SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดสมุทรปราการ
มี.ค. 3rd, 2016 by rungtiwa

การบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดสมุทรปราการ (Management of Rabies Control Program in Samutprakarn Province)

บทคัดย่อ:

การวิจัยเชิงพรรณนาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างเดือนกันยายน 2547-กรกฎาคม 2548 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและของสำนังานสาธารณสุขจังหวัด จำนวน 4 คน ผู้เลี้ยงสุนัขที่เป็นเจ้าของสุนัข 44 คน และผู้เลี้ยงสุนัขที่ไม่ได้เป็นเจ้าของสุนัขจำนวน 16 คนที่ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ทำการเก็บข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร  และการสัมภาษณ์ด้วยแบบบันทึกและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่และร้อยละ ผลการิจัยพบว่าการบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดสมุทรปราการปฏิบัติตามนโยบายของส่วนกลางโดยมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ฉีดยาคุมกำเนิด ทำหมันสุนัขเพศผู้เพศเมีย และฉีดวัคซีน/อิมมูโนโกลบูลิน ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในผู้สัมผัสโรค แต่กิจกรรมดังกล่าวยังต่ำกว่าเป้าหมาย นอกจากนี้ยังมีระบบการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า การประชาสัมพันธ์และประสานงานการควบคุมโรคกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้ากับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด แต่ขาดการตรวจสอบจากหน่วยงานส่วนกลาง มีการอบรมอาสาสมัครปศุสัตว์จำนวน 510 ราย (เกินเป้าหมาย) ปัญหาการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า คือ การฉีดวัคซีน การฉีดยาคุมกำเนิด และการทำหมันสุนัขเพศผู้เพศเมีย ในกลุ่มสุนัขที่ไม่มีเจ้าของต่ำกว่าเป้าหมาย กลุ่มผู้เลี้ยงสุนัขที่เป็นเจ้าของมีความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและการควบคุมโรค การปฏิบัติเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน ยาคุมกำเนิดและทำหมันสุนัขเพศผู้เพศเมีย สูงกว่ากลุ่มผู้เลี้ยงสุนัขที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ

กิตติภณ คล้ายเจ๊ก เสาวลักษณ์ ลักษมีจรัลกุล และ วาชรัตน์ นันทเสน. (2549). การบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (18), 52-65.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายของผู้ประกันตน
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายของผู้ประกันตน

Factors Related to the Non-Using Medical Services of Insured Persons

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายของผู้ประกันตน โดยศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการรับรู้ลักษณะการเจ็บป่วยและการประเมินการเจ็บป่วยในการตัดสินใจใช้บริการทางการแพทย์ ปัจจัยด้านการรับรู้สิทธิประโยชน์การใช้บริการทางการแพทย์ และปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อสถานพยาบาลเครือข่าย นอกจากนี้ยังศึกษาคุณภาพบริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาลเครือข่าย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนกับโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวีณ ศรีราชา เป็นสถานพยาบาลคู่สัญญาหลักและมารับบริการทางการแพทย์กรณีผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวีณ ศรีราชา ด้วยโรคที่สามารถรักษาได้ที่สถานพยาบาลเครือข่าย จำนวน 384 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2550 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 4 ชุด ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.78, 0.80, 0.76 และ 0.82 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 30-44 ปี สถานภาพสมรส (คู่) พักอาศัยอยู่ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน5,001-10,000 บาท รับบริการที่โรงพยาบาลด้วยอาการแสดงและสิ่งผิดปกติที่พบจากการตรวจทางคลินิก ไม่ได้ไปรับบริการจากที่อื่นก่อนมารับบริการในครั้งนี้ และทราบว่า ถ้าเลือกโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวีณ ศรีราชา เป็นสถานพยาบาลหลักแล้ว สามารถไปใช้บริการสถานพยาบาลเครือข่ายได้ผู้รับบริการทราบข้อมูลสถานพยาบาลเครือข่ายจากบริษัท/หน่วยงานที่ทำงานอยู่ ช่วงเวลาที่กลุ่มตัวอย่างสะดวกไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายมากที่สุด คือ ช่วงเวลา 17.00 – 22.00 น. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ที่พักอาศัยระดับการศึกษา รายได้ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่าย ส่วนปัจจัยด้านการรับรู้ลักษณะการเจ็บป่วยและการประเมินการเจ็บป่วย ปัจจัยด้านการรับรู้สิทธิประโยชน์การใช้บริการทางการแพทย์และปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อสถานพยาบาลเครือข่าย มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α = 0.05 คุณภาพการบริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาลเครือข่ายโดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง
The objectives of this study were to study factors related to the non-using medical services at network hospitals of insured persons registered at Queen Savang Vadhana Memorial Hospital with the relationship of relevant factors. The studied factors included the personal factor, the perception of illness and the illness evaluation prior to the medical service acceptation, the perceiving of the right factor of assertion under the network hospitals, the factor of attitude towards the network hospitals and the medical service quality. A total of 384 insured persons with mild and moderate illnesses who have registered at Queen Savang Vadhana Memorial Hospital were studied from March to August 2007. Four questionnaires were used by the interviewers as the research tools with reliabilities of 0.78, 0.80, 0.76 and 0.82 respectively.

Results showed that the majority of participants were female with married status. Their ages range from 30 to 44 years. Their residences were mostly located in Sriracha District, Chonburi province. Most of them finished high school level, and the average income is 5,001-10,000 bath per month. The illnesses, symptoms and abnormalities of the samples were confirmed by clinical checking. No other medical checking was made before receiving this medical service. The samples have know that they could receive the medical services from any other network hospitals under the condition of selecting the Queen Savang Vadhana Memorial Hospital as the main contractor. They learned the information of network hospitals from their current working companies. The most convenient time for receiving the medical services was 5.00-10.00 p.m.The analysis of relationship between sex, age, marital status, residence, education background and income found no association with non-using medical services at network hospitals. However, the illness perception, the illness evaluation, the perceiving of the right factors of assertion under the network hospitals and the factors of attitude towards network hospitals were found significantly relating to non-using medical services at α = 0.05. The overall medical service quality of the network hospitals was found fair.

กันต์กนิษฐ์ ชูวงศ์อภิชาต และ เสาวลักษณ์ ลักษมีจรัลกุล. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายของผู้ประกันตน. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 37-54.

อ่านบทความฉบับเต็ม

วารสาร มฉก. วิชาการ
ก.พ. 18th, 2016 by อุไรรัตน์ ผาสิน

WARASANMOCHOKOWICHAKARN1997-07-001_00-001

วารสาร มฉก.วิชาการ กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับเดือนมกราคม – มิถุนายน และเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม โดยเริ่มเผยแพร่มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2537  มีที่ปรึกษา คือ

  • ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม  วัฒนชัย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์  เพียรกิจกรรม

และมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสาวลักษณ์  ลักษมีจรัลกุล  เป็นหัวหน้าบรรณาธิการ ในช่วงเวลานั้น

วารสาร มฉก. วิชาการ  จัดทำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการพัฒนาทางด้านการทำวิจัยและเขียนตำราของคณาจารย์ที่มีผลงานและผู้ที่ตื่นตัวทางด้านวิชาการ ได้ให้ความสนใจส่งผลงานเพื่อนำมาเผยแพร่ ทางด้านสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ครุศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขาวิชาอื่นๆ  รวมทั้งเพื่อเป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการให้กับสังคมและจูงใจให้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และเพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนแนวความคิด ความรู้ และความก้าวหน้าใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลงานด้านวิชาการ และการวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa