SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
เสวนาความรู้เรื่องอยู่อย่างไรในยุค Digital ดิจิทัลกับผู้คร่ำหวอดแวดวง IT ในรูปแบบ Technology Talk
พ.ค. 22nd, 2018 by kalyaraksa

ประจักษ์ 1

         เสวนาความรู้เรื่องอยู่อย่างไรในยุค Digital ดิจิทัลกับผู้คร่ำหวอด แวดวง IT ในรูปแบบ Technology Talk
โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี และ อาจารย์สรวลสรรค์ พจนอารี (ผู้ดำเนินรายการ)
วันที่ 8 มีนาคม 2561 เวลา 13.30 -16.00 น. ณ ห้องสื่อประสม
อาคารบรรณสาร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ท่านอธิการบดี  ได้กล่าวต่อผู้รับฟังการเสวนาว่าไม่ได้เรียนมาทางด้าน Information technology แต่เป็นคนที่สนใจ เมื่อตอนที่เป็นเด็กชอบอ่านหนังสือ ซึ่งบ้านอยู่ใกล้ร้านขายหนังสือ ชอบอ่านจนหมดร้าน ต่อมาได้ศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ ได้สืบค้นเรื่องทางการแพทย์ ผ่าน Medline เช่น ไข้หวัดนก เรื่องที่เกี่ยวข้องจะขึ้นมาหมด ทำให้เห็นว่ามีใครเป็นผู้เขียนบ้าง

ต่อมามีความสนใจคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์สมัยนี้มีความเร็วกว่าแต่ก่อนเป็นพัน ๆ เท่า เมื่อมาเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบันคือสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) จึงมีความฝันจะทำฐานข้อมูล ซึ่งห้องสมุดเดิมใช้โปรแกรม CDS /ISIS โดยการใช้ CU MARC เป็นการรวบรวมข้อมูลให้ถูกต้องได้มาตรฐาน ในการนำห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ไม่ใช่เรื่องง่าย

ก่อนหน้าที่จะมีการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ ได้มีการเริ่มนำ Internet มาใช้ เริ่มต้นจาก ศาสตราจารย์นพ.จรัส สุวรรณเวลา (อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยนั้น) ต้องการมี Electronic mail ซึ่งตอนนั้นมี Bitnet และ Internet การเข้าใช้ Internet นั้นแต่ก่อนของไทยมีศูนย์อยู่ที่จังหวัดสงขลา Login ไปประเทศออสเตรเลียวันละ 1 ชั่วโมง เมื่อได้ไปประชุมในปี 2534 เกี่ยวกับ Internet ครั้งแรกที่เกียวโต และได้พบกับ ริค อดัมส์ ยินดีให้ฟรี 1 ปี แต่จุฬาฯไม่มี Sever เป็น Mini Computer  ไม่มีงบประมาณซื้อเครื่องมือ ริค อดัมส์ ให้เครื่องราคา 200,000-300,000 บาท และมี อ. ดร ยรรยง เต็งอำนวย เข้ามาช่วย จากนั้นจึงมีระบบ INNOPAC ซึ่งเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ทำให้สามารถใช้ FTP ข้อมูลผ่านระบบ Internet  เมื่อทำ INNOPAC สำเร็จ หมดวาระ จึงไปช่วยงานที่ทบวงมหาวิทยาลัย ในส่วนของ IT Campus วางรูปแบบ ThaiLinet และโครงการ ThaiLIS

จากการฟังบรรยายในครั้งนี้ มีความเห็นว่า การเป็นผู้บริหารจะต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ทันต่อเทคโนโลยี ทราบว่าควรจะนำเทคโนโลยีใดเข้ามาใช้ ที่เป็นประโยชน์และคุ้มค่า รู้จักใช้ Social Media ให้เกิดประโยชน์ ระมัดระวังในการใช้ เพราะอาจจะก่อให้เกิดอันตราย หรือมีโทษต่อตนเอง และสังคมตามมา ทั้งนี้ ท่านอธิการบดี ได้มอบแนวคิดให้ผู้มาฟังให้พยายามสร้างบัณฑิตเป็นคนพันธุ์หัวเฉียว ที่มีคุณธรรม 6 ประการ และเป็นคุณลักษณะเฉพาะของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
มี.ค. 13th, 2016 by rungtiwa

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  (E-Commerce)

บทคัดย่อ:

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เริ่มใช้งานครั้งแรกปี ค.ศ. 1960 เมื่อมีบริษัทในสหรัฐอเมริกานำระบบการเแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange หรือ EDI) และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) มาใช้ในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ขณะนี้ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ธนาคารต่างๆ ได้เริ่มให้บริการในการทำธุรกรรมของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว เช่น ให้บริการรับชำระเงินผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการสร้างระบบการป้องกันการชำระเงินมารองรับหลายรูปแบบ

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการส่งข้อมูล สินค้าและบริการ หรือการชำระเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น สายโทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในทางธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ เทคโนโลยีที่ช่วยให้การทำธุรกรรม (business transaction) และการทำงานตามขั้นตอน (workflow) ขององค์กรเป็นไปอย่างอัตโนมัติในการให้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ เครื่องมือที่ช่วยบริษัท ผู้ประกอบการ ตลอดจนผู้บริโภคลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการให้และการใช้บริการ ช่วยให้การบริการรวดเร็วขึ้น และช่วยให้ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของสินค้า

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถแบ่งตามลักษณะของคู่ค้าเป็น 4 ประเภท
1) Business to Consumer (B to C) เป็นการค้าระหว่างบริษัทกับผู้บริโภค
2) Business to Business (B to B) เป็นการค้าระหว่างบริษัทกับบริษท
3) Business tp Government (B to G) เป็นการค้าระหว่างองค์กรเอกชนกับองค์กรของรัฐ
4) Consumer to Consumer (C to C) เป็นการค้าระหว่างบุคคลทั่วไป
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ช่วยเปลี่ยนแปลงโลกธุรกิจโดยลดช่องว่างทางการแข่งขันระหว่างองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทำให้องค์กรธุรกิจต้องปรับตัวทั้งในด้านการบริหาร การจัดการองค์กร รวมไปถึงวิธีการดำเนินธุรกิจ ก่อให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจมากขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร นอกจากนั้น ยังสร้างโอกาสให้เกิดการทำธุรกิจในรูปแบบใหม่มากมาย

เพ็ญ ชยาวิวัฒน์กุล. (2547). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  (E-Commerce). วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (14), 61-69.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การค้าระหว่างประเทศบนอินเทอร์เน็ต
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

การค้าระหว่างประเทศบนอินเทอร์เน็ต

บทคัดย่อ:

อินเทอร็เน็ต (internet) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายขนาดเล็กจำนวนมากเข้าด้วยกัน โดยผ่านโครงข่ายทางคมนาคม อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่อำนวยประโยชน์ให้ทุกคน ทุกอาชีพ ได้เข้ามาใช้ข้อมูลได้ในราคาถูก พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เป็นการทำธุรกิจโดยผ่านอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นการซื้อขาย การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การจัดการสินค้าคงคลัง การให้บริการลูกค้า ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต (internet) และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) มีบทบาทและความสำคัญต่อธุรกิจเป็นอย่างาก เพราะมีความสะดวกรวดเร็วในการติตต่อสื่อสาร มีผู้ซื้อจำนวนมาก มีแหล่งขายสินค้าขนาดใหญ่ ทั้งประหยัดเงินทุนและยังสามารถทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง พ่อค้าระหว่างประเทศสามารถใช้อินเทอร์เน็ต (internet) และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ในการค้นหาลูกค้าและประชาสัมพันธ์สินค้าได้หลายวิธีการไม่ว่าจะเป็นการใช้ search engine, E-mail, catalog online, newsgroups, newsletter การเปิดร้านค้าบนอินเทอร์เน็ต หรือการวางแบนเนอร์โฆษณาในเว็บไซต์ต่างๆ

เพ็ญศิริ สุธรรมโน. (2548). การค้าระหว่างประเทศบนอินเทอร์เน็ต. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (16), 47-57.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต
ก.พ. 9th, 2016 by sirinun

การกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต

การกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต

หนังสือเล่มนี้ได้ประมวลและนำเสนอเรื่องราวสังคมเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต เช่น โครงสร้างของการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตในระดับสากล องค์ประกอบของการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต สถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ต การอภิบาลอินเทอร์เน็ต แนวคิดและทฤษฎีในการกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต เว็บ 2.0 และการกำกับดูแล 2.0 แนวทางการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตในบริบทสื่อหลอมรวม ตลอดจนประสบการณ์ของการกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ตทั้งในระดับสากล ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ รวมไปถึงโครงสร้างการกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย หมวดหมู่ TK5105.8854 พ735ก 2556

รายการอ้างอิง

พิรงรอง รามสูต.( 2556). การกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa