ หรือ ต้องให้เวลาในการให้บริการต่อไปอีกระยะเวลาหนึ่ง

จากกิจกรรม Knowledge Sharing ดังกล่าว คาดว่าจะทำให้บุคลากรในแผนกบริการสารสนเทศ และบุคลากรท่านอื่น ๆ ที่ต้องมาปฏิบัติหน้าที่ในส่วนงานบริการ เกิดมุมมองในการให้บริการมากขึ้น และรู้จักกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น มีการวางแผน มีการประเมินผล เพื่อพัฒนาการให้บริการต่อไป

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa